สแตนดาร์ดออยล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Standard Oil Co. Inc.
ประเภทCleveland, Ohio Corporation (1870–1882)
Business Trust (1882–1892)
รัฐนิวเจอร์ซีย์ Holding Company (1899–1911)[1]
อุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส
ก่อตั้ง1870
ผู้ก่อตั้งจอห์น ดี. ร็อกเกอะเฟลเลอร์ Edit this on Wikidata
เลิกกิจการ1911
ถัดไปดูในบทความ
สำนักงานใหญ่คลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ (1870–1885)
นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก (1885–1911)[2]
บุคลากรหลัก
จอห์น ดี. ร็อกเกอะเฟลเลอร์, ผู้ก่อตั้งและประธาน
Stephen V. Harkness, นักลงทุนเริ่มแรก
Henry M. Flagler, ผู้บริหารอาวุโส
John D. Archbold, รองประธาน
William Rockefeller, ผู้บริหารอาวุโสและผู้แทนนิวยอร์ก
Samuel Andrews, นักเคมีและหัวหน้าปฏิบัติการกลั่น
Charles Pratt, ผู้บริหารอาวุโส
Henry H. Rogers, ผู้บริหารอาวุโส
Oliver H. Payne, ผู้บริหารอาวุโส
Daniel O'Day, ผู้บริหารอาวุโส
Jabez A. Bostwick, ผู้บริหารอาวุโสและหัวหน้าเหรัญญิก
William G. Warden,[3] ผู้บริหารอาวุโส
Jacob Vandergrift,[4] ผู้บริหารอาวุโส
ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง, สารหล่อลื่น, ปิโตรเคมี
พนักงาน
60,000 (1909)[5]

บริษัท สแตนดาร์ดออยล์ จำกัด (อังกฤษ: Standard Oil Co. Inc) เป็นอดีตบริษัทในสหรัฐอเมริกาที่ผลิต ขนส่ง กลั่น และทำการตลาดผลิตปิโตรเลียม บริษัทเริ่มก่อตั้งที่รัฐโอไฮโอเมื่อ ค.ศ. 1870 และเคยเป็นผู้กลั่นน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก[6] สถานะการเป็นบรรษัทข้ามชาติที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกของสแตนดาร์ดออยล์จบลงใน ค.ศ. 1911 เมื่อศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาวินิจฉัยชี้ขาดว่าสแตนดาร์ดออยล์ผูกขาดตลาดอย่างผิดกฎหมาย

สแตนดาร์ดออยล์เริ่มเข้าสู่ตลาดจากการรวมธุรกิจโรงกลั่นก่อน จากนั้นจึงบุกเข้าสู่ธุรกิจอื่นที่เชื่อมต่ออยู่ในห่วงโซ่อุปทาน สแตนดาร์ดออยล์เป็นผู้บุกเบิกการตั้งทรัสต์ทางธุรกิจ โดยรวมการผลิตและการขนส่งไว้ด้วยกัน ลดต้นทุน และตัดราคาคู่แข่ง มีผู้วิจารณ์ว่าสแตนดาร์ดออยส์ใช้วิธีตั้งราคาที่ดุเดือดเพื่อทำลายคู่แข่งและสร้างระบบผูกขาดที่เป็นภัยแก่ผู้บริโภค

จอห์น ดี. ร็อกเกอะเฟลเลอร์ เป็นผู้ก่อตั้ง ประธาน และผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท เมื่อมีการยุบแยกทรัสต์ออกเป็น 33 บริษัทย่อย ร็อกเกอะเฟลเลอร์เป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลก

แรกก่อตั้ง[แก้]

