รายชื่อหนังสือต้องห้ามโดยรัฐบาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หนังสือต้องห้าม)

ในหลายสังคมได้มีการห้ามหนังสือบางเล่ม รายชื่อหนังสือต้องห้ามโดยรัฐบาล ที่ปรากฏข้างล่างนี้เป็นเพียงบางส่วนของรายชื่อหนังสือทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามโดยรัฐบาลด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง การห้ามอาจจะเป็นการห้ามระดับชาติหรือระดับรอง และบางครั้งอาจจะมีโทษทางกฎหมายถ้าละเมิด

นอกจากการห้ามทางกฎหมายแล้ว ก็อาจจะเป็นการห้ามโดยสถาบันศาสนา โดยการห้ามไม่ให้ผู้นับถือศาสนาอ่านหนังสือที่ห้าม แต่โดยปราศจากโทษทางอาญา

แต่บางครั้งการห้ามก็อาจจะได้รับการยกเลิก เมื่อมีการท้าทายกันในศาล และศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการห้าม เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย


เนื้อหา: A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Zดูเพิ่มอ้างอิงแหล่งข้อมูลอื่น

A[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
About a Silence in Literature
(ความเงียบในวรรณกรรม)
Živorad Stojković บทความ ห้ามในยูโกสลาเวียโดยคำสั่งศาลในปี ค.ศ. 1951[1]
Alice's Adventures in Wonderland
(อลิซในแดนมหัศจรรย์)
ชาร์ล ลุดวิทซ์ ดอดจ์สัน วรรณกรรมเยาวชน/ผจญภัย ห้ามในมณฑลหูหนานในประเทศจีนในปี ค.ศ. 1931 เพราะเป็นการบรรยายสัตว์ให้มีฐานะสัตว์เท่าเทียมกับมนุษย์ (anthropomorphism)[2]
All Quiet on the Western Front
(แนวรบด้านตะวันตกเหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง)
เอริค มาเรีย เรอมาร์ค
(Erich Maria Remarque)
นวนิยายต่อต้านสงคราม ห้ามในนาซีเยอรมนีเพราะเป็นการทำลายกำลังใจ และเป็นการหมิ่นกองทัพเยอรมัน[3]
American Psycho เบร็ท อีสตัน เอลลิส
(Bret Easton Ellis)
นวนิยาย ห้ามในรัฐควีนส์แลนด์ ในรัฐอื่นผู้ซื้อต้องมีอายุ 18 ปีหรือแก่กว่า
Andersen's Fairy Tales
(เทพนิยายแอนเดอร์เซน)
ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน เทพนิยาย ห้ามในจักรวรรดิรัสเซีย ในปี ค.ศ 1835 เพราะเนื้อหาที่รุนแรงไม่เหมาะสำหรับเด็กและต่อมาโดยสหภาพโซเวียตเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1930 เพราะเป็นเรื่องสรรเสริญเจ้า[4]
Angaray Sajjad Zaheer เรื่องสั้นสมัยใหม่ ห้ามในปี ค.ศ. 1936 โดยรัฐบาลบริติช[5]
Animal Farm
(สัตวรัฐ)
จอร์จ ออร์เวลล์ จุลนวนิยายการเมือง ยึดในเยอรมนีโดยทหารฝ่ายพันธมิตร
ห้ามในปี ค.ศ. 1946 ในยูโกสลาเวีย
ห้ามในปี ค.ศ. 1991 ในเคนยา
ห้ามในปี ค.ศ. 2002 ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[6]
Areopagitica จอห์น มิลตัน บทความ งานเขียนต่อต้านการเซ็นเซอร์ที่เขียนระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ
ห้ามในสหราชอาณาจักรด้วยเหตุผลทางการเมือง[7]
A Spoon on Earth Hyeon Gi-yeong นวนิยาย ห้ามการเผยแพร่ในกองทัพเกาหลีใต้ (หนึ่งในหนังสือ 23 เล่มที่ถูกห้ามเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2008)[8]

B[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
Bad Samaritans: The Myth of Free Trade and the Secret History of Capitalism
(ทำความร้าย: เคล็ดลับของการค้าเสรีและประวัติลับของระบบทุนนิยม)
ฮา-จูน ชาง
(Ha-Joon Chang)
สารคดี ห้ามการแพร่หลายในกองทัพเกาหลีใต้ (หนึ่งในหนังสือ 23 เล่มที่ถูกห้ามเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2008)[8]
โลกวิไลซ์
(Brave New World)
อัลดัส ฮักซลีย์ นวนิยาย นวนิยายที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอนาคตที่เกิดขึ้นในลอนดอนในสังคมที่มีความเจริญทางวัตถุและทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ที่รวมทั้งระบบการเจริญพันธุ์ของมนุษย์
ห้ามในไอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1932[9]
Burger's Daughter
(ลูกสาวชาวเมือง)
นาดีน กอร์ดิเมอร์
(Nadine Gordimer)
นวนิยาย ห้ามในแอฟริกาใต้ในปี ค.ศ. 1979 เพราะขัดกับนโยบายเกี่ยวกับผิวของรัฐบาล[10]

