หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ กฤดากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ กฤดากร
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ30 เมษายน พ.ศ. 2446
สิ้นชีพิตักษัย22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 (78 ปี)
สวามีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
ราชสกุลกฤดากร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์
พระมารดาหม่อมเจิม กฤดากร ณ อยุธยา

หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ กฤดากร (30 เมษายน พ.ศ. 2446 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมเจิม กฤดากร ณ อยุธยา[1]

หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ประสูติที่วังถนนพระอาทิตย์ แล้วเข้าศึกษาที่วังบางขุนพรหม หลังพระบิดาสิ้นพระชนม์เมื่อหม่อมเจ้าผจงรจิตร์มีชันษาได้ 24 ปี จึงย้ายไปประทับที่บ้านถนนนเรศที่ทรงจับจองไว้ ที่ภายหลังได้ตัดถนนนเรศจึงเปิดเป็นบ้านให้เช่า[2]

หม่อมเจ้าผจงรจิตร์เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เชษฐาร่วมพระบิดา มีธิดา 3 คน คือ หม่อมราชวงศ์วิภาสิริ วุฒินันท์, หม่อมราชวงศ์อัจฉริยา คงสิริ และหม่อมราชวงศ์ภรณี รอสส์[3] หม่อมเจ้าผจงรจิตร์และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช สวามี เสด็จไปขอลี้ภัยทางการเมืองที่เมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม จากเหตุการณ์กบฏบวรเดช กระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทรงย้ายไปประทับที่ประเทศกัมพูชา และเสด็จกลับประเทศไทยพร้อมสวามี เมื่อปี พ.ศ. 2491 หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ทรงตั้งโรงงานย้อมผ้าและพิมพ์ผ้า ที่ไซ่ง่อน และหัวหิน พัฒนาโรงงานทอผ้าลายไทยขึ้นมาจนประสบความสำเร็จ ถือว่าเป็นจุดกำเนิดผ้าโขมพัสตร์

หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ถึงชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 สิริชันษา 78 ปี[4] ต่อมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จไปพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2525 ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร [5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สาแหรกข้างแม่ "จิตภัสร์" ไม่ใช่แค่ "กฤดากร" แต่ยังมี "สนิทวงศ์"". ASTVผู้จัดการรายวัน. 28 ธันวาคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "บังอบายเบิกฟ้า ทำไม "บวรเดช" ต้องกบฏ". ไทยโพสต์. 31 มกราคม พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. "หม่อมเจ้าหญิง ผจงรจิตร์ กฤดากร". Kridakorn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. ISBN 974-221-818-8
  5. ข่าวในพระราชสำนัก (หน้า ๑๗)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