จอห์น ดี. ร็อกเกอะเฟลเลอร์ ใน ค.ศ. 1872 หลังจากตั้งสแตนตาร์ดออยล์ได้ไม่นาน

สแตนดาร์ดออยล์เริ่มต้นที่รัฐโอไฮโอในลักษณะหุ้นส่วนระหว่างนักพัฒนาอุตสาหกรรม จอห์น ดี. ร็อกเกอะเฟลเลอร์ กับน้องชาย William Rockefeller, Henry Flagler, นักเคมี Samuel Andrews, หุ้นส่วนไม่ออกเสียง Stephen V. Harkness, และ Oliver Burr Jennings ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติทางการแต่งงานกับตระกูล เมื่อ ค.ศ. 1870 จึงได้จดทะเบียนสแตนดาร์ดออยล์ขึ้นเป็นบริษัทในโอไฮโอ มีหุ้นแรกเริ่ม 10,000 หุ้น มีอัตราส่วนการถือหุ้นของผู้ก่อการดังนี้[7]

  • John D. Rockefeller 2,667 หุ้น
  • Harkness 1,334 หุ้น
  • William Rockefeller, Flagler, and Andrews คนละ 1,333 หุ้น
  • Jennings 1,000 หุ้น
  • บริษัท Rockefeller, Andrews & Flagler 1,000 หุ้น

ด้วยกลยุทธทางการค้าที่มีประสิทธิภาพ (ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในภายหลัง) สแตนดาร์ดออยล์ใช้เวลาไม่ถึงสองเดือนใน ค.ศ. 1872 ในการทำลายการแข่งขันทางการค้าใน คลีฟแลนด์ และขยายการผูกขาดต่อไปทั่วเขตตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา

เอกสารการจดทะเบียนสแตนดาร์ดออยล์ ลงนามโดย John D. Rockefeller, Henry M. Flagler, Samuel Andrews, Stephen V. Harkness และ William Rockefeller

ในช่วงปีแรก ๆ John D. Rockefeller เป็นผู้นำที่สำคัญที่สุดในบริษัทและเป็นวางรากฐานอุตสาหกรรมน้ำมัน[8] เขาได้กระจายอำนาจและมอบหมายงานด้านนโยบายแก่คณะกรรมการหลายชุดอย่างรวดเร็ว แต่ยังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด อำนาจถูกรวมไว้ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทที่คลีฟแลนด์ แต่การตัดสินใจต่างๆ ก็เป็นไปด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย[9]

เพื่อตอบโต้กับกฎหมายระดับรัฐที่พยายามจำกัดขนาดของบริษัท คณะของ Rockefeller จึงสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วของพวกเขาใหม่ เมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1882[10] พวกเขารวมบริษัทย่อยในต่างรัฐนับสิบรัฐเข้าเป็นกลุ่มรวมกันผูกขาด และด้วยสัญญาลับ ผู้ถือหุ้นทั้ง 37 รายได้มอบหุ้นให้แก่ทรัสตีเก้าราย ได้แก่ John Rockefeller, William Rockefeller, Oliver H. Payne, Charles Pratt, Henry Flagler, John D. Archbold, William G. Warden, Jabez Bostwick, และ Benjamin Brewster[11] วิธีการตั้ง "การรวมกันผูกขาด" นี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ถึงขนาดที่ธุรกิจยักษ์ใหญ่อย่างอื่นก็ยึดเอาเป็นแบบอย่าง

โรงกลั่นสแตนดาร์ดออยล์หมายเลข 1 ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ ค.ศ. 1897

สแตนดาร์ดออยล์เติบโตอย่างรวดเร็วด้วยการเพิ่มยอดขายและเข้าซื้อกิจการ หลักจากเข้าซื้อกิจการ Rockefeller จะปิดบริษัทที่เขาเชื่อว่าไม่มีประสิทธิภาพและเก็บส่วนที่ดีเอาไว้ บริษัทเล็กประณามว่าสัญญาระหว่างสแตนดาร์ดออยล์กับผู้ขนส่งไม่เป็นธรรมเพราะว่าบริษัทพวกเขาไม่มีโอกาสผลิตน้ำมันได้มากเพียงพอที่จะรับส่วนลด

