สุสานหิ่งห้อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุสานหิ่งห้อย
ไฟล์:Grave of the Fireflies.jpg
กำกับอิซาโอะ ทากาฮาตะ
บทภาพยนตร์อิซาโอะ ทากาฮาตะ
สร้างจาก"โฮตารุ โนะ ฮาตะ"
โดย อากิยูกิ โนซากะ
อำนวยการสร้างโทรุ ฮาระ
นักแสดงนำ
กำกับภาพโนบูโอะ โคยามะ
ตัดต่อทาเกชิ เซยามะ
ดนตรีประกอบมิจิโอะ มามิยะ
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายโทโฮ
วันฉาย16 เมษายน ค.ศ. 1988 (1988-04-16)
ความยาว89 นาที[1]
ประเทศญี่ปุ่น
ภาษาญี่ปุ่น
ทำเงิน
  • 1.7 พันล้านเยน (ญี่ปุ่น)[2]
  • 516,962 ดอลลาร์สหรัฐ (สหรัฐ)[3]

สุสานหิ่งห้อย (ญี่ปุ่น: 火垂るの墓โรมาจิHotaru no Haka; อังกฤษ: Grave of the Fireflies) ภาพยนตร์แอนิเมชันแนวโศกนาฏกรรมสงครามของญี่ปุ่น[4][5]ที่อิงจากเรื่องสั้นใน ค.ศ. 1967 โดยอากิยูกิ โนซากะ ภาพยนตร์นี้เขียนบทและกำกับโดยอิซาโอะ ทากาฮาตะ และวาดภาพโดยสตูดิโอจิบลิให้แก่สำนักพิมพ์ชินโชชะ[6]

ภาพยนตร์เรื่องนี้ให้เสียงโดยสึโตมุ ทัตซึมิ, อายาโนะ ชิราอิชิ, โยชิโกะ ชิโนฮาระ, และ อาเกมิ ยามางูจิ ดำเนินเรื่องในเมืองโคเบะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเรืองราวของสองพี่น้อง เซตะ และ เซ็ตสึโกะ ที่ต้องพยายามเอาชีวิตรอดในช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะสิ้นสุดลง

สุสานหิ่งห้อยได้รับคำชื่นชมจากนักวิจารณ์ และได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในภาพยนตร์สงครามที่ดีที่สุดตลอดกาล และยังถูกจัดให้เป็นผลงานแอนิเมชันชิ้นสำคัญจากประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย[7][8]

เนื้อเรื่อง[แก้]

เป็นเรื่องราวความรักความสัมพันธ์ของสองพี่น้องที่อาศัยอยู่ในเมืองโกเบประเทศญี่ปุ่นเหตุการณ์เกิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เซตะ โยโกกาวา ลูกชายคนแรกของนายพลทหารเรือ อายุ 14 ปี กำลังขนเสบียงลงหลุมเพื่อมีอาหารเวลาสงครามสงบ และในเวลานั้นเครื่องบินกำลังบินผ่านมายังเมืองเพื่อปล่อยระเบิดครั้งรุนแรงกว่าที่ผ่านมา เซตะจึงให้แม่ของตนออกเดินทางไปยังหลุมหลบภัยก่อน เนื่องจากแม่เป็นโรคหัวใจ โดยเซตะ และ น้องสาว เซซึโกะ อายุ 4 ขวบ จะตามไปทีหลัง ซึ่งระหว่างทางไปหลุมหลบภัย ระเบิดจากเครื่องบินของทหารอเมริกาถูกทิ้งลงมา ทำให้เซตะและเซซึโกะ พลัดหลงกับแม่ของพวกเขา ทำให้เซตะพาน้องสาวไปหลบภัยอยู่หลังเนินถนนสูงเป็นกำแพงหินริมทะเล ซึ่งภายหลังพวกเขาพบว่าบ้านของพวกเขาถูกไฟไหม้หมดทั้งหลัง และรอบๆบริเวณนั้นถูกทำลายทั้งหมด

