หม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อม

ศรีนวล ณ เชียงใหม่

เกิดศรีนวล นันทขว้าง
25 สิงหาคม พ.ศ. 2462
จังหวัดลำพูน
เสียชีวิต26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 (71 ปี)
อุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัดสุพรรณบุรี
สาเหตุเสียชีวิตอุบัติเหตุเครื่องบินตก
คู่สมรสเจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่)
ลายมือชื่อ

หม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่ (สกุลเดิม นันทขว้าง; 25 สิงหาคม พ.ศ. 2462 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534) เป็นภริยาของเจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) (โอรสในเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย)

ประวัติ[แก้]

หม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่ เกิดในสกุลนันทขว้างจากจังหวัดลำพูน[1] ที่ต่อมาได้สมรสเป็นภริยาในเจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) แต่ไม่มีโอรสธิดาด้วยกัน[2] เธอเป็นผู้ตระเตรียมในการรับพระราชอาคันตุกะแทนสามีอยู่เสมอ[3]

นอกจากนี้ยังมีบทบาทในวงการสตรีในจังหวัดเชียงใหม่ เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีล้านนาไทย[4] ทั้งเป็นผู้วางรากฐานและแนวทางการรับเสด็จแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน[5] และเป็นผู้ถวายงานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เกี่ยวกับการทอผ้า และกิจกรรมทางสังคมสงเคราะห์[6] ร่วมกับคุณหญิง เจ้าระวีพันธุ์ สุจริตกุล และเจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ธิดาในเจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่)

การถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

หม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่ ถึงแก่อนิจกรรมจากอุบัติเหตุเครื่องบิน[5] เลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004 เครื่องยนต์ขัดข้อง และตกที่บริเวณอุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534[7][8]

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ หีบทองสาลสลัก ฉัตรเบญจาตั้งประดับเกียรติยศ ปี่กลองชนะประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์บำเพ็ญพระราชกุศลสวดพระอภิธรรมแก่ศพหม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่ เป็นเวลา 7 วัน ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพวงมาลาวางหน้าศพ

และในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปในการพระราชทานเพลิงศพ หม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่ และศพ เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ณ เมรุชั่วคราว วัดสวนดอก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "บุคคลสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-08-22. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ผ่อ...เมืองเหนือ: อดีต ผู้ว่าฯ ไพรัตน์ เดชะรินทร์". แนวหน้า. 17 กุมภาพันธ์ 2552. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ พลตรี เจ้าราชบุตร (วงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่) เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2516". สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. หนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 61 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีเจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) ณ เมรุวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่
  5. 5.0 5.1 คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. Link เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. เบญจวรรณ บุญโทแสง. พัฒนาการการปรับตัวทางการเมืองของกลุ่มอำนาจท้องถิ่นภายหลังการผนวกดินแดนของสยาม (พ.ศ. 2442-2547): กรณีศึกษาตระกูล ณ เชียงใหม่. เก็บถาวร 2011-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2550
  7. Wallace, Charles P. "'All Evidence' in Thai Air Crash Points to Bomb." ลอสแอนเจลิสไทมส์. May 28, 1991. 2. Retrieved on February 15, 2013.
  8. พุเตย : สำนักอุทยานแห่งชาติ
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก (วันที่ ๑๓, ๑๕ - ๑๙ มกราคม ๒๕๓๕) เล่ม 109 ตอนที่ 14ง วันที่ 23 มกราคม 2535
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๒๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๙ มีนาคม ๒๕๐๙

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ ๒) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, ๒๕๓๘.
  • เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๓๙.