ด้วยการกระทำต่าง ๆ ของสแตนดาร์ดออยล์และสัญญาลับด้านการขนส่ง☃☃ ทำให้ราคาน้ำมันก๊าดลดลงจาก 58 เซ็นต์เหลือเพียง 26 เซ็นต์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1865 ถึง 1870 คู่แข่งต่างเกลียดชังพฤติกรรมของสแตนตาร์ดออยล์ แต่ผู้บริโภคชอบราคาที่ถูกกว่า สแตนดาร์ดออยล์ก่อตั้งก่อนการค้นพบแหล่งน้ำมัน Spindletop และก่อนความต้องการใช้น้ำมันเพื่อประโยชน์อย่างอื่นนอกจากความร้อนและแสงสว่าง จึงเป็นเหตุให้บริษัทควบคุมธุรกิจนี้ไว้ได้อย่างดี และในสายตาของผู้อื่นสแตนดาร์ดออยล์ก็ป็นเจ้าของและผู้ควบคุมธุรกิจน้ำมันทุกด้าน

เมื่อ ค.ศ. 1885 บริษัทย้ายสำนักงานใหญ่จากเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ ไปยังสำนักงานใหญ่ถาวรแห่งใหม่ที่ 26 Broadway ในนครนิวยอร์ก และในเวลาเดียวกัน ทรัสตีของสแตนดาร์ดออยล์แห่งโอไฮโอก็มอบอำนาจให้ Standard Oil Co. of New Jersey (SOCNJ) เพื่อถือเอาประโยชน์แห่งกฎหมายควบคุมการถือหุ้นที่ผ่อนปรนกว่าของนิวเจอร์ซีย์

เมื่อ ค.ศ. 1890 รัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาออกกฎหมาย Sherman Antitrust Act ซึ่งเป็นต้นฉบับของกฎหมายต่อต้านการผูกขาดของสหรัฐอเมริกาทุกฉบับในเวลาต่อมา กฎหมายนี้ห้ามสัญญา วิธีการ ข้อตกลง หรือการสมคบคิดที่จะทำให้มีการจำกัดกีดกันทางการค้า ("restraint of trade") ซึ่งคำนี้ยังต้องมีการตีความต่อไป กลุ่มสแตนดาร์ดออยล์เป็นธุรกิจที่ถูกเพ่งเล็งจากภาครัฐทันทีและนำไปสู่คดีที่ฟ้องร้องโดยอัยการโอไฮโอ David K. Watson

อ้างอิง[แก้]

  1. "John D. and Standard Oil". Bowling Green State University. สืบค้นเมื่อ 2008-05-07.
  2. "Rockefellers Timeline". PBS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-31. สืบค้นเมื่อ 2008-05-07.
  3. WARDEN WINTER HOME - Florida Historical Markers on Waymarking.com
  4. "Jacob Vandergrift…Transportation Pioneer | Oil150.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2014-11-07.
  5. The Project Gutenberg eBook of Random Reminiscences, by John D. Rockefeller
  6. "Exxon Mobil - Our history". Exxon Mobil Corp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-12. สืบค้นเมื่อ 2009-02-03.
  7. Dies, Edward (1969). Behind the Wall Street Curtain. Ayer. p. 76.
  8. One of the world's first and biggest multinationals—see Daniel Yergin, The Prize: The Epic Quest for Oil, Money, and Power. New York: Simon & Schuster, 1991, p.35.
  9. Hidy, Ralph W. and Muriel E. Hidy. Pioneering in Big Business, 1882–1911: History of Standard Oil Co. (New Jersey) (1955).
  10. David O. Whitten and Bessie Emrick Whitten, Handbook of American Business History: Manufacturing (Greenwood Publishing Group, 1990) p182
  11. Josephson, Matthew (1962). The Robber Barons. Harcourt Trade. p. 277.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]