สโมสรฟุตบอลบางกอก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สโมสรฟุตบอลกรุงเทพ)
บางกอก เอฟซี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลบางกอก เอฟซี
ฉายากระทิงเพลิง
ก่อตั้งพ.ศ. 2542
สนามสนามเฉลิมพระเกียรติ บางมด[1]
เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร
เจ้าของบจก.บางกอก เอฟซี แมเนจเมนต์
ประธานพรทัต อมตวิวัฒน์
ผู้จัดการอิศเรศ พึ่งเสือ
ผู้ฝึกสอนกฤษกร กระสายเงิน
ลีกไทยลีก 3
2566–67ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล, อันดับที่ 1
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรฟุตบอลบางกอก (บางกอก เอฟซี) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ปัจจุบันเล่นอยู่ในไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล

ประวัติสโมสร[แก้]

ยุคโปรลีก[แก้]

สมาคมกีฬากรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 ได้ลงทำการแข่งขันในโปรวินเชียลลีก ตามแผนพัฒนาการกีฬาเพื่อการอาชีพซึ่งก่อตั้งโดย การกีฬาแห่งประเทศไทย และ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเชิญสมาคมกีฬาจังหวัดต่างๆที่ได้รับการคัดสรร มาเข้าร่วมแข่งขันในระบบลีกและทาง สมาคมกีฬากรุงเทพมหานคร ก็ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขัน โดยมี ทวีศักดิ์ เดชเดโช เป็นผู้จัดการทีมคนแรก[2] โดยในปีแรกของการแข่งขัน (ฤดูกาล 2542/43) สมาคมฯ จบอันดับที่ 7 มี 24 คะแนน

ต่อมาในฤดูกาล 2546 ทางฝ่ายจัดการแข่งขันฯ ได้กำหนดชื่อของทีมจังหวัดที่เข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อให้ดูเป็นสากลมากขึ้น โดยทีมได้เปลื่ยนชื่อเป็น บางกอก บราโว่ โดยในปีนั้น ทีมทำผลงานได้ไม่ดีนักโดยจบอันดับที่ 9 จาก 12 ทีม มี 26 คะแนน โดยผู้ทำประตูสูงสุดของทีม ในเวลานั้นคือ กริชธิชัย สารกุล โดยทำไป 9 ประตู ก่อนที่ใน ฤดูกาล 2547 เจ้าตัวทำผลงานได้ดี โดยเป็นผู้ทำประตูสูงสุดของลีกโดยทำประตูไป 11 ประตูร่วมกับ ภานุวัฒน์ ดวงทอง เพื่อนร่วมทีมและโคเน่ คาสซิม ของ สโมสรนครปฐม ฮันเตอร์

เข้าสู่ระบบลีก[แก้]

ใน พ.ศ. 2550 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทำการรวมลีกทั้งโปรวินเชียลลีก และไทยแลนด์ลีก เข้าด้วยกัน ซึ่งทีมได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งดิวิชั่น1 ในสายเอ แต่ผลงานของทีมกลับเลวร้าย โดยจบอันดับที่ 11 จาก 12 ทีม (ในปีนั้น สายหนึ่งตกชั้น 5 ทีม) ทำให้ต้องตกชั้นลงไปแข่งขันใน ดิวิชั่น2

พ.ศ. 2551 ในการแข่งดิวิชั่น 2 โดยอยู่ในสายบี แต่ผลงานของทีมกลับไม่ดีนัก โดยทำผลงานจบอันดับที่ 11 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย จากทั้งหมด 11 ทีม โดยที่ทีมตกชั้นไปเล่นในโปรลีก

พ.ศ. 2552 สโมสรได้ลงแข่งขันในลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2 ซึ่งเป็นการแข่งขันฤดูกาลแรกของฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ในส่วนของสโมสรที่อยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ประจำปี 2552 หลังจากมีการปรับการแข่งขันจากฤดูกาล ฤดูกาล 2551 ที่ไม่ได้แบ่งออกเป็นลีกย่อยในแต่ละภูมิภาค