C[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
ก็องดิด
(Candide)
วอลแตร์ นวนิยาย ยึดโดยศุลกากรอเมริกันในปี ค.ศ. 1930 เพราะเป็นหนังสือลามก[11]
Curved River
(แม่น้ำคด)
Živojin Pavlović รวมเรื่อง ในปี ค.ศ. 1963 ในยูโกสลาเวีย ดึงจากตลาดโดยสำนักพิมพ์ตามคำของของเจ้าหน้าที่ SDB[12]

D[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
รหัสลับดาวินชี
(The Da Vinci Code)
แดน บราวน์ นวนิยาย ห้ามในเลบานอนหลังจากผู้นำโรมันคาทอลิกมีความเห็นว่ามีเนื้อหาที่เป็นการดูหมิ่นผู้นับถือคริสต์ศาสนา[13]
The Death of Lorca''
(ความตายของลอร์คา)
เอียน กิบสัน
(Ian Gibson)
ชีวประวัติ, อาชญากรรมที่เกิดขึ้นจริง ห้ามชั่วคราวในสเปน[14]
บันทึกของแอนน์ แฟรงค์
(The Diary of Anne Frank)
แอนน์ แฟรงค์ ชีวประวัติ, อาชญากรรมที่เกิดขึ้นจริง ห้ามในเลบานอนเพราะแสดงภาพพจน์ของชาวยิวและไซออนนิสม์ในทางดี การสืบถามต่อไปพบว่านอกจากหนังสือเล่มนี้แล้ว หนังสือเล่มอื่นที่ห้ามก็รวมทั้ง Sophie's Choice (ทางเลือกของโซฟี) โดยวิลเลียม สไตรอน, Schindler's Ark โดยทอมัส คนีลลีย์, From Beirut to Jerusalem (จากเบรุตถึงเยรุซาเล็ม) โดย ทอมัส ฟรีดแมน รวมทั้งหนังสือโดยฟิลิป รอธ, ซอล เบลโลว์ และ ไอแซค บาเชวิส ซิงเกอร์[15]ที่ล้วนแต่เป็นนักเขียนชาวยิว
Dictionary of Modern Serbo-Croatian Language
(พจนานุกรมภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชียใหม่)
มิลอส มอสโคฟเยวิค
(Miloš Moskovljević)
พจนานุกรม ห้ามในยูโกสลาเวียโดยคำสั่งศาลในปี ค.ศ. 1966 ตามคำขอของ Mirko Tepavac เพราะคำจำกัดความบางคำอาจจะก่อให้เกิดความไม่สงบในบรรดาประชาชน[12]
Doctor Zhivago
(นายแพทย์ชิวาโก)
บอริส ปาสเตอร์นัค
(Boris Pasternak)
นวนิยาย ห้ามภายในสหภาพโซเวียตมาจนถึง ค.ศ. 1988 เพราะวิจารณ์พรรคบอลเชวิค[16]
Droll Stories โอโนเร เดอ บาลซาค
(Honoré de Balzac)
ห้ามในแคนาดาในปี ค.ศ. 1914[17]
กงจักรปีศาจ
The Devil's Discus
Rayne Kruger ถูกห้ามอย่างเป็นทางการในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2549[18]

E[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
El Señor Presidente
(ท่านประธานาธิบดี)
มิเกล อังเฮล อัสตูริอัส
(Miguel Ángel Asturias)
นวนิยาย ห้ามในกัวเตมาลาเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้นำของรัฐบาล[19]

F[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
Fanny Hill หรือ Memoirs of a Woman of Pleasure
(แฟนนี ฮิลล์ อนุทินของสาวสำราญ)
จอห์น เคลแลนด์
(John Cleland)
นวนิยาย ห้ามในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1821 เพราะเป็นเรื่องหยาบ ต่อมาอีกครั้งในปี ค.ศ. 1963 แฟนนี ฮิลล์เป็นหนังสือเล่มสุดท้ายที่ถูกห้ามอย่างเป็นทางการในสหรัฐอเมริกา[3]
The Federal Mafia
(รัฐบาลมาเฟีย)
เออร์วิน ชิฟฟ์
(Irwin Schiff)
สารคดี ศาลดิสตริคท์ในเนวาดาออกคำสั่งภายใต้มาตรา 26 U.S.C. § 7408 ต่อเออร์วิน ชิฟฟ์ห้ามการขายหนังสือเพราะศาลพบว่าข้อมูลในหนังสือเป็นการหลอกลวง[20]
The Fugitive (Perburuan) Pramoedya Ananta Toer นวนิยาย ห้ามในอินโดนีเซียเพราะมีเนื้อหาเป็นคอมมิวนิสต์และเพราะเหตุผลทางการเมืองอื่นๆ[21]

G[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
The God of Small Things
(เทพเจ้าแห่งสิ่งเล็ก ๆ)
อรุณธตี รอย
(Arundhati Roy)
นวนิยาย ห้ามในอินเดีย
เขียนในปี ค.ศ. 1996 อ้างว่ามีเนื้อหามีฉากที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสตรีคริสเตียนและชายคนใช้ที่เป็นชนชั้นต่ำชาวฮินดู[22]
The Grapes of Wrath
(ผลพวงแห่งความคับแค้น)
จอห์น สไตน์แบ็ค
(John Steinbeck)
นวนิยาย ห้ามหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา ในบริเวณแคลิฟอร์เนียที่เป็นสถานที่นวนิยายเกิดขึ้นห้าม เพราะเป็นหนังสือที่สร้างภาพพจน์ทางลบให้แก่บริเวณนั้น[23]
The Gulag Archipelago
(ค่ายกักกันกูลาก)
อเลกซานเดอร์ โซลเซนิตซิน สารคดี ห้ามในสหภาพโซเวียต เพราะขัดกับภาพพจน์และนโยบายที่รัฐบาลพยายามสร้าง[24]

