หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี
ประสูติ21 กรกฎาคม พ.ศ. 2453
จังหวัดพระนคร
ประเทศสยาม
สิ้นชีพิตักษัย29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 (81 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
พระบุตรหม่อมราชวงศ์ภัทรชัย รัชนี
หม่อมราชวงศ์แซมแจ่มจรัส รัชนี
หม่อมราชวงศ์ยอดเถา รัชนี
หม่อมราชวงศ์เย็นตา ปาร์เมนติเอร์
ราชสกุลรัชนี
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
พระมารดาหม่อมพัฒน์ รัชนี ณ อยุธยา

หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534) หรือนามปากกา พ.ณ ประมวญมารค เป็นกวี, อดีตข้าราชการกระทรวงการคลัง และอดีตอาจารย์พิเศษคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นพระโอรสในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ประสูติแต่หม่อมพัฒน์ รัชนี ณ อยุธยา

พระประวัติ[แก้]

หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี มีพระนามลำลองว่า ท่านชายพลุ เป็นพระโอรสลำดับที่สามในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ประสูติแต่หม่อมพัฒน์ รัชนี ณ อยุธยา (ธิดาของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ กับท่านผู้หญิงเปลี่ยน)[1] มีโอรสคือหม่อมราชวงศ์แซมแจ่มจรัส รัชนี[2]

หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ ทรงสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทรงรับราชการในกระทรวงการคลัง [2] และมีความรอบรู้ทั้งด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี เป็นอาจารย์พิเศษประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ มีความสามารถในด้านกวี ใช้นามปากกาว่า "พ.ณ ประมวญมารค" ได้รับการยกย่องเปรียบเทียบกับกวีร่วมสมัยคืออังคาร กัลยาณพงศ์ โดยเรียกหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ว่า "ท่านจันทร์" และเรียกอังคาร กัลยาณพงศ์ ล้อว่า "ท่านอังคาร" เพื่อให้คล้องจองกัน[3]

ทรงสนิทสนมคุ้นเคยกับกลุ่มศิลปินและนักเขียน เช่น เฟื้อ หริพิทักษ์, รงค์ วงษ์สวรรค์, สุวรรณี สุคนธา, หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์, ประหยัด พงษ์ดำ, สาโรจน์ จารักษ์[4] โดยมักพบปะสังสรรค์กันที่ร้านอาหารมิ่งหลี ใกล้มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งหนึ่งเคยมีผู้บันทึกว่า ทรงเล่นโคลงสดกับอังคาร กัลยาณพงศ์ ความว่า[4]

ท่านจันทร์ - จันทร์จิรายุเจ้า เหนือดาว อื่นเฮย
ท่านอังคาร - ดาวก็ดาวไม่ยอ กว่าข้า

หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ที่จังหวัดเชียงใหม่[2] สิริชันษา 81 ปี พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนชั้นเกียรติยศประกอบศพจากหีบทองทึบเป็นพระราชทานโกศราชวงศ์ประกอบศพ ฉัตรเครื่องตั้งประดับ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ และรับศพอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2535[2] ในการนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปพระราชทานเพลิง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ชมรมสายสกุลบุนนาค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-26. สืบค้นเมื่อ 2009-04-05.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 ขรรค์ชัย บุนปาน. ประดับไว้ในโลกา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2544. 285 หน้า. ISBN 974-322-293-6
  3. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และวาณิช จรุงกิจอนันต์เรียงร้อยถ้อยคำ. กรุงเทพฯ : ก.ไก่, 2528. 254 หน้า. ISBN 974-2560-45-5
  4. 4.0 4.1 http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=1771.25;wap2
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 73 ตอนที่ 74 วันที่ 18 กันยายน 2499