หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อม

ดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา

หม่อมดุษฎี บริพัตร ใน ค.ศ. 1940
เกิดดุษฎี ณ ถลาง
14 ธันวาคม พ.ศ. 2467
จังหวัดภูเก็ต
เสียชีวิต5 กันยายน พ.ศ. 2558 (90 ปี)
โรงพยาบาลศิริราช
อาชีพนักเขียน, ครู, นักแปล
คู่สมรสพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ (พ.ศ. 2494–2546)
บุตรหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร
หม่อมราชวงศ์วโรรส บริพัตร
บุพการี
  • หลวงอิศเรศรักษา (ปลื้ม ณ ถลาง) (บิดา)
  • ดรุณ อิศเรศรักษา (มารดา)

หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม: ณ ถลาง; 14 ธันวาคม พ.ศ. 2467 – 5 กันยายน พ.ศ. 2558) เป็นนักเขียน, ครู, นักแปล และผู้แต่งเพลงสำหรับเด็กชาวไทย[1] ทั้งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศักยภาพเด็กปฐมวัย[2] เธอเสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ และเป็นมารดาของหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[3][4]

หม่อมดุษฎี เป็นผู้ริเริ่มรณรงค์การใช้หนังสือภาพสำหรับเด็ก ทั้งยังเขียนคู่มือการสอนสำหรับครูปฐมวัย และหนังสืออ่านสำหรับเด็ก โดยมีลักษณะการเขียนแบบเล่นเสียงสัมผัส มีใช้คำที่มีเสียงขึ้นลง และใช้คำเก่าเพื่อให้เด็กเรียนรู้[5] รวมทั้งใช้ภาพประกอบที่สวยงามปลุกเร้าจินตนาการของผู้อ่าน[6]

ประวัติ[แก้]

ชีวิตช่วนต้นและการศึกษา[แก้]

หม่อมดุษฎีเกิดที่จังหวัดภูเก็ต เป็นธิดาของหลวงอิศเรศรักษา (ปลื้ม ณ ถลาง) กับดรุณ อิศเรศรักษา มารดามีอาชีพเป็นครู[7]

สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนปลูกปัญญา จังหวัดภูเก็ต, ระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย[7] ระดับอุดมศึกษาปริญญาตรีอักษรศาสตร์ อ.บ. (เกียรตินิยม) และอนุปริญญา ครุศาสตร์ ป.ม. (เกียรตินิยม) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้รับทุนการศึกษาจากครุสภาให้ไปศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกา จนสำเร็จการศึกษาปริญญาโท พัฒนาการเด็ก และอนุปริญญาการเลี้ยงเด็ก มหาวิทยาลัยมิลล์[1]

หม่อมดุษฎีเคยเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย[8]

หม่อมดุษฎี ตั้งโรงเรียนชื่อ โรงเรียนสมประสงค์ตั้งอยู่ในซอยเพชรบุรี 13 ในพื้นที่บ้านของท่าน ปัจจุบันไม่มีโรงเรียนนี้แล้ว

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

เธอเสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494[1] มีบุตร 2 คน คือ

  1. หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร สมรสกับนุชวดี บำรุงตระกูล ต่อมาได้หย่ากัน และสมรสอีกครั้งกับสาวิตรี บริพัตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม: ภมรบุตร) มีบุตรสองคน
  2. พลโท หม่อมราชวงศ์วโรรส บริพัตร สมรสกับพัฒนาพร นิยมศิริ ต่อมาได้หย่ากัน และสมรสอีกครั้งกับวรภาทิพย์ บริพัตร ณ อยุธยา (นามเดิม: ลอองดาว โตเจริญ) มีบุตรสามคน

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชราเมื่อเวลาประมาณ 03.00 น. ของวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558 ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุ 90 ปี[9] พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยมีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เข้าร่วมในพิธี[10]

ผลงาน[แก้]

หม่อมดุษฎีมีผลงานการเขียน และแปลทั้งหมด 46 เล่ม เช่น[1]