H[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
Howl แอลเลน กินสเบิร์ก
(Allen Ginsberg)
กวีนิพนธ์ ฉบับแรกถูกยึดโดยศุลกากรซานฟรานซิสโกเพราะเนื้อหาที่หยาบในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1957 แต่หลังจากการพิจารณาคดีแล้วข้อกล่าวหาก็ถูกยกเลิก[25]

I[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
Islam - A Concept of Political World Invasion
(อิสลาม - อุปลักษณ์ของการรุกรานทางการเมืองของโลก)
อาร์. วี. บาซิน
(R. V. Bhasin)
ปรัชญาทางการเมือง ห้ามในรัฐมหาราษฏระในอินเดียใน ค.ศ. 2007 หลังจากที่ได้รับการตีพิมพ์ โดยข้อกล่าวหาที่ว่าเป็นหนังสือที่ขัดขวางการดำรงอยู่ของชุมชนฮินดูและมุสลิมอย่างสมานฉันท์[26]

J[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
July's People
(คนของจูลี)
นาดีน กอร์ดิเมอร์ นวนิยาย เรื่องเกิดขึ้นตอนปลายสงครามกลางเมืองในนวนิยายในแอฟริกาใต้ เมื่อครอบครัวสเมลส์ต้องอพยพออกจากโยฮันเนสเบิร์กไปพำนักอยู่ในหมู่บ้านของสาวใช้ผิวดำ
ห้ามในแอฟริกาใต้[27]
Jinnah: India-Partition-Independence
(จินนาห์: อินเดีย-การแบ่งแยก-อิสรภาพ)
จัสวันต์ สิงห์
(Jaswant Singh)
ชีวประวัติ ห้ามในรัฐคุชราตในอินเดีย [28]
Jinnah of Pakistan
(จินนาห์แห่งปากีสถาน)
สแตนลีย์ โวลเพิร์ท
(Stanley Wolpert)
ชีวประวัติ ห้ามในปากีสถานเพราะบรรยายรสนิยมการดื่มไวน์และการกินหมูของจินนาห์[29]

K[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
เดอะคิงเนเวอร์สไมส์
(The King Never Smiles)
พอล แฮนด์ลีย์ ชีวประวัติ เป็นหนังสือที่เป็นพระราชประวัติอย่างไม่เป็นทางการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและราชวงศ์จักรี
ห้ามในประเทศไทยอย่างไม่เป็นทางการโดยหนังสือกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่ ตช 0016.146/289 ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2551 อ้างว่าหนังสือเล่มนี้เป็น "หนังสือต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร"[30] และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 ทางการไทยยังได้ปิดกั้นเว็บไซต์ที่โฆษณาหรือให้บริการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้ด้วย[31][32]

L[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
Lady Chatterley's Lover
(ชู้รักเลดี้แชตเตอร์เลย์)
ดี. เอช. ลอว์เรนซ์ นวนิยาย ห้ามชั่วคราวในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษตามกฎหมายว่าด้วยการอนาจาร violation of obscenity laws.[ต้องการอ้างอิง]

ห้ามชั่วคราวในออสเตรเลีย[33]

Lajja
(ความละอาย)
ทาสลิมา นัสริน
(Taslima Nasrin)
นวนิยาย ห้ามในบังกลาเทศ[34][35][36] และในบางรัฐในอินเดีย
Little Black Sambo
(หนูน้อยแซมโบ)
เฮเลน แบนเนอร์มัน
(Helen Bannerman)
วรรณกรรมเยาวชน นิทานเกี่ยวกับเด็กน้อยชาวอินเดียชื่อแซมโบผู้รอดมาจากการถูกเสือกัดโดยการให้เสื้อผ้ากับเสือสี่ตัว แต่ต่อมากลายมาเป็นปัญหาเพราะการใช้คำว่า "แซมโบ" กลายเป็นนัยยะในทางที่ดูถูกผิว
ห้ามในญี่ปุ่นระหว่าง ค.ศ. 1988 ถึง ค.ศ. 2005 จากแรงกดดันจากหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ในสหรัฐอเมริกาที่ขู่ว่าจะหยุดยั้งการซื้อสินค้าที่ผลิตจากญี่ปุ่น[37]
Lolita
(โลลิตา)
วลาดิเมียร์ นาโบคอฟ
(Vladmir Nabokov)
นวนิยาย เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสห้ามเพราะหาว่าเป็นหนังสือ "ลามก" เช่นเดียวกับในสหราชอาณาจักร, อาร์เจนตินา, นิวซีแลนด์ และแอฟริกาใต้[38]
The Lottery
(หวย)
เชอร์ลีย์ แจ็คสัน
(Shirley Jackson)
เรื่องสั้น ห้ามในแอฟริกาใต้ระหว่างสมัยการแยกผิว[39]

