สุพรรณ บูรณะพิมพ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สุพรรณ บูรณพิมพ์)
สุพรรณ บูรณะพิมพ์
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 [1]
สุพรรณ บูรณะพิมพ์
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต16 ตุลาคม พ.ศ. 2528 (58 ปี)
คู่สมรสประสิทธิ์ ยุวะพุกกะ
บุตรพิมพ์พรรณ บูรณะพิมพ์
กิติกัญญา บูรณะพิมพ์
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแสดง
  • ผู้กำกับ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2484–2528 (44 ปี)
ผลงานเด่นแม่พลอย (คนแรกทางทีวี) - สี่แผ่นดิน (2504)
คุณสาลี่ - นางทาส (2498/2505)
จวงจันทร์ - น้ำผึ้งขม (2511/2520/2523)
เนื้อเย็น - คมพยาบาท (2514)
รางวัล
พระสุรัสวดีผู้แสดงประกอบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2505 - สุรีรัตน์ล่องหน
พ.ศ. 2506 - นางทาส
โทรทัศน์ทองคำผู้กำกับการแสดงดีเด่น
พ.ศ. 2529 - สายโลหิต[2]
เมขลาผู้กำกับการแสดงดีเด่น
พ.ศ. 2523 - บาปบริสุทธิ์
พ.ศ. 2529 - สายโลหิต

สุพรรณ บูรณะพิมพ์ ชื่อเล่น ต้อย (17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2528) เป็นนักแสดงและผู้กำกับอาวุโสชาวไทย มีผลงานทั้งแสดงและกำกับละครเวที ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ เคยได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ผู้แสดงประกอบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม 2 ปีติดต่อกัน ในปี พ.ศ. 2505 และ พ.ศ. 2506 และได้รับการยกย่อง รางวัลเกียรติคุณทางการแสดง ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2549 จัดโดยหอภาพยนตร์แห่งชาติ [3] เป็นเจ้าของฉายา ราชินีแห่งศิลปิน และ ราชินีแห่งการละคร

ประวัติ[แก้]

สุพรรณ บูรณะพิมพ์ ชื่อเล่น ต้อย เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 เกิดที่ย่านบางลำพู จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายบุญส่ง และนางพร้อม บูรณะพิมพ์ มีพี่น้อง 9 คน ได้แก่

  1. แช่ม บูรณะพิมพ์
  2. ไพบูลย์ บูรณะพิมพ์
  3. บุญพร้อม บูรณะพิมพ์
  4. ไพพรรณ บูรณะพิมพ์
  5. บุญรอด บูรณะพิมพ์
  6. ลำเภาพรรณ บูรณะพิมพ์
  7. วสันต์ บูรณะพิมพ์
  8. ยุทธเลิศ บูรณะพิมพ์

เริ่มเรียนที่โรงเรียนครูม่วง เมื่ออายุ 3 ขวบ ซึ่งมีศักดิ์เป็นทวด ต่อมาเข้าศึกษาที่โรงเรียนนิยมศึกษา ซึ่งมารดาเป็นครูใหญ่อยู่ที่นั่น หลังจบชั้นเตรียมประถม ก็ได้ศึกษาที่โรงเรียนวัดสังเวชวิทยาราม จนจบป.4 และศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเขียนนิวาศน์ จนจบม.4 จึงต้องหยุดเรียน เนื่องจากบิดาป่วยต้องออกจากราชการประจวบกับน้ำท่วมโรงเรียนมีผลให้ต้องปิดโรงเรียน

นักร้อง[แก้]

เข้าสู่วงการในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยการชักชวนของพี่สาว ชื่อ ไพพรรณ บูรณะพิมพ์ โดยสมัครเป็นนักร้องในวงดนตรีของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ควบคุมวงโดยครูนารถ ถาวรบุตร

ละครเวที[แก้]

เริ่มเป็นนางเอกจากการแนะนำของคุณประสิทธิ์ ยุวะพุกกะ เมื่อพ.ศ. 2487 เรื่อง พันท้ายนรสิงห์ คู่กับ สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์ ต่อมาย้ายไปเป็นนางเอกคณะศิวารมย์โดยได้รับการฝึกฝนจากครูเนรมิตและครูมารุต เริ่มมีชื่อเสียงจากเรื่อง ราชินีบอด บทประพันธ์ของสุวัฒน์ วรดิลก พ.ศ. 2493 บทเด่นเรื่องอื่นๆ เช่น คลีโอพัตรา ,ซูสีไทเฮา ฯลฯ

