หม่อมหลวงศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หมึกแดง)

ศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์
เกิด16 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
อาชีพ
  • นักโภชนาการ
  • พิธีกร
  • คอลัมนิสต์
บิดามารดาหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์
หม่อมหลวงประอร จักรพันธุ์

หม่อมหลวงศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์ (เกิด 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2496) หรือนามปากกาที่รู้จักกัน คือ หมึกแดง เป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำอาหาร โดยเฉพาะอาหารไทย

ปัจจุบันเป็นเจ้าของภัตตาคาร กรรมการผู้จัดการ ผู้ดำเนินรายการทางโทรทัศน์ ที่ปรึกษาทางด้านอาหาร คอลัมนิสต์ และวิทยากร

ประวัติ[แก้]

หม่อมหลวงศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ณ วังศุโขทัย เป็นบุตรชายของหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ กับหม่อมหลวงประอร จักรพันธุ์ (ราชสกุลเดิม: มาลากุล) มีน้องชายร่วมบิดามารดาหนึ่งคนคือ หม่อมหลวงเพิ่มวุทธ์ สวัสดิวัตน์ และน้องชายต่างมารดาซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในวงการอาหารคือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ มารดาเป็นนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีซึ่งมีศักดิ์เป็นสมเด็จย่า(น้องสาวของปู่) ขณะหม่อมหลวงศิริเฉลิมมีอายุราว 3-4 ปี หม่อมหลวงประอรผู้มารดาได้หย่าร้างกับบิดาและสมรสใหม่กับหม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์[1]

เบื้องต้น หม่อมหลวงศิริเฉลิมเข้าศึกษาที่โรงเรียนสมถวิล และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จนอายุได้ 12 ปี พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภาที่ทรงมีศักดิ์เป็นป้าได้ส่งให้เรียนต่อต่างประเทศที่วิทยาลัยเชลเทนแฮม (Cheltenham College) สหราชอาณาจักร แล้วเรียนต่อด้านการทูตที่มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน (George Washington University) แต่เรียนได้เพียงสามปีก็ลาออก เพราะพบว่าตนมีความสุขเมื่อทำอาหารมากกว่า[1]

ในปี พ.ศ. 2565 หม่อมหลวงศิริเฉลิมได้เปิดเผยว่าตนเองเป็นเกย์ในรายการของวุฒิธร มิลินทจินดา[2]


พิธีกร[แก้]

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 อรวรรณ บัณฑิตกุล (พฤษภาคม 2547). "ชีวิตเหมือนนิยาย "หมึกแดง"". นิตยสารผู้จัดการ (Press release). สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2558. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. ""เชฟหมึกแดง" รับเป็นเกย์ ไม่เคยคิดปิดบัง เพราะสังคมในอดีตยังไม่เปิดกว้าง". www.sanook.com/news.
  3. พฤทธิสาณ ชุมพล, รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ (กรกฎาคม 2559). รายงานการวิจัย การสังเคราะห์ประวัติศาสตร์บอกเล่าในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 (PDF). พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า. p. 50.