M[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
Mein Kampf
(การต่อสู้ของข้าพเจ้า)
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ปรัชญาการเมือง ห้ามในบางประเทศในยุโรปตามกฎหมายต่อต้านนาซี
ห้ามในสหภาพโซเวียต และในสหพันธรัฐรัสเซีย เพราะมีความเห็นอันรุนแรง
A Message to Man and Humanity
(สาส์นถึงมนุษยชาติ)
อเลกซานเดอร์ ชเวตโควิค
(Aleksandar Cvetković)
ห้ามในยูโกสลาเวียโดยคำสั่งศาลในปี ค.ศ. 1967 เพราะอ้างอย่างผิดๆ และเป็นการโฆษณาชวนเชื่อที่สนับสนุนนโยบายสนับสนุนจีน[12].
Mirror of the Polish Crown
(กระจกส่องราชวงศ์โปแลนด์)
เซบาสเตียน มิคซินสกี
(Sebastian Miczyński)
ใบปลิว พิมพ์ในปี ค.ศ. 1618 ก่อให้เกิดการจลาจลต่อต้านชาวยิวในกรากุฟ ห้ามในโปแลนด์[40]
The Mountain Wreath เปตาร์ที่ 2 เพโตรวิค-เยกอส
(Petar II Petrović-Njegoš)
กวีนิพนธ์และบทละคร ห้ามในโรงเรียนในบอสเนีย[41]
My Girlhood
(ชีวิตวัยเด็ก)
ทาสลิมา นัสริน บันทึกชีวประวัติ ห้ามในบังกลาเทศในปี ค.ศ. 1999 เพราะ "ความเห็นอันปราศจากความคิด" ต่อศาสนาอิสลาม และ ศาสดา มุฮัมมัด[42]

N[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
Naked Lunch
(อาหารกลางวันในปารีส)
วิลเลียม เอส. เบอร์โรห์ส
(William S. Burroughs)
นวนิยาย ห้ามโดยศาลของเมืองบอสตัน ในปี ค.ศ. 1962 เพราะความหยาบ แต่คำตัดสินถูกเพิกถอนในปี ค.ศ. 1966 โดยศาลยุติธรรมสูงสุดแห่งรัฐแมสซาชูเซตส์[43]
New Class
(ชนชั้นใหม่)
มิโลวัน ดิลาส
(Milovan Đilas)
ห้ามในยูโกสลาเวียโดยคำสั่งของศาลในปี ค.ศ. 1957; ผู้เขียนถูกจำคุกเจ็ดปีที่ยืดออกไปเป็นสิบสามปีในปี ค.ศ. 1962 ในข้อหาที่ว่าเป็นงานเขียนที่เป็นการโฆษณาชวนเชื่ออันเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐ[12].
The Nickel-Plated-Feet Gang During the Occupation หลุยส์ ฟอร์ทอง
Louis Forton
คอมมิค ห้ามในยูโกสลาเวียโดยคำสั่งของศาลในปี ค.ศ. 1945[1]
หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่
(Nineteen Eighty-Four)
จอร์จ ออร์เวลล์ นวนิยาย ห้ามโดยสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1950 สตาลินเข้าใจว่าเป็นหนังสือเสียดสีที่มีพื้นฐานมาจากการเป็นผู้นำของสตาลินเอง, เกือบถูกห้ามในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษในคริสต์ทศวรรษ 1960 ระหว่างวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา การห้ามในสหภาพโซเวียตได้รับการยกเลิกในปี ค.ศ. 1990 แต่ฉบับที่จำหน่ายก็เป็นฉบับที่ได้รับการตัดทอน[44]
Notre ami le roi
(กษัตริย์พันธมิตร)
Gilles Perrault ชีวประวัติ ห้ามในโมร็อกโก เป็นชีวประวัติของของสมเด็จพระเจ้าฮัซซานที่ 2 แห่งโมร็อกโกที่สำรวจกรณีการทรมาน การสังหาร และการจำขังทางการเมืองที่กล่าวว่าเป็นการกระทำโดยรัฐบาล[45]
Not Without My Daughter
(เราจะไม่พรากจากกัน)
เบตตี มาห์มูดี
(Betty Mahmoody)
นวนิยาย ห้ามในอิหร่าน เป็นเรื่องที่เขียนจากชีวิตจริงของการหลบหนีของสตรีชาวอเมริกันกับลูกสาวจากอุ้งมือของสามีในอิหร่าน ได้รับการประณามในอิหร่านว่าเป็นการแสดงภาพพจน์โดยทั่วไปของอิหร่านในทางลบ และวิจารณ์ระบบวัฒนธรรมอิสลามของอิหร่าน
Nine Hours To Rama
(อีกเก้าชั่วโมงถึงเวลา)
สแตนลีย์ โวลเพิร์ต
(Stanley Wolpert)
ห้ามในอินเดีย เปิดเผยช่องโหว่ของการรักษาความปลอดภัยของกลุ่มผู้รับผิดชอบที่นำไปสู่การลอบสังหารมหาตมา คานธี