  1. หนังสือภาพสำหรับเด็กอ่อน เล่ม 1 (2498)
  2. หนังสือภาพสำหรับเด็กอ่อน เล่ม 2 (2498)
  3. ปลาบู่ทอง ฉบับผนังโบสถ์ (2504)
  4. ปลาบู่ทอง ฉบับนิยายพื้นเมือง (2504)
  5. แบบฝึกหัดเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษ เล่ม 1 (2504)
  6. แบบฝึกหัดเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษ เล่ม 2 (2504)
  7. นกกระจาบ (2505)
  8. ศิลปะการฟ้อนรำพื้นเมืองของไทย ฉบับไทย-อังกฤษ (2505)
  9. มาร้องรำกันเถิด (2506)
  10. แบบฝึกหัดการขับร้องตามโน้ตสากล (2506)
  11. แบบฝึกหัดการทำจังหวะตามโน้ตสากล (2506)
  12. The Reluctant Princess (2506; นกกระจาบฉบับอังกฤษ)
  13. เพลงเยาวชน (2509)
  14. ณ ชายหาด สะอาดทราย (2509)
  15. เพชรดีมณีแดง (2512)
  16. เสือโค ฉบับไทย-อังกฤษ (2518)
  17. The Golden Goby (2520; ปลาบู่ทองฉบับอังกฤษ)
  18. เพื่อนของเจ้า (2520)
  19. พลายชุมพล (2521)
  20. อะไรหนอขอถามว่า (2521)
  21. แผนการสอนดนตรีนาฏศิลป์ขั้นพื้นฐาน (2522)
  22. หนังสืออุเทศ : เรื่องวิธีสอนดนตรีศิลป์เบื้องต้น (2522)
  23. หนูหนุ่ยกับมะม่วง (2522)
  1. อันชนกชนนีนี้รักเจ้า (2522; แปลจาก For the Love of Ann)
  2. เจ้าจุ๊บแจง (2523)
  3. อะไรเอ่ย... (2525)
  4. เพลินคิดพลอยฝัน (2530)
  5. คำถามสารพันสร้างสรรค์ปัญญา (2530)
  6. เด็กปัญญาเลิศ (2531)
  7. เขียวส่องล่องหน (2533)
  8. หนิงโหน่ง (2533)
  9. ช่วยฉันที (2535; แปลจาก Rescue)
  10. จินตนาการสู่การเรียนรู้ (2538; แปลจาก Unicorns Are Real)
  11. ศักยภาพสู่อัจฉริยะภาพ (2539; แปลจาก Free Flight)
  12. ธรรมชาติสู่อัจฉริยภาพ (2539)
  13. รู้เรียน เพื่อเรียนรู้ สู่ความเป็นเลิศ (2549; แปลจาก Learning To Learn)
  14. ความฝัน (2551; แปลจากงานของซูซาน วี. โบซัก)[5]
  15. The Silence From Inner World (2559; แปลจาก ความสงัดจากภายใน ของดอกเข็มป่า)[11]
  16. เรียวฝันของแคนดี้ (ไม่ทราบปี)[5]
  17. ซุปก้อนหิน (ไม่ทราบปี)[5]
  18. พจนานุกรมภาพ (รอบตัวเรา) (ไม่ทราบปี)[5]
  19. พจนานุกรมภาพ (ตัวเรา) (ไม่ทราบปี)[6]
  20. รำไทย (ไม่ทราบปี)[6]
  21. พับผ้าเช็ดหน้า (ไม่ทราบปี)[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "ประวัติผู้ได้รับรางวัลนราธิป ประจำปี ๒๕๕๐". สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย. 8 กุมภาพันธ์ 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-15. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "อิสราเอล ยกย่อง 2 สตรีไทย อุทิศตนส่งเสริมความสัมพันธ์". ไทยรัฐ. 29 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "เปิดขุมทรัพย์ "หม่อมราชวงศ์" วงการเมือง ใครรวยอู้ฟู่-ใครแฟ่บกว่าใคร?". ประสงค์ดอตคอม. 25 สิงหาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "สุขุมพันธุ์ บริพัตร". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 ""หม่อมดุษฎี" เขียน-แปล หนังสือเพื่อเด็กภาษางาม". ข่าวสด. 22 กรกฎาคม 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "งานเสวนา หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา". ศูนย์หนังสือจุฬา. 25 มิถุนายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 "ผู้ปลุกสำนึกครู หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา". สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "รู้จักราชสกุล "บริพัตร" ต้นตระกูล คุณชายหมู - หม่อมเต่า เหตุผลต้องรับใช้กรุงเทพฯ ?". มติชนออนไลน์. 28 กุมภาพันธ์ 2556. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "หม่อมดุษฎี ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบที่โรงพยาบาลศิริราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-08. สืบค้นเมื่อ 2015-09-11.
  10. "โสมชบาจ๊ะจ๋า 18/06/59". ไทยรัฐออนไลน์. 18 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา + ความสงัดจากภายใน". ลูกอ๊อด. 12 สิงหาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๔๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๑๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๗๕, ๔ มกราคม ๒๕๐๖