หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ1 เมษายน พ.ศ. 2455
สิ้นชีพตักษัย23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 (98 ปี)
พระบุตรหม่อมราชวงศ์กัณหา ทองใหญ่
หม่อมราชวงศ์ชาลี ทองใหญ่
หม่อมราชวงศ์อุษณีย์ ณ นคร
หม่อมราชวงศ์พิณทอง อังศุสิงห์[1]
ราชสกุลทองใหญ่
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
พระมารดาหม่อมนวม ทองใหญ่ ณ อยุธยา

หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ (1 เมษายน พ.ศ. 2455 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553) เป็นพระโอรสลำดับที่ 22 ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ประสูติแต่หม่อมนวม ทองใหญ่ ณ อยุธยา มีโสทรเชษฐาและโสทรเชษฐภคินี 8 องค์[2]

การศึกษา[แก้]

หม่อมเจ้าทองคำเปลวทรงสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์[3] หลังจากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อยังคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รัฐศาสตร์รุ่นแพแตก) เริ่มมาจากในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2476 ซึ่งมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติว่าให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ในจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ตลอดจนทรัพย์สินและงบประมาณของคณะเหล่านั้นมาขึ้นต่อมหาวิทยาลัยนี้ก่อน และในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2477 คณะรัฐศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยได้สิ้นสภาพความเป็นคณะลง ในขณะนั้นนิสิตคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ปีที่ 2 จึงต้องไปเรียนต่อที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ดังที่คุณชะลอ วนะภูติ ได้บันทึกไว้ว่า "การที่เราเรียน ๆ อยู่ดี ๆ แล้วมีประกาศทางราชการให้ยุบคณะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งๆที่เรียนค้างอยู่และไปยุบเอารุ่นพี่ปีสองแล้วเข้าด้วยกันเช่นนี้ ต่อมาพวกเราทั้งหมดถูกลอยแพจึงมีผู้ขนานนามว่านักเรียน รัฐศาสตร์รุ่นแพแตก คือแตกเหมือนแพ แตกแล้วลอยเปะปะไปทั่วแผ่นดิน"

การทรงงาน[แก้]

หลังจากสำเร็จการศึกษา หม่อมเจ้าทองคำเปลวทรงเข้ารับราชการที่กระทรวงมหาดไทย และทรงดำรงตำแหน่งนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัดด้วยกัน ประกอบไปด้วย นายอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ นายอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี (13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 - 28 กันยายน พ.ศ. 2507) และผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ( 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 - 30 กันยายน พ.ศ. 2515)

นอกจากนี้หม่อมเจ้าทองคำเปลวยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการแรกเริ่มก่อตั้งมูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในตำแหน่งคณะกรรมการที่ปรึกษา จนกระทั่งถึงชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ เสกสมรสกับ หม่อมอรพินท์ ทองใหญ่ ณ อยุธยา มีโอรสธิดา 3 คน คือ

  • ม.ร.ว.ชาลี ทองใหญ่ สมรสกับอรณี (สกุลเดิม สายบัว) มีธิดา 2 คน คือ
    • ม.ล.อรอำไพ พนานุรัตน์ สมรสกับประกิต พนานุรัตน์
    • ม.ล.อณิชาล เพ็ญเจริญ สมรสกับภัทรภูมิ เพ็ญเจริญ
  • ม.ร.ว.อุษณีย์ ณ นคร สมรสกับ พลอากาศตรีชื่น ณ นคร มี ธิดา 3 คน คือ
    • ชไมกัญญา ณ นคร
    • นภารำไพ ณ นคร
    • รัชดาจรี โพธินาม สมรสกับ อรรถพัฒน์ โพธินาม
  • ม.ร.ว.พิณทอง ทองใหญ่ มีบุตรธิดา 2 คน คือ
    • ตรรกย ทองใหญ่
    • ภัชนนท์ วิจิตรพรกุล

หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ ได้รับพระราชทานพระยศกองอาสารักษาดินแดน เป็นนายกองโท ขณะทรงดำรงตำแหน่งนายอำเภอเบตง จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2500[4] และได้รับพระราชทานยศ นายกองเอก เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2506[5]

ในขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระสมเด็จจิตรลดา และทรงนำติดพระองค์ตลอดมา

สิ้นชีพิตักษัย[แก้]

หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 สิริชันษา 98 ปี บำเพ็ญกุศลศพที่ศาลา 10 วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร นับเป็นหม่อมเจ้าองค์สุดท้ายของราชสกุลทองใหญ่

หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่
รับใช้กองอาสารักษาดินแดน
ชั้นยศ นายกองเอก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "บุคคลในข่าว". ไทยรัฐออนไลน์. 4 สิงหาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา. กรุงเทพ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, พ.ศ. 2547. หน้า หน้าที่. ISBN 974-272-911-5
  3. https://www.debsirin.ac.th/about-us/detail-student.php?id=847
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/D/068/1994_1.PDF เก็บถาวร 2022-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2506/D/037/1158.PDF
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๑, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๑๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๑, ๒ ตุลาคม ๒๕๑๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๒๕๓๗, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๘๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๕๐, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๒, ๓ ตุลาคม ๒๕๐๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๘, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๘๙๔, ๗ มีนาคม ๒๕๑๐
ก่อนหน้า หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ ถัดไป
ผาด นาคพิน
ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี
(พ.ศ. 2501 – พ.ศ. 2507)
ส่ง เหล่าสุนทร