O[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
On Fierce Wound - Fierce Herb Ratko Zakić ดึงจากตลาดและทำลายหลังจากการตัดสินโดยสันนิบาติคอมมิวนิสต์ยูโกสลาเวียในคราลเยโวในยูโกสลาเวียในปี ค.ศ. 1967[12].
On the Origins and Perpetual Use of the Legislative Powers of the Apostolic Kings of Hungary in Matters Ecclesiastical
(ที่มาและการใช้อำนาจทางกฎหมายของพระมหากษัตริย์ฮังการีในกรณีที่เกี่ยวกับศาสนา)
อาดัม ฟรานทิเซ็ค คอลลาร์
(Adam František Kollár)
กฎหมาย-การเมือง ห้ามโดยวาติกัน เพราะเสนอความเห็นที่ขัดกับบทบาททางการเมืองของสถาบันโรมันคาทอลิก[46] ชื่อเดิม: De Originibus et Usu perpetuo.
One Day of Life
(วันหนึ่งในชีวิต)
มานลิโอ อาร์เกตา
(Manlio Argueta)
นวนิยาย ห้ามโดยเอลซัลวาดอร์เพราะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน[47]

P[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
The Peaceful Pill Handbook
(คู่มือการุณยฆาต)
ฟิลิป นิทชค์
ฟิโอนา สจวต
(Philip Nitschke และ Fiona Stewart)
คู่มือสำหรับการทำการุณยฆาต เดิมห้ามในนิวซีแลนด์ โดยสำนักงานการจัดระดับภาพยนตร์และวรรณกรรม เพราะมีเนื้อหาขัดกับนโยบาย[48] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2008 หนังสือได้รับการอนุญาตให้ขายได้ถ้าปิดผนึกและประทับตราว่าเป็นหนังสือที่ได้รับการห้ามอย่างชัดเจน แต่ในออสเตรเลียยังถูกห้ามอย่างสิ้นเชิง[49]
Pentagon Papers
(เอกสารเพนตากอน: ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและเวียดนาม ค.ศ. 1945-1967)
โรเบิร์ต แม็คนามารา
และกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา
เอกสารวิจัย ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันพยายามยับยั้งการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ไทม์เพราะมีเนื้อหาที่เป็นความลับของชาติ ในคดีระหว่างเดอะนิวยอร์กไทมส์กับสหรัฐอเมริกา[50]

Q[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล

R[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
Rangila Rasul Pt. Chamupati ศาสนา ในปัจจุบันห้ามในอินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศ[51]
Rights of Man
(สิทธิของมนุษย์)
ทอมัส เพน การเมือง ห้ามในสหราชอาณาจักร ผู้ประพันธ์ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏต่อแผ่นดิน เพราะเขียนสนับสนุนการปฏิวัติฝรั่งเศส[11] ห้ามในรัสเซียสมัยพระเจ้าซาร์หลังกบฏเดือนธันวาคม[52]

S[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท Reason
The Satanic Verses
(โองการปีศาจ)
ซัลมัน รัชดี นวนิยาย ห้ามในบังกลาเทศ, อินเดีย, สิงคโปร์ และอิหร่าน เพราะดูหมิ่นศาสนา[52]
Secret Conversations หรือ
Hitler's Table Talk
(บทสนทนาลับ)
ฮิวจ์ เทรเวอร์-โรเพอร์
(Hugh Trevor-Roper)
สารคดี ห้ามในสหภาพโซเวียตเพราะมีเนื้อหาที่ เป็นอคติต่อ "สลาฟ และ เซมิติค"[53]
Snorri the Seal
(แมวน้ำสนอรริ)
Frithjof Sælen ตำนาน หนังสือเสียดสีห้ามระหว่างการยึดครองนอร์เวย์โดยเยอรมนี[54]
Soft Target: How the Indian Intelligence Service Penetrated Canada
(เป้าหมายง่าย)
Zuhair Kashmeri & Brian McAndrew สืบสวนโดยนักหนังสือพิมพ์ ห้ามในอินเดีย[55]
The Song of the Red Ruby
(เพลงเรดรูบี)
แอกนาร์ ไมเคิล
(Agnar Mykle)
นวนิยาย ห้ามในนอร์เวย์ในปี ค.ศ. 1957 เพราะเนื้อหาที่แจ่มแจ้งในการบรรยายเกี่ยวกับเรื่องเพศ แต่ถูกเพิกถอนโดยศาลยุติธรรมสูงสุดของนอร์เวย์ในปี ค.ศ. 1958
Speak up
(ออกเสียง)
ทาสลิมา นัสริน นวนิยาย ห้ามในบังกลาเทศ ในปี ค.ศ. 2003 จากความกดดันของขบวนการชาวอินเดียมุสลิม หนังสือที่พิมพ์ในเบงกอลตะวันตกในชื่อ Dwikhandita จำนวนสามพันเล่มถูกยึดทันทีและถูกห้ามที่นั่นด้วย[56] การห้ามได้รับการประท้วงโดยนักประพันธ์หลายคนในเบงกอลตะวันตก[57] แต่การห้ามก็มิได้ถูกยกเลิกจนกระทั่งปี ค.ศ. 2005[58][59]
Spycatcher
(จับสายลับ)
ปีเตอร์ ไรท์
(Peter Wright)
อัตชีวประวัติ ห้ามในสหราชอาณาจักรระหว่าง ค.ศ.1985 ถึง ค.ศ.1988 เพราะเผยความลับของประเทศ เดิมไรท์เป็นสายลับขององค์การ MI5 หนังสือถูกห้ามก่อนที่จะได้รับตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1987[60][61]
Storytellers II
(คนเล่าเรื่อง 2)
Boško Novaković รวมเรื่องสั้น ถูกห้ามตีพิมพ์ยูโกสลาเวียในปี ค.ศ. 1964 เพราะมีเนื้อหาที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ Dragiša Vasić[12]
Suicide mode d'emploi
(คู่มืออัตตาฆาต)
คลอด กิลลัน บทความ บทวิจารณ์สูตรการฆ่าตัวตาย ที่เป็นเรื่องโด่งดังในฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1980 ที่นำไปสู่การออกกฎหมายห้ามการยุยงให้ทำอัตตาฆาต, การโฆษณาชวนเชื่อ การโฆษณาสินค้า อุปกรณ์ และ วิธีที่ใช้ในการทำอัตตาฆาต[62]

