หมากรุกลูอิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หมากรุกลูอิส (อังกฤษ: Lewis Chessmen) เป็นหนึ่งในหมากรุกที่มีชื่อเสียงที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 12 ตัวหมากรุกหลายตัวทำจากงาของสิงโตทะเล มีรูปทั้งพระราชา พระราชินี บาทหลวง อัศวิน คาดว่าทำในนอร์เวย์ช่วงราวค.ศ.1150-1200 และมีผู้ค้นพบที่เกาะ ไอส์ ออฟ ลูอิส ในประเทศสกอตแลนด์ ช่วงปลายยุคค.ศ.1800 เพียง 78 ตัว ปัจจุบันถูกจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ 67 ตัว และในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสกอตแลนด์ ในเมืองเอดินเบอระ ประเทศสกอตแลนด์ อีก 11 ตัว

ประวัติ[แก้]

หมากรุกลูอิสคาดว่าน่าจะทำในประเทศนอร์เวย์ ในช่วงศตวรรษที่ 12 ตัวหมากรุกหลายตัวทำจากงาของสิงโตทะเลและมีเพียงบางส่วนที่ทำจากฟันปลาวาฬ เท่าที่ค้นพบล่าสุดเมื่อปีค.ศ. 1838 มีพระราชา 8 ตัว พระราชินี 8 ตัว บาทหลวง 8 ตัว อัศวิน 16 ตัว เรือ 12 ตัว และ เบี้ย 19 ตัว ความสูงของเบี้ยอยู่ที่ 3.5 ถึง 5.8 เซนติเมตร ส่วนพระราชาและพระราชินีมีความสูงอยู่ที่ 7 ถึง 10.2 เซนติเมตร หมากรุกมีลักษณะตาโปนและการแสดงออกทางสีหน้าที่โศกเศร้าและมีความเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าหมากรุกรูอิสใช้เล่นในกระดานสีแดงและสีขาวซึ่งต่างจากปัจจุบันที้เล่นบนกระดานสีดำและสีขาว ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์อังกฤษในกรุงลอนดอนมีพระราชา 6 ตัว พระราชินี 5 ตัว บาทหลวง 13 ตัว อัศวิน 14 ตัว เรือ 10 ตัว และ เบี้ย 19 ตัว ส่วนพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสกอตแลนด์ ในเมืองเอดินเบอระมีพระราชา 2 ตัว พระราชินี 3 ตัว บาทหลวง 3 ตัว อัศวิน 1 ตัว และเรือ 2 ตัว

อ้างอิง[แก้]

  • British Museum Website. เก็บถาวร 2011-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Murray, H. J. R. (1985). A History of Chess. Oxford University Press.
  • Robinson, James (2004). The Lewis Chessmen. British Museum Press.
  • Stratford, N. (1997). The Lewis chessmen and the enigma of the hoard. The British Museum Press.
  • Taylor, Michael (1978). The Lewis Chessmen. British Museum Publications Limited.

แหล่งข้อมูล[แก้]