สโมสรฟุตบอลเมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลเมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด
ฉายาค้างคาวมหากาฬ
ก่อตั้งพ.ศ. 2552
สนามสนามกีฬาจังหวัดกาญจนบุรี
Ground ความจุ18,000 ที่นั่ง
ประธานไทย พีรศักดิ์ ทิพยะวัฒน์
ผู้จัดการไทย กฤษฎา แสงจันทร์
ผู้ฝึกสอนไทย ธนะวิทย์ ชวศิลป
ลีกไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก
2566โซนภาคตะวันตก, รอบแพ้คัดออก
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลเมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลสมัครเล่นในประเทศไทย โดยเป็นทีมจากจังหวัดกาญจนบุรี เคยแข่งขันในไทยลีก 2 เมื่อฤดูกาล 2564–65 ปัจจุบันเล่นในไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก โซนภาคตะวันตก

ประวัติสโมสร[แก้]

สโมสรฟุตบอลเมืองกาญจน์ ก่อตั้งขึ้นโดยชูศักดิ์ แม้นทิม ใน พ.ศ. 2552 โดยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลอาชีพครั้งแรก โดยใช้ชื่อ "สโมสรฟุตบอลเมืองกาญจน์ เอฟซี" โดยร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2553 มี ฐิติ สุโกรัตน์ เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนแรก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานสโมสร โดย อิศเรศ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสร ประเทศ บุญยงค์ เป็นผู้จัดการทีม และประเสริฐ ช้างมูล เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน โดยได้เปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น "สโมสรฟุตบอลเมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด" โดยใช้ชื่อดังกล่าวเข้าร่วมการแข่งขัน ตั้งแต่ฤดูกาล 2556 เป็นต้นมา

ในการประชุมสภากรรมการ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 ประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ได้มีมติพิจารณากรณีเกี่ยวกับสโมสรที่จะเข้าร่วมการแข่งขัน ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2565–66 โดยสโมสรฟุตบอลเมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด ไม่ได้รับใบอนุญาตในการเข้าร่วมการแข่งขัน (Club Licensing)[1]

ตราสโมสร[แก้]

ตราประจำสโมสรเป็นรูปค้างคาว โดยมีที่มาจากค้างคาวคุณกิตติซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เล็กที่สุดในโลก โดยถูกค้นพบครั้งแรกที่จังหวัดกาญจนบุรี

สนามเหย้า[แก้]

สนามกลีบบัวแบบพาโนราม่า
สนามกลีบบัว

สโมสรฟุตบอลเมืองกาญจน์ใช้สนามกีฬาจังหวัดกาญจนบุรี (กลีบบัว) เป็นสนามเหย้า โดยสนามแห่งนี้รองรับผู้ชมได้ถึง 18,000 คน เคยถูกใช้งานในไทยลีกและกีฬาเยาวชนแห่งชาติมาแล้ว

ผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย พลณฤต สุดตา
2 DF ไทย วชิรวิทย์ กิ่งแก้ว
3 DF ไทย พชร แสงไกร
4 DF ไทย ศุภมิตร ขุนจิตงาม
5 DF ไทย วิษณุ สุทธิ
6 MF ไทย เชษฐา วารี
7 FW ไทย อภิวัฒน์ ชูไพร
9 FW ไทย จิระศักดิ์ ร่มโพธิ์
11 FW ไทย คามิน มุขธระโกษา
12 DF ไทย ปรเมษฐ นวลละออง
13 FW ไทย สุระนันท์ ภัทรจิรพานิช
14 FW ไทย ศิริวัฒน์ ไชยศิริ
15 MF ไทย ศักดิโชติ ปรีชาเดช
16 MF ไทย เบิกฤกษ เดชกล้า
18 GK ไทย นพพร เทียมแสน
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
19 FW ไทย ชนะโชค สุขสวัสดิ์พิพัฒน์
21 DF ไทย ธนินท์รัฐ ธนวิทย์พงศกร
22 MF ไทย ชัชชน จักรคุ้ม
23 DF ไทย ปิยะ เฉลยรักษ์
24 DF ไทย ชัชพงศ์ หวานเสนาะ
25 GK ไทย วิศรุต วอแพง
26 DF ไทย ทักษิณ บัวแสง
27 FW ไทย อคิราภ์ ทองประเสริฐ
29 FW ไทย สหัสวรรษ ไผ่แก้ว
30 GK ไทย ณัฐวุฒิ สุวรรณวิลัย
32 DF ไทย สิทธิเดช สิทธิ์ทอง
66 MF ไทย ภูชิต ชัยมงคล
69 MF ไทย กุศลสร้าง แจ่มฟ้า
71 MF ไทย พงศ์ดนัย เจริญใหญ่
99 FW ไทย ภูชิต เฉลิมแสน

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล[แก้]

ฤดูกาล ลีก[2] เอฟเอคัพ ลีกคัพ ผู้ทำประตูสูงสุด จำนวนประตู
ลีก แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย คะแนน อันดับ
2561 ไทยลีก 3
โซนตอนบน
26 7 9 10 34 41 30 อันดับ 8 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม
2562 ไทยลีก 3
โซนตอนบน
24 4 11 9 24 35 23 อันดับ 10 รอบคัดเลือก รอบแรก
2563–64 ไทยลีก 3
โซนภาคตะวันตก
17 13 3 1 50 13 42 อันดับ 1 รอบ 8 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือกรอบสอง
2564–65 ไทยลีก 2 34 14 10 10 70 62 52 อันดับ 7 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบเพลย์ออฟ ลีอังดรู อัสซัมเซา 17
2566 ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก
โซนภาคตะวันตก
2 2 0 1 18 3 6 N/A ไม่ได้เข้าร่วม ไม่สามารถเข้าร่วม
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ เลื่อนชั้น ตกชั้น

อ้างอิง[แก้]

  1. สรุปรายชื่อสโมสรที่ได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน M-150 แชมเปี้ยนชิพ ฤดูกาล 2565/66
  2. King, Ian; Schöggl, Hans & Stokkermans, Karel (20 March 2014). "Thailand – List of Champions". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014. Select link to season required from chronological list.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]