T[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
Those Dark Days
(ช่วงเศร้า)
ทาสลิมา นัสริน บันทึกชีวประวติ ห้ามในบังกลาเทศ ในปี ค.ศ. 2004[63][64]
ธาเลีย
(Thalia)
อาริอัส
(Arius)
เพลงสดุดี ห้ามในจักรวรรดิโรมันราวคริสต์ทศวรรษ 330 เพราะขัดกับหลักปรัชญาตรีเอกานุภาพ (Trinitarianism) "งานเขียนของอาริอัสถูกสั่งให้เผาทั้งหมดและอาริอัสเองก็ถูกสังหารที่อาจจะมีสาเหตุมาจากงานเขียน"[65] ห้ามโดยสถาบันโรมันคาทอลิกต่อมาเป็นเวลากว่าหนึ่งพันปี[ต้องการอ้างอิง]
Tropic of Cancer เฮนรี มิลเลอร์
(Henry Miller)
นวนิยายเชิงอัตชีวประวัติ ห้ามในสหรัฐอเมริกาในคริสต์ทศวรรษ 1930 จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 ยึดโดยศุลกากรอเมริกันเพราะมีเนื้อหาที่ลามกและหยาบ งานอื่นๆ ที่เขียนโดยมิลเลอร์ก็ถูกห้ามตามไปด้วย[66]
ห้ามในแอฟริกาใต้ในคริสต์ทศวรรษ 1980[ต้องการอ้างอิง]
อนุทินเทิร์นเนอร์
(The Turner Diaries)
วิลเลียม ลูเธอร์ เพียร์ซ
(William Luther Pierce)
นวนิยาย ห้ามในเยอรมนีเพราะมีเนื้อหาที่สนับสนุนปรัชญานาซี และการเป็นผู้นำของเพียร์ซในองค์การพันธมิตรแห่งชาติแห่งสหรัฐอเมริกา (National Alliance) ที่เป็นองค์กรแยกชาติชนผิวขาว (White separatism) หนังสือได้รับการประณามว่าเป็นแรงบันดาลใจของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นหลายครั้ง[67]

U[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
Ulysses
(ยูลิซีส)
เจมส์ จอยซ์ นวนิยาย ห้ามชั่วคราวในสหรัฐอเมริกาเพราะมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับเพศ แต่ถูกเพิกถอนโดยคำสั่งศาลในคดี สหรัฐอเมริกา ต่อ หนังสือชื่อยูลิซีส (United States v. One Book Called Ulysses) ในปี ค.ศ. 1933[68][69]
กระท่อมน้อยของลุงทอม
(Uncle Tom's Cabin)
แฮเรียต บีเชอร์ สโตว์ นวนิยาย ห้ามในรัฐทางตอนใต้ของสหรัฐเพราะมีเนื้อหาที่ต่อต้านการมีทาส, และในรัสเซียสมัยพระเจ้าซาร์เพราะความกลัวที่ว่าประชาชนจะสามารถเห็นความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติต่อทาสในสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกันการปฏิวัติต่อทาสที่ดินในรัสเซียเอง[70]
Understanding Islam through Hadis
(เข้าใจศาสนาอิสลามโดยเข้าใจฮะดีษ)
ราม สวารัพ
(Ram Swarup)
วิพากษ์การเมืองอิสลาม ห้ามในอินเดีย [71]
Uten en tråd Jens Bjørneboe นวนิยาย ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1966 ห้ามในนอร์เวย์เพราะมีเนื้อหาที่ถือว่าลามก แต่การห้ามต่อมาได้รับยกเลิก
Unarmed Victory
(ชัยชนะโดยปราศจากอาวุธ)
เบอร์ทรานด์ รัสเซิลล์ ห้ามในอินเดีย เพราะมีเนื้อหาที่เป็นที่ครหาต่ออินเดียเกี่ยวกับสงครามจีน-อินเดียในปี ค.ศ. 1962

V[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
งานหลายชิ้น เซิ่น ฉง เหวิน
(Shen Congwen)
นวนิยาย "ประณามโดยคอมมิวนิสต์และกลุ่มชาตินิยม งานของเซิ่น ฉง เหวินถูกห้ามในสาธารณรัฐไต้หวัน ขณะที่บนจีนแผ่นดินใหญ่บริษัทที่ตีพิมพ์ก็เผาแท่นพิมพ์ .... จนเมื่อมาถึง ค.ศ. 1978 เท่านั้นที่รัฐบาลจีนจึงได้เริ่มอนุญาตให้มีตีพิมพ์งานบางชิ้นได้แต่ก็เพียงจำนวนจำกัด ...."[72]