สองพี่น้องพยายามตามหาแม่ มีคนมากบอกเซตะว่าแม่ของเขาบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตลงเนื่องจากถูกไฟลวก และเมื่อเวลาผ่านไปเซซึโกะถามหาแม่ของเขาแต่เซตะบ่ายเบียงไม่ยอมบอกและปกปิดน้องสาวของเขาไม่ให้รู้ว่าแม่ได้เสียชีวิตแล้ว และทั้งสองก็ได้ไปอยู่กับป้า ฮิซาโกะ ของพวกเขา ซึ่งป้าของเซตะถามถึงอาการปาดเจ็บของแม่ เซตะจึงต้องบอกความจริงไปว่าแม่ได้เสียชีวิตไปแล้ว และต่อมาพวกเขาก็ทนนิสัยป้าของเขาไม่ไหวจึงออกจากบ้านป้ามาทั้งสองคน ทั้งสองพี่น้องจึงไปอยู่ในเหมืองเก่าๆ ซึ่งในสมัยก่อนใช้เป็นที่หลบภัย ภายในเหมืองมีแสงสว่างน้อยมากทำให้เซซึโกะกลัวความมืด เมื่อเป็นเช่นนั้น เซตะพี่ชายจึงไปหาหิ่งห้อยมาปล่อยไว้มากมายทำให้มีแสงสว่างมากพอทำให้เซซึโกะไม่กลัว

และเมื่อเวลาผ่านไปนาน อาหารก็เริ่มหมด และไม่มีอาหารให้แลกแล้ว และเซซึโกะก็เริ่มมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น ซึ่งเซซึโกะป่วยเป็นโรคขาดสารอาหาร และเมื่ออาหารหมด ทำให้เซตะต้องขโมยของตามบ้านเมื่อมีการทิ้งระเบิดของทหารอเมริกา ผู้คนมากมายกำลังหลบหนีระเบิดอยู่แต่เซตะกลับวิ่งฝ่าระเบิดเข้าไปตามบ้านคนที่ว่างเปล่าเพื่อเข้าไปหาของกินมาให้เซซึโกะ และนานวันเข้าอาการป่วยของเซซึโกะเริ่มมากขึ้น เซตะจึงพาน้องไปหาหมอแต่หมอก็ไม่มียารักษาให้ มีวันหนึ่งเซตะเข้าไปในตัวเมืองเพื่อไปถอนเงินก้อนสุดท้ายเพื่อเอาออกมาใช้ และเขาก็ได้ข่าวว่าญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามแล้ว เรือทุกลำจมลงทะเลหมด จมไปพร้อมกับความหวังที่จะเห็นพ่อซึ่งเป็นทหารเรือกลับมาหาตนและน้อง

เมื่อเซตะกลับมาที่เหมือง เขาเห็นน้องสาวนอนอมลูกหินอยู่ซึ่งเซซึโกะคิดว่าป็นลูกอม เซตะจึงห้ามไม่ให้น้องสาวกินลูกหินอีก และเขาจึงไปเอาแตงโมมาป้อนให้เซซึโกะกินและปล่อยให้เซซึโกะนอนพัก เมื่อเห็นน้องสาวนอนพัก เซตะจึงไปทำอาหาร และตั้งแต่นั้นมา เซซึโกะก็ไม่ตื่นขึ้นมาอีกตลอดกาล ในคืนที่ฝนตกหนักและหนาวเย็นเซตะนอนกอดร่างไร้วิญญาณของน้องสาวเขาทั้งคืน และพอเช้าเซตะ ก็เผาร่างของเซซึโกะและนำเศษกระดูกมาใส่ในกล่องลูกอมและเซตะก็นำกล่องนั้นติดตัวไปตลอดจนกระทั่งเขาเสียชีวิตลงที่สถานีรถไฟในวันที่ 21 กันยายน ปี 1945

รูปแบบการเล่าเรื่อง[แก้]