ในช่วงทศวรรษ 2490 แสดงนำและขับร้องคู่กับ ฉลอง สิมะเสถียร พระเอกละครที่มีชื่อเสียงหลายเรื่อง เช่น ผาคำรณ (เพลงอุทยานกุหลาบ), นเรนทร์ริษยา (เพลงวิมานรัก) [4] นับว่าเป็นนักแสดงละครเวทีที่ได้รับความนิยมมากในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2 โดยส่วนใหญ่มักจะแสดงคู่กับ ส.อาสนจินดา และ ฉลอง สิมะเสถียร โดยมักจะได้รับบทนำแล้วตีบทแตกเสมอ

ภาพยนตร์[แก้]

แสดงเรื่องแรกคู่กับ ชูชัย พระขรรค์ชัย ใน พันท้ายนรสิงห์ ของอัศวินภาพยนตร์ อำนวยการสร้างโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล กำกับการแสดงโดย มารุต ฉายครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2493 [5]

บทบาทเด่นในเรื่องอื่นๆ เช่น นางทาษ รับบท สาลี่ พ.ศ. 2496 และ 2505 ,ไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ พ.ศ. 2516 , ความรัก รับบท แม่วิศนี พ.ศ. 2517, พ่อไก่แจ้ (2519), เมืองในหมอก (2521), คุณนายทองคำ ใน แผลเก่า (2520), แม่บานชื่น ใน ดาวเรือง (2522), เลือดสุพรรณ (2522), คุณนายเนื้ออ่อน ใน พ่อปลาไหล (2524) และ เทพเจ้าบ้านบางปูน (2523) ฯลฯ

ละครโทรทัศน์[แก้]

รับบท แม่พลอย คนแรกทางโทรทัศน์ ใน สี่แผ่นดิน พ.ศ. 2504 ,บท วรรณนรี ใน น้ำเซาะทราย พ.ศ. 2506 ,บท เนื้อเย็น /นางสันดานเย็น ใน คมพยาบาท[6][7]พ.ศ. 2512 ,บท หม่อมชุลี ใน ริษยา และ บท จวงจันทร์ ใน น้ำผึ้งขม พ.ศ. 2511 ฯลฯ

บทบาทเด่นๆ ต่อมา เช่น คุณนายลั่นทม ใน สุสานคนเป็น ช่อง 7 ขาวดำ (ช่อง 5), แม่นางเอกใน ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอดประชันบทกับ มยุรา ธนบุตร ช่อง 7 พ.ศ. 2526, หม่อมชุลี อีกครั้งใน ริษยา ทางช่อง 5 พ.ศ. 2525 และ แม่บานชื่น ใน ดาวเรือง[8] พ.ศ. 2522 โดยตัวละครที่กลับมาแสดงซ้ำมากที่สุดคือ จวงจันทร์ ใน น้ำผึ้งขม เวอร์ชันละคร ช่อง 4 (2511), ช่อง 9 (2520-23) และช่อง 5 (2524)

ผู้จัดละคร[แก้]

เริ่มเป็นผู้จัดครั้งแรกโดยซื้อลิขสิทธิ์ หนึ่งในร้อย ของดอกไม้สด มาแสดงเป็นละครเวที ครูเนรมิตเป็นผู้กำกับการแสดง และมีเพลงเอก คือหนึ่งในร้อย สมจิต ตัดจินดา ขับร้อง[5] ต่อมาจึงได้กำกับละครเองหลายเรื่องซึ่งแต่ละเรื่องก็ได้รับความนิยมมาก และยังเป็นผู้ชักชวนดารานักแสดงนักร้องหลายท่านให้เข้าสู่วงการ จึงได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งศิลปิน และ ราชินีการละคร

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

สมรสกับ ประสิทธิ์ ยุวะพุกกะ มีบุตรสาวสองคน คือ พิมพ์พรรณ บูรณะพิมพ์ และ กิติกัญญา บูรณะพิมพ์

เสียชีวิต[แก้]

เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2528 อายุ 59 ปี ขณะทำหน้าที่กำกับละครโทรทัศน์เรื่อง สายโลหิต บทประพันธ์ของโสภาค สุวรรณ ทางช่อง 3 และกำลังเตรียมงานละคร วิวาห์พระสมุทร บทพระราชนิพนธ์ละครร้อง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ แผลเก่า บทประพันธ์ของ ไม้ เมืองเดิม

ตัวอย่างผลงาน[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

  • พันท้ายนรสิงห์ (2493)
  • ชายใจเพชร (2493)
  • ลุ่มน้ำเจ้าพระยา (2494)
  • ห้าชีวิต (2495)
  • ฆ่าชู้แม่ (2495)
  • สุภาพบุรุษทมิฬ (2495)
  • เสียงสาป (2496)
  • เทพบุตรจากโลกันตร์ (2496)
  • หนูจ๋า (2497)
  • มาตุภูมิ (2497)
  • คำสาบาน (2497)
  • สามเสือสมุทร (2497)
  • นางทาส (2498)
  • ห้วงรักเหวลึก (2498)
  • ชะอำอำพราง (2498)
  • ไพรกว้าง (2500)
  • โชคมนุษย์ (2500)
  • ก่อนอรุณจะรุ่ง (2500)
  • สุดชีวิต (2503)
  • ม่านไข่มุก (2504)
  • สุรีรัตน์ล่องหน (2504)
  • ดาวประกาย (2504)
  • นางทาส (2505)
  • ตะวันยอแสง (2505)
  • ทับเทวา (2507)
  • เสือไม่ทิ้งลาย (2507)
  • ขวัญชีวิต (2508)
  • เงิน เงิน เงิน (2508)
  • โนห์รา (2509)
  • ลูกกรอก (2510)
  • แหลมหัก (2510)
  • เนื้อคู่ (2511)
  • วังสีทอง (2511)
  • หนึ่งนุช (2514)
  • ชาละวัน (2515)
  • เพชรตาแมว (2515)
  • ไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ (2516)
  • รัญจวนจิต (2516)
  • ความรัก (2517)
  • วังน้ำค้าง (2517)
  • เจ้าดวงดอกไม้ (2517)
  • ดาวสวรรค์ฉันรักเธอ (2518)
  • เหยื่ออารมณ์ (2518)
  • ฝ้ายแกมแพร (2518)
  • เทพบุตร (2518)
  • ทางโค้ง (2518)
  • เพื่อเธอที่รัก (2518)
  • สวรรค์ไม่มีวันรู้ (2519)
  • ท้องนาสะเทือน (2519)
  • พ่อไก่แจ้ (2519)
  • เกม (2519)
  • แผลเก่า (2520)
  • หนักแผ่นดิน (2520)
  • เมืองในหมอก (2521)
  • พ่อครัวหัวป่าก์ (2521)
  • ผีเพื่อนรัก (2521)
  • สายทิพย์ (2522)
  • ดาวเรือง (2522)
  • รอยไถ (2522)
  • เลือดสุพรรณ (2522)
  • ฉุยฉาย (2523)
  • เทพเจ้าบางปูน (2523)
  • กำแพงหัวใจ (2524)
  • พ่อปลาไหล (2524)
  • พันท้ายนรสิงห์ (2525)

ละครโทรทัศน์[แก้]

ฯลฯ

ละครเวที[แก้]

  • 2489: พันท้ายนรสิงห์
  • 2490: อะบูกาเซ็ม
  • 2491: เปลวสุริยา
  • 2491: จอมมาร
  • 2492: ราชินีบอด
  • 2492: ทะเลทม
  • 2492: ธิดาอสูร
  • 2492: จอมภพมฤตยู
  • 2493: กุหลาบดำ
  • 2493: สายโลหิต
  • 2493: สุดฟากฟ้า
  • 2493: อมรพิมาน
  • 2493: ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธนฯ
  • 2493: คาเมน
  • 2494: เสียงสาปจากโลกันตร์
  • 2494: เมืองในหมอก
  • 2494: ม้วนแผ่นดิน
  • 2495: สาวสวรรค์
  • 2495: วนิดา
  • 2495: หยกฟ้า
  • 2495: มาดามบัตเตอร์ฟลาย
  • 2495: ชั่วฟ้าดินสลาย
  • 2495: ผู้ชนะสิบทิศ
  • 24**: แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม
  • 24**: ผาคำรณ
  • 2497: แผ่นดินของเรา
  • 2497: เป็นไทต้องสู้
  • 2500: จุ๊ฟุ
  • 2502: บัวบานแผ่นดินทอง
  • 2508: ราโชมอน