W[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
Watershed Čeda Vuković ห้ามในยูโกสลาเวียในปี ค.ศ. 1968[12].
The Wealth of Nations
(ความมั่งคั่งของประชาชาติ)
แอดัม สมิธ ศาสตรนิพนธ์เศรษฐศาตร์ ห้ามในประเทศคอมมิวนิสต์[ต้องการอ้างอิง] เพราะมีเนื้อหาที่สนับสนุนระบบทุนนิยม
The Well of Loneliness
(ความเปล่าเปลี่ยว)
แรดคลิฟ ฮอลล์
(Radclyffe Hall)
นวนิยาย ห้ามในสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1928 เพราะมีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างสตรี ตีพิมพ์ครั้งใหม่ในปี ค.ศ. 1949[73]
Wild Wind
(ลมเถื่อน)
ทาสลิมา นัสริน
(Taslima Nasrin)
นวนิยาย ห้ามในบังกลาเทศในปี ค.ศ. 2002 โดยอ้างว่าเป็นหนังสือที่มีเนื้อหา "ต่อต้านอิสลามและอาจจะทำลายความสมานฉันท์ทางศาสนา"[74]

X[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล

Y[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
Year 501: The Conquest Continues
(ปี 501: ชัยชนะดำเนินต่อไป)
โนม ชัมสกี การเมือง ห้ามการแพร่หลายในกองทัพเกาหลีใต้ (หนึ่งในหนังสือ 23 เล่มที่ถูกห้ามเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2008[8]

Z[แก้]