ในตอนเริ่มเรื่องและตอนจบของเรื่อง จะสื่อถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองซึ่งแม้จะเสียชีวิตไปทั้งสองคน แต่ทั้งคู่ก็เป็นวิญญาณและอยู่ด้วยกันตลอดไป หลังจากนั้น 1 เดือนหลังจากจบสงคราม จึงมีการกฎหมายบังคับใช้คุ้มครองเด็กที่ประสบในภาวะสงครามขึ้น ในเรื่องสุสานหิ่งห้อยนั้น จะเปรียบหิ่งห้อยที่มีชีวิตอยู่ได้ไม่กี่วัน เหมือนกับชีวิตเด็กๆที่อดอยากไม่มีกิน เนื่องจากผลจากการกระทำของสิ่งใดก็ตาม และยังเปรียบแสงของหิ่งห้อยเหมือนความหวังอันริบหรี่ของเด็กๆที่สุดท้ายความหวังอันนั้นก็ดับไปพร้อมกับแสงสว่างของหิ่งห้อยยามเมื่อมันตายลง

คำตอบรับ[แก้]

ภาพยนตร์นี้ประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อยบ็อกซ์ออฟฟิศญี่ปุ่น[9]โดยมีรายได้เพียง 1.7 พันล้านเยน[2] ต่อมามีการฉายภาพยนตร์จำกัดรอบที่งาน Studio Ghibli Fest 2018 ในสหรัฐ โดยมีรายได้เพียง 516,962 ดอลลาร์สหรัฐ[3]

ปฏิกิริยาสาธารณะ[แก้]

หลังออกฉายต่างประเทศ มีการตั้งข้อสังเกตว่าผู้ชมตีความภาพยนตร์เรื่องนี้แตกต่างกันเนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม ดังเช่น เมื่อผู้ชมชาวญี่ปุ่นดูภาพยนตร์ การที่เซตะตัดสินใจไม่กลับไปหาป้าเป็นการตัดสินใจที่เข้าใจได้ เนื่องจากเข้าใจว่าเซตะถูกเลี้ยงดูมาเพื่อให้เห็นคุณค่าของความภาคภูมิใจในตัวเองและประเทศ แต่ผู้ชมชาวอเมริกันและออสเตรเลียมีแนวโน้มที่จะมองว่าเป็นการตัดสินใจที่ไม่ฉลาด เนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม เพื่อพยายามช่วยชีวิตน้องสาวและตัวเขาเอง[10][11]

อ้างอิง[แก้]

  1. "GRAVE OF THE FIREFLIES (12A)". British Board of Film Classification. 17 May 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2015. สืบค้นเมื่อ 17 May 2013.
  2. 2.0 2.1 超意外な結果!?ジブリ映画の興行収入ランキング. シネマズ PLUS (Cinemas PLUS) (ภาษาญี่ปุ่น). 25 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2019. สืบค้นเมื่อ 15 February 2019.
  3. 3.0 3.1 "Grave of the Fireflies – Studio Ghibli Fest 2018 (2018)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 17 February 2019.
  4. Camp, Brian; Davis, Julie (August 2007). Anime Classics Zettai!. ISBN 9781611725193.
  5. Steiff, Josef; Tamplin, Tristan (10 April 2010). Anime and Philosophy. ISBN 9780812697131.
  6. "Hotaru no haka". The Big Cartoon DataBase. สืบค้นเมื่อ 13 May 2012.
  7. Ebert, Roger. "Grave of the Fireflies movie review (1988) | Roger Ebert". rogerebert.com/ (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 24 November 2020.
  8. "The 50 best World War II movies". Time Out London (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 24 November 2020.
  9. Runyon, Christopher (20 November 2013). "The Studio Ghibli Retrospective: 'Grave of the Fireflies'". Movie Mezzanine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2014. สืบค้นเมื่อ 22 November 2014.
  10. Osmond, Andrew (2010). "Grave of the Fireflies". 100 Animated Feature Films: BFI Screen Guides. British Film Institute. pp. 82–83. doi:10.5040/9781838710514.0035. ISBN 9781838710514.
  11. Campbell, Kambole (19 April 2018). "The Human Cost of War in Grave of the Fireflies". One Room With A View (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]