สูญหายในการปฏิบัติหน้าที่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สูญหายในการปฏิบัติหน้าที่ (อังกฤษ: missing in action; MIA) คือสถานะที่ถูกตั้งให้บุคลากรทางทหารที่ถูกรายงานว่าสูญหายในระหว่างปฏิบัติการ พวกเขาอาจจะถูกสังหารหรือได้รับบาดเจ็บในการรบ หรืออาจจะถูกจับเป็นเชลยศึก หรืออาจจะหนีทัพก็เป็นได้

ปัญหาและแนวทางแก้ไข[แก้]

เนื่องจากช่วงก่อนหน้า พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) ทหารในหลายๆประเทศไม่ได้มีป้ายระบุตัวตน จึงทำให้เมื่อทหารตายในการรบ ศพของพวกเขาจะไม่ถูกพบจนกระทั่งเวลาผ่านไปเนิ่นนานซึ่งมีโอกาสน้อยมากหรือไม่มีเลยที่จะระบุตัวตนของศพนั้น ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลาย ๆ ชาติเริ่มมีการเสนอเรื่องของการทำป้ายระบุตัวตนของทหาร โดยทั่วไป ป้ายนี้จะทำจากโลหะเบาเช่นอะลูมิเนียม อย่างไรก็ตามกองทัพสหราชอาณาจักรเลือกใช้ไฟเบอร์อัดซึ่งไม่คงทนมากนัก ถึงแม้ว่าการใส่ป้ายระบุตัวตนจะมีประโยชน์มากในการระบุตัวตนของศพ แต่มีข้อจำกัดว่าศพนั้นจะต้องไม่ถูกทำลายหรือฝังอย่างสมบูรณ์โดยวัตถุระเบิดแรงสูงซึ่งใช้กันบ่อย ๆ ในสงครามยุคใหม่ นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมของการรบเองก็อาจจะมีส่วนเพิ่มความยุ่งยากในการระบุตัวตนของทหารที่หายสาบสูญ เช่นสงครามในป่า หรือสงครามเรือดำน้ำ หรือการชนกันกลางอากาศของอากาศยานในบริเวณภูเขาหรือทะเล ปัญหาสุดท้ายก็คือทหารมักไม่มีความอดทนมากพอที่จะเก็บบันทึกประวัติของศพของข้าศึกที่ถูกฝังชั่วคราวรวมถึงตำแหน่งของหลุมชั่วคราวจึงทำให้ข้อมูลมักจะมีการสูญหาย[1]หรือผิดพลาด ดั่งที่ปรากฏในสุสานทหารนิรนามจำนวนมากในฟรอแมลดังนั้นบุคลากรทางทหารบางนายอาจจะหาไม่พบเป็นเวลาหลายปี หรือไม่พบอีกเลย ในกรณีที่ศพของทหารที่สูญหายถูกพบ และผ่านการชันสูตรศพอย่างละเอียดแล้วแต่ยังไม่สามารถระบุตัวตนได้ ป้ายหลุมศพจะระบุว่าไม่ทราบประวัติ

พัฒนาการของการตรวจสอบลายพิมพ์ดีเอ็นเอในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ซึ่งจะมีการเก็บเซลล์ใต้ตาของทหารก่อนที่จะถูกส่งเข้าพื้นที่รบ การระบุตัวตนก็จะสามารถกระทำได้ถึงแม้ว่าร่างกายจะเหลือเพียงชิ้นส่วนเล็ก ๆ ก็ตามที การพิสูจน์ตัวตนโดยอาศัยดีเอ็นเอของญาติก็สามารถกระทำได้ แต่การใช้ข้อมูลดีเอ็นเอจากเจ้าตัวเองย่อมดีกว่า อย่างไรก็ตามการสวมป้ายระบุตัวตนและการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ทำให้จำนวนของผู้สูญหายในการรบลดลงอย่างเห็นได้ชัด สำหรับประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจากการระบุตัวตนของผู้สูญหายนั้น มีประโยชน์มากต่อญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ ทำให้สามารถทราบได้แน่ชัดว่าทหารผู้นั้นยังมีชีวิตอยู่หรือว่าตายไปแล้วกันแน่ มิเช่นนั้นญาติของผู้สูญหายอาจจะยังคาดหวังว่าผู้สูญหายผู้นั้นยังมีชีวิตอยู่ที่ไหนสักแห่งและจะกลับมาในวันหนึ่งวันใด [2][3][4][5][6][7]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]