ชื่อ ผู้ประพันธ์ ประเภท เหตุผล
Teachings of Falun Gong
(คำสอนของฝ่าหลุนกง)
หลี่ หงจื้อ
(李洪志/Li Hongzhi)
สมาธิ ห้ามในสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เป็นส่วนหนึ่งของการกำจัดขบวนการฝ่าหลุนกง (persecution of Falun Gong) ที่เริ่มในปี ค.ศ. 1999[75]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Arsić Ivkov, Marinko (2002-06-23). "Krivična estetika (32)". Dnevnik (ภาษาเซอร์เบีย). Novi Sad. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-05. สืบค้นเมื่อ April 25, 2009.
  2. [1]
  3. 3.0 3.1 Grannis, Chandler B.; Haight, Anne (Lyon) (1978). Banned books, 387 B. C. to 1978 A. D. New York: R. R. Bowker. p. 80. ISBN 0-8352-1078-2.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. Banned Books: A Chronological Collection of Banned Books
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-16. สืบค้นเมื่อ 2009-10-10.
  6. Karolides et al., p. 13-16
  7. Karolides et al., p. 16-20
  8. 8.0 8.1 8.2 Military expands book blacklist
  9. Forbidden library
  10. Karolides et al., p. 29-32
  11. 11.0 11.1 "Banned Books Online".
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 Arsić Ivkov, Marinko (2002-06-24). "Krivična estetika (33)". Dnevnik (ภาษาเซอร์เบีย). Novi Sad. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-05. สืบค้นเมื่อ April 25, 2009.
  13. [2]
  14. [3]
  15. [4]
  16. Karolides et al., p. 40-45
  17. CBC's The Current the whole show blow by blow.
  18. "คำสั่งเจ้าพนักงานการพิมพ์ ที่ ๓/๒๕๔๙ เรื่อง ห้ามการขาย หรือจ่ายแจกและให้ยึดสิ่งพิมพ์" (PDF). Royal Gazette. 123 (Special 23 ง): 31. June 27 2006. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  19. Karolides et al., p. 45-50
  20. See also footnote 1, United States v. Schiff, 2008-1 U.S. Tax Cas. (CCH) paragr. 50,111 (9th Cir. 2007), citing United States v. Schiff, 379 F.3d 621, 630 (9th Cir. 2004), regarding the Court's finding that the book The Federal Mafia: How the Government Illegally Imposes and Unlawfully Collects Income Taxes constituted "fraudulent commercial speech."
  21. Karolides et al., p. 50-57
  22. "Top 10 "Obscene" Literary Classics".
  23. Karolides et al., p 57-71
  24. Karolides et al., p 71-78
  25. Morgan, Bill; Nancy Joyce Peters (2006). Howl on trial: the battle for free expression. San Francisco: City Lights Books. pp. 2–3. ISBN 9780872864795.
  26. [5]
  27. "South Africa reinstates authors" (ภาษาอังกฤษ). BBC News. 22 April 2001. สืบค้นเมื่อ 2009-06-10.
  28. "India state bans book on Jinnah". BBC. 20 August 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-08-20.
  29. . Pakistaniat. 22 August 2009 http://pakistaniat.com/2007/09/11/wolperts-jinnah/. สืบค้นเมื่อ 2009-08-22. {{cite news}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  30. ตำรวจนครบาลสั่งห้ามขายหนังสือ A Coup for the Rich, ประชาไท, 29 มกราคม พ.ศ. 2551, เรียกดูเมื่อ 14 มกราคม พ.ศ. 2552
  31. Warrick-Alexander, James, "Thailand Bars Univ. Website" เก็บถาวร 2009-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Yale Daily News, 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549, เรียกดูเมื่อ 20 เมษายน พ.ศ. 2550
  32. สตช. บล็อกเว็บม.เยลห้ามนำเข้า ‘เดอะคิงเนเวอร์สไมส์’, ประชาไท, 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549, เรียกดูเมื่อ 19 เมษายน พ.ศ. 2550
  33. Cleland, John; Rembar, Charles; Miller, Henry (1986). The end of obscenity: the trials of Lady Chatterley, Tropic of cancer, and Fanny Hill. San Francisco: Harper & Row. ISBN 0-06-097061-8.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  34. Bangladesh Seeks Writer, Charging She Insults Islam New York Times, June 8, 1994.
  35. Book Review New York Times, August 28, 1994.
  36. World: South Asia Bangladesh bans new Taslima book New York Times, August 28, 1994.
  37. "Banned Books". undated. สืบค้นเมื่อ 2008-09-06. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  38. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 2009-10-10.
  39. Hyman, Stanley Edgar. "Introduction," Just an Ordinary Day. Bantam, 1995.
  40. Ringelblum, Emanuel; Joseph Kermish; Shmuel Krakowski. Polish-Jewish Relations During the Second World War. Northwestern University Press. p. 190. ISBN 0810109638.
  41. "New World Order's Inquisition in Bosnia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-03. สืบค้นเมื่อ 2009-10-10.
  42. Ahmed, Kamal (1999-08-13). "Bangladesh bans new Taslima book". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2009-06-01.
  43. http://www.iht.com/articles/2006/03/01/features/beats.php
  44. Rodden, John (2002). George Orwell: the politics of literary reputation. Transaction. pp. 200–211. ISBN 9780765808967.
  45. "Notre ami le roi par Gilles Perrault". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 2009-10-10.
  46. Andor Csizmadia, Adam Franz Kollár und die ungarische rechtshistorische Forschung. 1982.
  47. Ferris, Geoff (February 2002). "One Day of Life". Western Michigan University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-15. สืบค้นเมื่อ December 12, 2008.
  48. Office of Film & Literature Classification เก็บถาวร 2010-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - "The Peaceful Pill Handbook banned"
  49. http://www.censorship.govt.nz/pdfword/peaceful%20pill%20s38.pdf เก็บถาวร 2010-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Office of Film & Literature Classification
  50. Fred Graham, Court Here Refuses to Order Return of Documents Now, The New York Times, June 16, 1971.
  51. Self and Sovereignty: Individual and Community in South Asian Islam Since 1850 by Ayesha Jalal
  52. 52.0 52.1 [6]
  53. Russia bans book on Hitler saying Nazi quotes insult
  54. Skarstein, Jakob. "Frithjof Sælen". ใน Knut Helle (บ.ก.). Norsk biografisk leksikon (ภาษานอร์เวย์). Oslo: Kunnskapsforlaget. สืบค้นเมื่อ 4 July 2009.
  55. "Amazon Soft Target Book listing". สืบค้นเมื่อ 2007-12-19.
  56. "Bengal bans Taslima's book". The Hindu. 2003-11-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-12-04. สืบค้นเมื่อ 2009-06-01.
  57. Joshua, Anita (2004-02-18). "West Bengal Government assailed for banning Taslima's book". The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-03-23. สืบค้นเมื่อ 2009-06-01.
  58. Dhar, Sujoy (2005). "Arts Weekly/Books: Split By Leftists and Fanatics". Inter Press Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-25. สืบค้นเมื่อ 2009-06-01.
  59. "Court lifts ban on Nasreen's book in Bengal". Rediff.com. 2005-09-23. สืบค้นเมื่อ 2009-06-01.
  60. Zuckerman, Laurence (1987-08-17). "How Not to Silence a Spy". Time. Time Warner. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-25. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
  61. 1987: Ban lifted on MI5 man's memoirs
  62. Loi n°87-1133 du 31 décembre 1987 tendant à réprimer la provocation au suicide
  63. "Exiled Taslima Nasrin to return to Bangladesh". Indian Muslims. 2007-07-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2009-06-01.
  64. "New book banned at behest of Islamic bigots: Taslima". Press Trust of India. 2004-02-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-03. สืบค้นเมื่อ 2009-06-01.
  65. "Edict Against Arius". 333. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-07. สืบค้นเมื่อ 2009-10-10.
  66. From Henry Miller to Howard Stern, by Patti Davis, Newsweek, March, 2004
  67. "'Turner Diaries' introduced in McVeigh trial".
  68. United States v. One Book Called "Ulysses" Case citation 5 F.Supp. 182, (S.D.N.Y. 1933) (lower court decision)
  69. United States v. One Book Entitled Ulysses by James Joyce, Case citation 72 F.2d 705]] (2nd Cir. 1934) (appellate court decision)
  70. "Stowe Debate". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-22. สืบค้นเมื่อ 2009-10-10.
  71. Freedom of expression - Secular Theocracy Versus Liberal Democracy (1998, edited by Sita Ram Goel) ISBN 81-85990-55-7
  72. Gargan, Edward A. (13 May 1988). "Shen Congwen, 85, a Champion of Freedom for Writers in China". New York Times. สืบค้นเมื่อ 12 September 2009.
  73. Smith, David (2005-01-02). "Lesbian novel was 'danger to nation'". The Observer. สืบค้นเมื่อ 2006-10-09.
  74. "Bangladesh bans third Taslima book". BBC News. 2002-08-27. สืบค้นเมื่อ 2009-06-01.
  75. Why is Falun Gong Banned?, New Statesman, 19 August, 2008.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]