หุมายูง กา มักบะรา

พิกัด: 28°35′36″N 77°15′02″E / 28.593264°N 77.250602°E / 28.593264; 77.250602
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สุสานหุมายุน)
หลุมฝังพระบรมศพของจักรพรรดิหุมายูง เดลี *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
หลุมฝังพระบรมศพของจักรพรรดิหุมายูงที่เดลี
หลุมฝังพระบรมศพของจักรพรรดิหุมายูงที่เดลี
อาคารหลักภายในบริเวณสุสาน แผนที่
ประเทศเดลี
ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(ii)(iv)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน1993 (คณะกรรมการสมัยที่ 17)
หุมายูง กา มักบะราตั้งอยู่ในกรุงเดลี
หุมายูง กา มักบะรา
ที่ตั้งของหุมายูง กา มักบะรา ในประเทศ india delhi
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

หลุมฝังพระบรมศพของจักรพรรดิหุมายูง (อังกฤษ: Humayun's Tomb) หรือ หุมายูง กา มักบะรา อูรดู: ہمایوں کا مقبرہ, Humayun ka Maqbara) เป็นสุสานหลวงที่บรรจุพระบรมศพของจักรพรรดิหุมายูง แห่งจักรวรรดิโมกุล โดยผู้กำกับดูแลการก่อสร้างได้แก่พระมเหสีพระองค์แรกของพระองค์ ซึ่งมีพระนามว่า "พระนางเบกา เบกุม"[1][2][3][4][5][6][7] สร้างในระหว่างปีค.ศ. 1569 - ค.ศ. 1570 ออกแบบโดยมิรัก มีร์ซา กียัท (Mirak Mirza Ghiyath) สถาปนิกชาวเปอร์เซีย ซึ่งจัดว่าเป็นสุสานและสวนแห่งแรกบนอนุทวีปอินเดีย[8] ตั้งอยู่ที่นิซามุดดิน อีสต์ เดลี ประเทศอินเดีย ใกล้กับป้อมปราการ "ดินา-ปานาห์" (Dina-panah) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "ปุรานากิลา" (Purana Qila) ซึ่งพระองค์ทรงให้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1533 สถานที่แห่งนี้เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่แห่งแรกที่ใช้หินทรายสีแดงเป็นวัตถุดิบหลักในการก่อสร้าง[9][10] สถานที่แห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยองค์การยูเนสโก เมื่อปีค.ศ. 1993[8] และตั้งแต่นั้นมาจึงได้เริ่มการบูรณะอย่างจริงจังซึ่งยังคงดำเนินถึงปัจจุบัน นอกเหนือจากอาคารที่เป็นสุสานหลักแล้ว ยังมีอนุสรณ์สถานต่างๆหลายแห่งซึ่งตั้งอยู่ระหว่างทาง ตั้งแต่ประตูทางเข้าหลักทางทิศตะวันตก ยังมีอีกสถานที่หนึ่งซึ่งมีความเก่าแก่กว่าประมาณยี่สิบปี ได้แก่ สุสานของอิซา คาน นิยาซี (Isa Khan Niyazi) ซึ่งเป็นขุนนางชาวอัฟกันในราชสำนักของพระเจ้าเชอร์ชาห์สุรีแห่งราชวงศ์สุรี ซึ่งสร้างในปีค.ศ. 1547

อ้างอิง[แก้]

  1. Annemarie Schimmel; Burzine K. Waghmar (2004). The Empire of the Great Mughals: History, Art and Culture. Reaktion Books. pp. 149.
  2. Burke, S. M. (1989). Akbar, the Greatest Mogul. Munshiram Manoharlal Publishers. p. 191.
  3. Eraly, Abraham (2007). The Mughal world : Life in India's Last Golden Age. Penguin Books. p. 369. ISBN 978-0143102625.
  4. Smith, Vincent Arthur (1919). Akbar: The Great Mogul 1542–1605. Clarendon Press. p. 125.
  5. Henderson, Carol E. (2002). Culture and Customs of India. Greenwood Press. p. 90. ISBN 978-0313305139.
  6. Centre, UNESCO World Heritage. "Humayun's Tomb, Delhi". UNESCO World Heritage Centre (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-01.
  7. "Mausoleum that Humayun never built". The Hindu. April 28, 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2007. สืบค้นเมื่อ 31 January 2013.
  8. 8.0 8.1 Humayun's Tomb, Delhi World Heritage Committee, UNESCO.
  9. Humayun's Tomb Govt. of India Portal.
  10. Plaque at Humayun's Tomb Site

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

รูปภาพ

28°35′36″N 77°15′02″E / 28.593264°N 77.250602°E / 28.593264; 77.250602