ฯลฯ

กำกับการแสดง[แก้]

ภาพยนตร์

  • 2498: ชะอำอำพราง
  • 2510: ลูกกรอก

ละครโทรทัศน์

  • 2514: พระอภัยมณี ช่อง 7
  • 2517: สี่แผ่นดิน ช่อง 5
  • 2523: มัจจุราชสีน้ำผึ้ง ช่อง 5
  • 2523: เรือมนุษย์ ช่อง 5
  • 2525: สุสานคนเป็น ช่อง 7
  • 2526: ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด ช่อง 7
  • 2526: เลื่อมสลับลาย ช่อง 7
  • 2527: สาวสองหน้า ช่อง 7
  • 2527: คอนโดมิเนียม ช่อง 7
  • 2528: พิมพิลาไล ช่อง 5
  • 2528: ล่าวิญญาณ ช่อง 7
  • 2528: ลูกแม่ ช่อง 7
  • 2529: สายโลหิต ช่อง 3

ผลงานเพลง[แก้]

  • แก้มดอกท้อ
  • ขวัญเรือน
  • คุณหนู
  • ทานตะวันเพ้อ
  • เทพบุตรในนิมิตร
  • เที่ยรถม้า
  • นกน้อยในเปลวทอง
  • พรวันเกิด
  • ฟ้าเปลี่ยว
  • ใยสวาท
  • วิญญาณรัก
  • สุขใจ

ฯลฯ

รางวัล[แก้]

  • รางวัลตุ๊กตาทอง ผู้ประกอบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม จากเรื่อง สุรีรัตน์ล่องหน พ.ศ. 2505
  • รางวัลตุ๊กตาทอง ผู้ประกอบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม จากเรื่อง นางทาส พ.ศ. 2506
  • รางวัลดาราทอง ของส.บ.ท. ประเภทละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2509
  • รางวัลนักแสดงดีเด่น จากหนังสือพิมพ์สยามมิตร พ.ศ. 2518
  • เหรียญกาชาด ชั้น 3 พ.ศ. 2519
  • เหรียญกาชาด ชั้น 2 พ.ศ. 2523
  • รางวัลเมขลา ผู้กำกับละครดีเด่น จากเรื่อง บาปบริสุทธิ์ พ.ศ. 2523
  • รางวัลตุ๊กตาทองมหาชน ของหนังสือพิมพ์บ้านเมือง ผู้กำกับละครดีเด่น จากละครบาปบริสุทธิ์ พ.ศ. 2525
  • รางวัลดาวเทียมทองคำ จากละครผู้หญิงคนหนึ่ง พ.ศ. 2525
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ผู้กำกับละครดีเด่น จาก ละครเรื่องสายโลหิต พ.ศ. 2529
  • รางวัลเมขลา ผู้กำกับละครดีเด่น จากละครเรื่องสายโลหิต พ.ศ. 2529

อ้างอิง[แก้]

  1. "กระทู้จาก Thai Film Foundation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13.
  2. สายโลหิต จากนวนิยายสู่ละครโทรทัศน์
  3. "รางวัลเกียรติคุณทางการแสดง ครั้งที่ 4/2549 หอภาพยนตร์แห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13.
  4. ซีดีผลงานเพลงของ สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ศิลปินแห่งชาติ ,2551
  5. 5.0 5.1 แถลง พยัคฆวรรณ, "สุพรรณ บูรณะพิมพ์ ค่าตัวแสดงครั้งแรกของเธอเพียง 4 บาท", โลกดารา, ปักษ์หลัง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2513
  6. อารีย์ นักดนตรี ,โลกมายาของอารีย์ ,กายมารุต 2546 ISBN 974-91018-4-7 หน้า 397-405
  7. คมพยาบาท เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มูลนิธิหนังไทย
  8. คุยกันเรื่องของครูสุพรรณ บูรณพิมพ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน thaifilm.com