หมี เสว่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หมี เซียะ)
หมี เสว่
เกิดยิม ไหว่หลิง
(1955-09-02) 2 กันยายน ค.ศ. 1955 (68 ปี)[1]
ฮ่องกงของบริเตน
อาชีพนักแสดง
ปีปฏิบัติงาน1975–ปัจจุบัน
คู่รักหว่าน ชิ เคือง (1992–2010; เขาเสียชีวิต)
ญาติErica Chui (หลานสาว), Edward Chui (หลานชาย), ซิดนีย์ ยิม [yue] (น้องสาว)
รางวัลTVB Anniversary Awardsนักแสดงหญิงดีเด่น
2008 มรสุมชีวิตลิขิตพระจันทร์

Asian Television AwardsBest Actress - Drama Series
2009 มรสุมชีวิตลิขิตพระจันทร์

ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม嚴惠玲
อักษรจีนตัวย่อ严惠玲
อาชีพทางดนตรี
รู้จักในชื่อหมี เสว่ (จีน: 米雪; ยฺหวิดเพ็ง: Mai5 Syut3; พินอิน: Mǐ xuě)

หมี เสว่ (จีน: 米雪; ยฺหวิดเพ็ง: Mai5 Syut3; เยลกวางตุ้ง: máih syut; พินอิน: Mǐ xuě) มีชื่อจริงว่า มิเชล ยิม ไหว่หลิง (อักษรโรมัน: Michelle Yim Wai-ling; จีนตัวเต็ม: 嚴惠玲; จีนตัวย่อ: 严惠玲; เยลกวางตุ้ง: yìhm waih lìhng; พินอิน: Yán huì líng) นักแสดงหญิงฮ่องกงเจ้าบทบาทที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมานานหลายทศวรรษเป็นหนึ่งใน ดาวค้างฟ้า แห่งวงการจอแก้ว เธอโด่งดังมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกลางยุคทศวรรษที่ 70 และต้นยุค 80 ปัจจุบันเธอมีฉายาว่า "สาวสองพันปี" เนื่องจากตัวเธอดูอ่อนกว่าอายุจากการดูแลตัวเอง เธอเริ่มมีชื่อเสียงจากการแสดงในบทบาท อึ้งย้ง จากละครโทรทัศน์ของเจียซื่อ เรื่อง มังกรหยก 1976 เวอร์ชันปีพ.ศ. 2519 จากบทประพันธ์ของ กิมย้ง (หมีเซียะ เป็นอึ้งย้งที่มีฟันกระต่ายคู่หน้า คนแรก) ถึงแม้เธอจะเริ่มดังจากบท อึ้งย้งก็ตาม แต่ช่วงที่ชื่อเสียงของเธอพีคสุด คือ ช่วงที่เธอแสดงให้กับทางช่องเอทีวี(อาร์ทีวี) ตั้งแต่เรื่อง "ศึกสายเลือด" จนถึง "ศึกสองนางพญา" อีกทั้งในช่วงยุคบุกเบิกละครฮ่องกงในจีน ผลงานละครเรื่อง นักชกผู้พิชิต "(The Legendary Fok 1981 RTV)" ส่งให้ หมีเซียะ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในจีนร่วมกับ หวงเหยียนเซิน และ เหลียงเสี่ยวหลง หรือ บรู๊ซเหลียง โดยละครเรื่อง นักชกผู้พิชิต ทำเรตติ้งได้สูงถึง 86.5% กลายเป็นหนึ่งในสิบละครที่มีเรตติ้งสูงสุดในจีนแห่งศตวรรษ 20 (สถิติสิบอันดับแรกนี้ยังคงสูงมาจนถึงปัจจุบัน) และในอดีตเธอเป็นหนึ่งในนักแสดงที่เป็นสัญลักษณ์(เสาหลัก)ของทางสถานีโทรทัศน์เอทีวี(อาร์ทีวี) อีกด้วย, ในปีพ.ศ. 2550 (2007) หนังสือพิมพ์ทรงอิทธิพลที่ขายดีที่สุดในฮ่องกง "แอปเปิลเดลี่" (Apple Daily) ที่มีสาขาในจีน และไต้หวัน ต่างคัดเลือกเธอให้เป็น "หนึ่งในนักแสดงที่สวมบทบาทอึ้งย้งได้ดีที่สุดร่วมกับองเหม่ยหลิง โดยบทอึ้งย้ง ที่ หมีเซียะ แสดงอยู่ในอันดับที่ 45 จากการจัดอันดับใน 100 นักแสดงที่สวมบทบาทในละครชุดได้ยอดเยี่ยมที่สุด. [2]