ปี พ.ศ. 2553 สโมสรได้ปรับเปลื่ยนโครงสร้างการบริหารให้เป็นมืออาชีพมากขึ้นและเปลื่ยนสัญลักษณ์ของสโมสรทั้งหมด โดยเปลื่ยนชื่อเป็น บางกอก เอฟซี โดยใช้สัญลักษณ์วัวกระทิง มีเสาชิงช้าเป็นพื้นหลังเป็นสัญลักษณ์สโมสร รวมไปถึงการเปลื่ยนแปลงผู้บริหารโดย ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสรและแต่งตั้ง ทองสุข สัมปหังสิต เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนและประธานเทคนิคควบคู่กัน[3] และ กลับมาใช้ สนามเฉลิมพระเกียรติ บางมด เป็นสนามเหย้า ได้ทำการปรับปรุงใหม่รองรับแฟนบอลได้ถึง 8,000 ที่นั่ง โดยฤดูกาลนี้สโมสรยังคงลงเล่นใน ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2553 สโมสรทำผลงานได้ดีจบฤดูกาล สามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศของโซนกรุงเทพฯและปริมณฑล เข้าสู่ แชมเปี้ยนส์ ลีกโดย จบอันดับที่ 4 ของกลุ่มบี แต่ยังได้สิทธิ์เพลย์ออฟ เลื่อนชั้น หลังจากที่ บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ได้ประกาศที่จะเพิ่มจำนวนสโมสรที่เข้าร่วมแข่งขัน ดิวิชั่น 1 เป็น 18 ทีม โดยสโมสรสมารถเอาชนะ สโมสรนราธิวาส เอฟซี ด้วยประตูรวม 2-11 (นัดแรก ชนะ 1-7 นัดที่ 2 ชนะ 1-4) ทำให้ได้สิทธิ์เลื่อนชั้น แข่งขันในดิวิชั่น 1

ดิวิชั่น 1[แก้]

ผลงานของสโมสรในปีแรก ๆ จบอยู่ที่กลางตาราง โดยในฤดูกาลแรกที่เลื่อนชั้นขึ้น (ไทยลีกดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2554) สโมสรจบอันดับที่ 11 และ ไทยลีกดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2555 จบอับดันที่ 10

ในฤดูกาล 2556 และฤดูกาล 2557 สโมสรมีลุ้นเลื่อนชั้นขึ้นไทยพรีเมียร์ลีก โดยผลงานของสโมสร จบในอันดับที่ 4 สองฤดูกาลติด

ต่อมาสโมสรเริ่มประสบปัญหาทางการเงิน โดยผลงานของทีมเริ่มตกต่ำ โดยใน ฤดูกาล 2558 จบอันดับ 13 และฤดูกาล 2559 สโมสรต้องหนีตกชั้นอย่างหนัก แต่สามารถรอดตกชั้นมาได้ สโมสรได้มีการเปลื่ยนแปลงฝ่ายบริหาร ผู้เล่น และทีมงานผู้ฝึกสอน โดยทางสโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ได้ทำการเทคโอเวอร์สโมสรหลังจากที่กลุ่มผู้บริหารเก่าไม่ทำบริหารทีมต่อไป[4] และแต่งตั้งให้ยุทธนา ทวีสรรพสุข อดีตผู้จัดการ พัทยา ยูไนเต็ด มาดูแลสโมสรโดยผู้เล่นส่วนใหญ่คือ อดีตนักฟุตบอลเยาวชนของเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด และ อดีตผู้เล่นบางส่วนของบีอีซี เทโรศาสน และพัทยา ยูไนเต็ด ในฤดูกาล 2560 สโมสรก็ทำผลงานได้อย่างน่าผิดหวังโดยจบฤดูกาลอันดับที่ 17 ตกชั้นสู่ไทยลีก 3

ไทยลีก 3[แก้]

ในการแข่งขันช้าง เอฟเอคัพ 2566–67 รอบ 16 ทีมสุดท้าย สโมสรสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเอาชนะทีมแชมป์เก่าอย่างบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดไปได้ 5–4 ผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี และนับเป็นครั้งแรกที่สโมสรจากลีกระดับต่ำกว่าไทยลีกสามารถเอาชนะบุรีรัมย์ในการแข่งขันฟุตบอลถ้วยในประเทศได้

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล[แก้]

