หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์
ประสูติ23 สิงหาคม พ.ศ. 2443
ชีพิตักษัย22 เมษายน พ.ศ. 2510 (67 ปี)
หม่อมหม่อมเสมอ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
ธิดา4 คน
ราชสกุลสวัสดิวัตน์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
พระมารดาหม่อมราชวงศ์เสงี่ยม สวัสดิวัตน์ (สนิทวงศ์)

พันโท หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ อ.ป.ร.2, ป.ป.ร.3 (23 สิงหาคม พ.ศ. 2443 - 22 เมษายน พ.ศ. 2510)[1] หรือ ท่านชิ้น เป็นอดีตผู้นำเสรีไทยสายอังกฤษ อดีตผู้บังคับการกองทหารรักษาวัง และอัครราชทูตประจำกระทรวง

พระประวัติ[แก้]

หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์เสงี่ยม สวัสดิวัตน์ (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์) เป็นพระเชษฐาต่างพระมารดาของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ประสูติที่ประเทศอังกฤษ

หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ เสกสมรสกับหม่อมเสมอ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม สิงหเสนี; บุตรีของพระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน สิงหเสนี) กับคุณหญิงบุรีนวราษฐ์ (เนื่อง สิงหเสนี))[2] โดยได้รับพระราชทานสมรสจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีธิดา 4 คน คือ [2][3]

พันโทหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงสนิท ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตประจำกระทรวง กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2489[4]

หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงสนิทเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะในยุครัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์และเหตุการณ์ภายหลังการสวรรคตของรัชกาลที่ 8[5]

พระเกียรติยศ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พระยศ[แก้]

พระยศทางทหาร[แก้]

  • 8 มิถุนายน พ.ศ. 2489: พันโท และนายทหารพิเศษประจำกองทัพบก[8]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  2. 2.0 2.1 ท่านชิ้นแห่งสวนเสมา, ชะอำในความทรงจำ[ลิงก์เสีย]
  3. Cheltenham Ladies"s College โรงเรียนนี้ลูกนักธุรกิจขอจอง[ลิงก์เสีย] ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 31 ฉบับที่ 3994 21 เมษายน พ.ศ. 2551
  4. เรื่อง แต่งตั้งอัครราชทูตประจำกระทรวง ตอนที่ 53 เล่ม 63 ราชกิจจานุเบกษา 18 มิถุนายน 2489
  5. "ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี", หน้า 38
  6. เล่ม 43 หน้า 3121 ราชกิจจานุเบกษาวันที่ 26 พฤศจิกายน 2469 พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)
  7. เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2 (อ.ป.ร.2)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศและให้เป็นนายทหารพิเศษ