ประวัติ[แก้]

เธอเกิดที่เมืองอันฮุย มณฑลกวางตุ้ง มีน้องสาวที่เป็นนักแสดงเช่นกัน ชื่อ ซิดนีย์ ยิม (Sidney Yim, 雪梨) จบมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนคริสต์ [3] เธอเริ่มฝึกฝนการแสดงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 โดยเข้าเรียนการแสดงที่โรงเรียนสอนการแสดงของชอว์บราเดอส์ และในปี พ.ศ. 2518 เธอได้เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงอย่างเต็มตัว โดยการเซ็นสัญญาเข้าเป็นนักแสดงในสังกัดสถานีโทรทัศน์ซีทีวีของฮ่องกง หรือ "เจียซื่อ" ที่เพิ่งจะก่อตั้งขึ้นมาใหม่ และเป็นคู่แข่งสำคัญ ของสถานีโทรทัศน์ทีวีบี ต่อมาเธอได้รับบทนำเป็น อึ้งย้ง ในละครเรื่อง มังกรหยก 1976 คู่กับ ไป่ เปียว หลังจากออกอากาศ ทำให้เธอซึ่งตอนนั้นมีอายุ 21 ปี กลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ซึ่งในตอนนั้นถือได้ว่าเป็นละครโทรทัศน์ที่ประสบความสำเร็จในฮ่องกง และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ก่อนที่เวอร์ชัน มังกรหยก 1983 ที่มี องเหม่ยหลิง รับบท อึ้งย้ง จะทำลายเรตติ้ง ประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมมากกว่า)


หลังจากสถานีโทรทัศน์ซีทีวีเลิกกิจการในปี พ.ศ. 2521 (1978) เธอได้แสดงละครโทรทัศน์กำลังภายอีกหลายเรื่องให้กับสถานีโทรทัศน์แห่งเอเชีย เช่น ฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม (Tai Chi Master), นักชกผู้พิชิต (The Legendary Fok), ศึกสองนางพญา (Princess Cheung Ping), ศึกสายเลือด (The Dynasty), แผ่นดินรักแผ่นดินเลือด (The Radical City), จิ๋นซีฮ่องเต้ (The Rise of the Great Wall), 13 ฮ่องเต้ตำนานจักรพรรดิราชวงศ์ชิง (The Rise and Fall of Qing Dynasty) เป็นต้น ทำให้เธอได้รับฉายาจากบางสื่อว่า "ราชินีละครโทรทัศน์แนวกำลังภายใน"

ระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน ค.ศ. 2015 หมี เสว่ และเยิ่น ต๊ะหัว นักแสดงชื่อดังชาวฮ่องกงร่วมสมัยเดียวกัน ได้เดินทางมาประเทศไทย โดยในวันที่ 22 กันยายน ทั้งคู่ได้เข้าสักการะพระพรหมที่ศาลท้าวมหาพรหม แยกราชประสงค์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวทั้งจีน, ฮ่องกง และนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดฮ่องกง เกิดความเชื่อมั่นและเดินทางกลับมาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น จากเหตุระเบิดก่อนหน้านั้น โดยไม่ได้เรียกค่าตัว โดยเป็นการประสานจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยเฉพาะหมี เสว่ ได้แต่งชุดไทยและรำดอกบัวถวายด้วย[4]