ฤดูกาล ลีก เอฟเอ คัพ ลีกคัพ ลีก 3 คัพ ผู้ทำประตูสูงสุด
ลีก แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย แต้ม อันดับ ชื่อ ประตู
2542/43 โปรลีก 22 6 6 10 32 37 24 อันดับ 7
2543/44 โปรลีก 22 5 6 11 26 42 21 อันดับ 9 มนัส สุคันธจันทร์ 8
2545 โปรลีก สาย บี 10 0 1 9 8 24 1 อันดับ 11
2546 โปรลีก 22 5 11 6 28 29 26 อันดับ 9 กริชธิชัย สารกุล 9
2547 โปรลีก 18 8 4 6 36 32 28 อันดับ 5 กริชธิชัย สารกุล
ภานุวัฒน์ ดวงทอง
11
2548 โปรลีก 22 5 8 9 25 27 23 อันดับ 8
2549 โปรลีก 30 9 12 9 31 34 39 อันดับ 9
2550 ดิวิชั่น 1 สาย เอ 22 5 8 9 27 35 23 อันดับ 11
2551 ดิวิชั่น 2 สาย บี 20 2 3 15 16 47 9 อันดับ 11
2552 ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพฯ 18 5 7 6 18 25 22 อันดับ 6
2553 ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพฯ 24 14 6 4 49 18 48 ชนะเลิศ
2554 ดิวิชั่น 1 34 13 3 18 56 63 42 อันดับ 11 ซามูเอล คูวาคู 14
2555 ดิวิชั่น 1 34 11 9 14 62 55 42 อันดับ 10 ลี ทรัค 23
2556 ดิวิชั่น 1 34 18 8 8 69 54 62 อันดับ 4 รอบก่อนรองชนะเลิศ ลี ทรัค 23
2557 ดิวิชั่น 1 34 14 15 5 53 37 57 อันดับ 4 รอบก่อนรองชนะเลิศ วาเรซี่ จูเนียร์ 16
2558 ดิวิชั่น 1 38 14 7 17 44 49 49 อันดับ 13 รอบสอง รอบแรก ราโดเมียร์ ราโดวิช 15
2559 ดิวิชั่น 1 26 4 11 11 26 41 23 อันดับ 14 รอบแรก รอบแรก ดักลาส โรดิเควซ 9
2560 ไทยลีก 2 32 8 5 19 47 64 29 อันดับ 17 รอบแรก คัดเลือก
2561 ไทยลีก 3 โซนบน 26 10 7 9 35 36 37 อันดับ 5 รอบแรก รอบคัดเลือกรอบสอง
2562 ไทยลีก 3 โซนบน 24 11 4 9 47 35 37 อันดับ 5 รอบคัดเลือก รอบคัดเลือกรอบสอง Ibrahim Dicko 15
2563–64 ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล 20 13 5 2 40 18 44 อันดับ 3 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือกรอบแรก
2564–65 ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล 26 15 8 3 55 19 53 อันดับ 2 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือกรอบสอง ไคเก ริแบโร 18
ไทยลีก 3
รอบแชมเปี้ยนส์ลีก
โซนตอนล่าง
5 1 0 4 3 14 3 อันดับ 6
2565–66 ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล 26 15 8 3 48 29 53 อันดับ 2 รอบแรก รอบ 32 ทีมสุดท้าย บรรลือ ทองเกลี้ยง 11
ไทยลีก 3
รอบแชมเปี้ยนส์ลีก
โซนตอนล่าง
5 1 1 3 2 7 4 อันดับ 5
2566–67 ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล 26 18 7 1 59 19 61 อันดับ 1 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือกรอบสอง
ไทยลีก 3
รอบแชมเปี้ยนส์ลีก
โซนตอนล่าง
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับสาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

ที่ตั้งและสนามแข่ง[แก้]

สนามเฉลิมพระเกียรติ บางมด
พิกัด ที่ตั้ง สนาม ความจุ ปีที่ใช้
13°46′00″N 100°33′10″E / 13.766570°N 100.552823°E / 13.766570; 100.552823 ดินแดง กรุงเทพมหานคร สนามไทย - ญี่ปุ่น ดินแดง 10,000 2542–2550
13°48′07″N 100°47′27″E / 13.801944°N 100.790833°E / 13.801944; 100.790833 มีนบุรี กรุงเทพมหานคร สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา 10,000 2551–2552
13°38′48″N 100°29′34″E / 13.646667°N 100.492778°E / 13.646667; 100.492778 ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร สนามเฉลิมพระเกียรติ บางมด 8,126 2553–

ผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย นรากร คนแรงดี
3 DF ไทย ธนณัฐ รุ่งรำพรรณ
4 DF ไทย บรรจง ผดุงพัฒโนดม (กัปตันทีม)
5 DF ไทย กิตติธัช ประนิธิ
6 MF ไทย ศิวะ พรหมมาศ
7 FW ไทย บรรลือ ทองเกลี้ยง
8 MF ญี่ปุ่น เซยะ โคจิมะ
9 FW ไทย วรพจน์ สมสร้าง
10 FW ไทย วิชญะ พรประสาท
11 FW ไทย ภูธาร กิ่งพาน
14 DF ไทย ศักดา คุ้มกัน
17 MF ไทย ภัทรพล คำสุข
19 MF ไทย วชิรวุธ ภูดีทิพย์
22 MF ไทย สิโรดม ก้อนสูงเนิน
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
23 FW ไทย เกรียงศักดิ์ ท้าวบุตร
24 MF ไทย รัฐภูมิ ล้นเหลือ
25 FW บราซิล แอจีซง
26 DF ไทย ศุภกรณ์ นุชวิจิตร
27 DF ไทย พงศกล สตาเชค
34 MF ไทย ณภัทร ตั้งธนาพลกุล
35 MF ไทย สิริพงษ์ คงเจ้าป่า
36 DF ไทย สิทธิโชค มูลอ่อน
37 DF ไทย ภูบดี บัวงาม
39 GK ไทย ณัฐพงษ์ ทองพุ่ม
45 GK ไทย ญาณฤทธิ์ สุขเจริญ
56 FW บราซิล ดูดู ลีมา
77 FW ไทย อเล็ก ปฤณ อมตวิวัฒน์
99 GK ไทย ณัฐสันต์ ปักการะโณ

ทีมสตาฟประจำสโมสร[แก้]

ตำแหน่ง ชื่อ
ประธานสโมสร ไทย กฤษฎี ตั้งจิตถนอมสิน
ผู้จัดการทีม ไทย อิศเรศ พึ่งเสือ
หัวหน้าผู้ฝีกสอน ไทย กฤษกร กระสายเงิน
ผู้ช่วยผู้ฝีกสอน ฝรั่งเศส มามาดู โฟฟาน่า

ผู้ฝึกสอน[แก้]

ทำเนียบหัวหน้าผู้ฝึกสอน ตั้งแต่ปี 2553-ปัจจุบัน

ชื่อ สัญชาติ ช่วงเวลา เกียรติยศ
ทองสุข สัมปหังสิต ไทย 2553–2555 ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพและปริมณฑล รองชนะเลิศ ฤดูกาล 2553
เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ไทย 2555 – 2556
รอยเตอร์ โมไรร่า บราซิล 2556  – พ.ย. 2556
ไพโรจน์ บวรวัฒนดิลก ไทย ธ.ค. 2556 – ส.ค. 2557
มีลอช ยอกซิช เซอร์เบีย ส.ค. 2557 – พ.ย. 2558
เอกวีร์ สิริโภคาศัย ไทย พ.ย. 2558 – มิ.ย. 2559
สุธี สุขสมกิจ ไทย มิ.ย. 2559 – พ.ย. 2559
ศุภชาติ มานะกิจ ไทย ก.พ. 2560 – มี.ค. 2560
สระราวุฒิ ตรีพันธ์ ไทย มี.ค. 2560 – ก.พ. 2561
จักรราช โทนหงษา ไทย 2561
ฌอน เซนส์บิวรี่ อังกฤษ 2562
Zarko Djalovic เซอร์เบีย พ.ย. 2562 – ส.ค. 2563
Sebastian Neumann เยอรมนี ก.ย. 2563 – ก.ค. 2565 ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2564–65 อันดับ 2 โซนกรุงเทพและปริมณฑล
กฤษกร กระสายเงิน ไทย ก.ค. 2565 – ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2566–67 ชนะเลิศ โซนกรุงเทพและปริมณฑล

สโมสรพันธมิตร[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ที่คุ้นเคย ! อิศเรศ พึ่งเสือ ผจก.กระทิงเพลิง เผยทีมอาจจะคัมแบคไปเล่นที่บางมด ในฤดูกาลหน้า". ballthai.com. 14 May 2021. สืบค้นเมื่อ 1 October 2021.
  2. https://web.archive.org/web/20060219060720/http://www.bkkfc.com/first_team.php Bravo First Team - Bangkok Bravo FC
  3. http://www.siamsport.co.th/Column/100522_106.html ณัฎฐพล ทีปสุวรรณ & ทองสุข สัมปหังสิต ชายผู้พลิกบางกอก เอฟซีจากดินสู่ดาว - สยามกีฬา
  4. http://toptowin.net/“เมืองทองฯ”-เตรียมเทคโอเวอร์-พร้อมเสริมทัพแกร่ง-“บางกอก-เอฟซี”/เก็บถาวร 2021-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน “เมืองทองฯ” เตรียมเทคโอเวอร์ พร้อมเสริมทัพแกร่ง “บางกอก เอฟซี” - TopToWin
  5. บางกอก เอฟซี เซ็นพันธมิตร เวกัลตะ เซนได 3 ปี พัฒนาโค้ช-นักเตะ-เยาวชน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]