เธอเคยเล่นภาพยนตร์ของไทยอยู่หลายเรื่อง เช่น หงส์หยก นำแสดงโดย หมีเสว่ สรพงศ์ ชาตรี พิสมัย วิไลศักดิ์ รสริน จันทรา ลักษณ์ อภิชาติ ชูศรี มีสมมนต์ บู๊ วิบูลย์นันท์ และ ชุมพร เทพพิทักษ์, นักฆ่าขนตางอน พ.ศ. 2525 นำแสดงโดย หมีเสว่ สรพงศ์ ชาตรี เนาวรัตน์ ยุกตนันท์ ปรัชญา อัครพล สุเชาว์ พงศ์วิไล สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ ฤทธิ์ ลือชา ลักษณ์ อภิชาติ เทพ โพธิ์งาม สมพงษ์ พงษ์มิตร และ ลลนา สุลาวัลย์, สิงห์จ้าวพยัคฆ์ นำแสดงโดย หมีเสว่ สุพรรษา เนื่องภิรมย์ ดามพ์ ดัสกร ลักษณ์ อภิชาติ และ ฤทธิ์ ลือชา

ปรากฏการณ์นางร้ายยอดนิยม[แก้]

ช่วงยุค 80s-90s หมีเซียะ (ส่วนใหญ่)เธอจะแสดงละครให้กับทางช่องสถานีโทรทัศน์เอทีวี เป็นหลัก ดังนั้นเธอจึงมีผลงานละครกับช่องทีวีบี น้อยมาก

ต่อมาในปีพ.ศ. 2554 (2001) หมีเซียะ ได้เข้าเซ็นสัญญาเป็นนักแสดงในสังกัดช่องทีวีบี (TVB) และมีผลงานละครกับทางช่องนี้เรื่อยมา

จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2551 (2008) ด้วยวัยที่มากขึ้น ทางทีวีบี ได้มอบบทนางร้ายรุ่นแม่ ให้เธอแสดงในเรื่อง  มรสุมชีวิตลิขิตพระจันทร์ (Moonlight Resonance 2008)

โดยในเรื่องนี้เธอสวมบทบาทนางร้ายเป็น "หยิ่นหง" ภรรยาคนที่สองที่ชั่วร้าย,เจ้าเล่ห์และเห็นแก่ตัว เมื่อออกอากาศครั้งแรก เกิดกระแสเกลียด หมีเซียะ ขึ้นมา เนื่องจากมีผู้ชมมากมายเกลียดตัวละครตัวนี้เพราะเธอสามารถแสดงบทนางร้ายในละครเรื่องนี้ออกมาได้เข้าถึงบทบาทและแม้แต่เพื่อนสนิทของหมีเซียะเองก็ยังเกลียดเธอ โดยหมีเซียะเล่าว่า

เมื่อฉันเล่นบท "ป้าหงส์" เพื่อนสนิทของฉันเกลียดฉัน จำได้ว่าตอนที่ "เรื่อง  มรสุมชีวิตลิขิตพระจันทร์ ออนแอร์ออกอากาศ หลายคนดุด่าเธอ และแม้แต่เพื่อนที่ดีของเธอก็ชี้มาที่เธอแล้วพูดว่า "เธอมันแย่มาก!"[5]

และนับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่แตกต่างจากบทนางเอกที่เธอเคยได้รับในอดีต

บทบาทนางร้ายในละครเรื่องนี้ ทำให้ หมีเซียะ กลับมาได้รับความนิยมในฮ่องกงและสร้างความเกรียวกราวในสิงค์โปร์ได้อีกครั้ง และเป็นนักแสดงหญิงคนแรกที่รับบทนางร้าย จนคว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงดีเด่น จากละครเรื่องนี้ได้สองตัวจากงาน TVB Anniversary Awards 2008 และ Asian Television Awards 2009 ซึ่งทั้งสองงานแจกรางวัล เพิ่งจะเริ่มมีการจัดขึ้นในช่วงปลายยุค 90s (ก่อนหน้านั้นยังไม่มี)

ตอนที่เธอได้รับรางวัล จากบทบาทนางร้าย หยิ่นหง เธอพูดทั้งน้ำตาว่า

"ฉันไม่เคยคิดฝันมาก่อนเลยว่าฉันจะกลายเป็นคนที่ถูกเกลียดที่สุดในฮ่องกงในปีพ.ศ. 2551 (2008) ทุกคนด่าว่าฉันเล่นเป็น 'ป้าหงส์' ฉันเริ่มอาชีพนักแสดงตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น แต่ตอนนี้ฉันเพิ่งจะได้รับรางวัลนี้จากการรับบทเป็นแม่คน ฉันขอบคุณพระเจ้าสำหรับการจัดการ”

นับได้ว่าบทบาทนางร้าย หยิ่นหง เป็นการแสดงในช่วงหลังยุค 2000s ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของเธอ

ความผูกพันกับชาวไทย[แก้]

หมีเซียะ เป็นหนึ่งในนักแสดงฮ่องกงที่มีความผูกพันธ์กับเมืองไทย เธอมีแฟนคลับรุ่นเก๋าในเมืองไทย อย่างเหนียวแน่น และมาเมืองไทยบ่อยครั้ง จนล่าสุดได้รับรางวัลร่วมกับ เยิ๊นตะหัว

แฟนคลับหลายคนในเมืองไทยมักนิยมเรียกเธอว่า อึ้งย้ง แทนชื่อ เนื่องจากเป็นบทบาทแรกที่ทำให้คนไทยเริ่มรู้จักเธอเป็นครั้งแรก

ดาวค้างฟ้า(จอแก้ว)[แก้]

หมีเซียะ เธอเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังมาตั้งแต่กลางยุค 70 จนมาถึงปัจจุบัน ความนิยมในตัวเธอยังคงมีต่อเนื่องมานานหลายทศวรรษ

เธอเป็นหนึ่งใน ดาวค้างฟ้า แห่งวงการโทรทัศน์ฮ่องกง(จอแก้ว) ร่วมกับ วังหมิงฉวน, หลีซือฉี, เจิ้งอวี้หลิง และ เจ้าหย่าจือ

ผลงาน[แก้]

  • ความรักในหอแดง (Dream of the Red Chamber 1977) นำแสดงโดย อู่เว่ยกว๋อ รับบท เจียเป่าอวี้, เหมาซุ่นอวิ๋น รับบท หลินไต้อวี้, หมีเซียะ รับบท เซวี่ยเป่าไช่, เหวินเซียะเอ๋อ รับบท สื่อเซียงอวิ๋น, หลี่ทงหมิง รับบท เจี่ยชีชุน และ เจิ้งอวี้หลิง รับบท ซือฉี
  • อุ้ยเสี่ยวป้อ (The deer and the cauldron 1977) CTV นำแสดงโดย เหวินเซียะเอ๋อ (เหวินเสวียเอ๋อ) , เฉิงซือจวิ้น , หลี่ทงหมิง , หม่าไห่หลุน เหวินเซียะเอ๋อ Candy Wen Hsueh-erh รับบท อุ้ยเสี่ยวป้อ เวอร์ชันเจียซื่อ เฉิงซือจวิ้น รับบท คังซี หรือ คังฮี
  • ราชายุทธจักร (History of Pugilistic World 1977) CTV นำแสดงโดย เว่ยจื่ออวิ๋น Barry Wei รับบท เฉินลั่ง, หมีเซียะ รับบท จูชีชี, หลี่ทงหมิง Li Tong Ming รับบท จูปาปา น้องสาวจูชีชี, เหวินเซียะเอ๋อ รับบท ไป๋เฟยเฟย ( แปะปวยปวย) หรือ องค์หญิงพรายวิญญาณ
  • จิ้งจอกภูเขาหิมะ (Flying Fox of Snowy Mountain 1978 CTV) มี 20 episodes นำแสดงโดย เว่ยจื่ออวิ๋น Barry Wei รับบท หูอีเตา และ หูเฟย, ไป่เปี่ยว Jason Pai รับบท เหมียวเหรินฟ่ง, หมีเซียะ Michelle Yim รับบท หยวนจื๋ออี
  • เซียวฮื่อยี้ (The Twin 1979 TVB) มี 17 episodes กำกับการแสดงโดย เจาเจิ้นเฉียง Zhao Zhen Qiang นำแสดงโดย หวงหยวนเซิน Huang Yuan Shen รับบท เซียวฮื่อยี้, หมีเซียะ Mi Xue รับบท โซวเอ็ง, สือซิว Sek Sau รับบท ฮวยบ่อข่วย และ หวงซิ่งซิ่ว Cecilia Wong รับบท ทิซิมลั้ง
  • ศึกสายเลือด (Dynasty 1980 RTV) มี 57 episodes กำกับการแสดงโดย เซียวเซิง Siu Sheng นำแสดงโดย ว่านจื่อเหลียง Alex Man รับบท องค์ชายสี่ หย่งเจิ้น, อู่เว่ยกว๋อ Ng Wai-Kwok รับบท องค์ชายสิบสี่, เดวิดเจียง David Chiang รับบท เจิงจิ้ง จอมยุทธอันดับ 1 ในแผ่นนดิน และ หมีเซียะ รับบท หลี่ซื่อเหนียง หญิงผู้ใจเด็ด
  • ศึกชิงเจ้ายุทธจักร (The Water Legend 1980 RTV) มี 60 episodes กำกับการแสดงโดย เซียวเซิง Siu Sheng นำแสดงโดยเจิงเจียง Kenneth Tsang Kong รับบท เกาเทียนหยวน, หมีเซียะ รับบท เลี่ยเหยียนเหยียน, เหลียงเสี่ยวหลง หรือ บรู๊ซเหลียง Leung Siu Lung รับบท ซือกงเอ้าซื่อ, หวีอันอัน รับบท จั๋วเตี๋ยเอ๋อ และ ฉีเส้าเฉียง Norman Tsui Siu Keung รับบท เริ่นหว่อเหวย
  • จางซันฟง ฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม (Tai Chi Master 1980 RTV) มี 30 episodes กำกับการแสดงโดย หลี่ฮุ่ยหมิน Li Huimin นำแสดงโดย ว่านจื่อเหลียง รับบท จางซันฟง, หมีเซียะ รับ 2 บท คือ เถาไฉ่อี และ จินเหม่ยนี, เฉาต๊ะฮว๋า Chou Tat-Wah รับบท หลวงจีนคงหมิง อาจารย์ของจางซันฟง และ เกาสยง Gao Xiong รับบท จี้เซินเหอซัง
  • ศึกสองนางพญา (Princess Cheung Ping 1981 RTV) มี 50 episodes กำกับการแสดงโดย เซียวเซิง Siu Sheng นำแสดงโดยเดวิดเจียง รับบท เหยียนยั่วเฟย, หลิวสงเหยิน Damian Lau รับบท โจวซื่อเสียน, หมีเซียะ รับบท องค์หญิงฉางผิง, หวีอันอัน รับ 2 บทคือ องค์หญิงเจาเหยิน และเฉินหยวนหยวน และม่อเส้าชง Mok Siu Chung รับบท จั่วอวิ๋นหลิง
  • นักชกผู้พิชิต (The Legendary Fok 1981 RTV) เป็นเรื่องราวของฮั่วหยวนเจี่ย มี 20 episodes นำแสดงโดย หวงเหยียนเซิน Wong Yuen San รับบท ฮั่วหยวนเจี่ย (ซึ่งมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์), เหลียงเสี่ยวหลง หรือ บรู๊ซเหลียง Bruce Leung รับบท เฉินเจิน เป็นลูกศิษย์ของฮั่วหยวนเจี่ย ซึ่งเป็นตัวละครที่แต่งขึ้นมา (เอทีวีนำมาเป็นตัวเอกในภาคต่อมาคือ เฉินเจิน นักชกผู้พิชิต ภาค 2 The Fist 1982 ส่วนภาค 3 ตัวเอกคือ ฮั่วตงเก๋อ บุตรชายของฮั่วหยวนเจี่ย ใน THE LEGEND CONTINUES 1984), หมีเซียะ รับบท เจ้าเซี่ยนหนัน ร่วมด้วย หลีฮั่นฉือ Lai Hon Chi / เว่ยชิวหัว Wei Qiuhua
  • ไอ้หนุ่มหมัดเมา (The Legend Of Master So 1982 TVB) มี 20 episodes เป็นเรื่องราวของยาจกซูในวัยหนุ่ม รับบทโดยโจวเหวินฟะ นำแสดงโดย โจวเหวินฟะ, หมีเซียะ, เหมียวเฉียวเหว่ย, เฉินซิ่วจู และ หลิวเต๋อหัว

ผลงานภาพยนตร์[แก้]

  • หงส์หยก (2523)
  • สิงห์จ้าวพยัคฆ์ (2523)
  • นักฆ่าขนตางอน (2525)

ผลงานละครค่ายเอทีวี[แก้]

  • สี่มือปราบพยายม (The Undercover Agents 1983 ATV) มี 20 episodes นำแสดงโดย หมีเซียะ รับบท เอี้ยนอู๋โยว, อู่เว่ยกว๋อ Wu Wei Guo (Ng Wai-Kok) รับบท มือปราบไร้ใจ อู๋ฉิง (บ้อเช็ง), หลีฮั่นฉือ Lai Hon Chi รับบท มือปราบเลือดเย็น เหลิ่งเซวี่ย (แนฮ้วย), เหลียงเสี่ยวหลง Bruce Leung Siu-Lung รับบท มือปราบล่าชีวิต จุยหมิง (ตุยเมี่ย) และ จางอี้ รับบท Zhang Yi รับบท มือปราบหมัดเหล็ก เถียโส่ว (ทิซิ่ว)
  • กระบี่กู้บัลลังก์ (Chronicles of the Shadow Swordman 1985 ATV) มี 25 ตอนจบ นำแสดงโดย หลิวสงเหยิน, หมีเซียะ และ เยวี่ยฮว๋า Yue Hua
  • จูกัดเหลียง (จูเก๋อเหลียง) หรือ ขงเบ้ง The Legendary Prime Minister - Zhuge Liang 1985 ATV นำแสดงโดย เจิ้งเส้าชิว และ หมีเซียะ
  • คมเฉือนคมคืนยุทธจักรเซียน (King of Gambler ATV)《千王之王重出江湖》สร้างเมื่อปี 1996 นำแสดงโดย เซี่ยเสียน , หยังฉวิน, หมีเซียะ, หลิงสงเหยิน, หยังกงหยู ดูเพิ่ม
  • วิมานสายรุ้ง นำแสดงโดย หมีเซี้ยะ+เฉินเห่าหมิน+หลินเจียตัง+กั๊ยะเข่ออิง

อ้างอิง[แก้]

  1. "Michelle Yim celebrates 60th birthday". AsiaOne. September 9, 2015.
  2. 娛樂名人 (November 17, 2007). ""100 นักแสดงที่สวมบทบาทเป็นตัวละครได้ดีที่สุดในวงการบันเทิง". โดย "หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ หนังสือพิมพ์ "แอ็ปเปิ้ลเดลี่" "(Apple Daily) ในวงการบันเทิงฮ่องกง ไต้หวันและจีน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-14. สืบค้นเมื่อ December 16, 2018.
  3. http://www.blike.net/node/2350
  4. "คนแห่ชมแน่น!!! "เยิ่นต๊ะหัว"-"หมีเซียะสวมชุดรำไทย" สักการะพระพรหมโปรโมตท่องเที่ยวไทย". ผู้จัดการออนไลน์. 5 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-14. สืบค้นเมื่อ 22 September 2015.
  5. "ความรู้สึกของ หมีเซียะ กับบทบาทนางอิจฉา". สืบค้นเมื่อ 2022-07-13.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]