สุกัญญา มิเกล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สุกัญญา เขียนเอี่ยม)
สุกัญญา มิเกล
ชื่อเกิดสุกัญญา เขียนเอี่ยม
เกิด1 กันยายน พ.ศ. 2515 (51 ปี)
ที่เกิดอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
แนวเพลงป็อปร็อก, ร็อก, ออลเทอร์นาทิฟร็อก
อาชีพนักร้อง, นักแสดง, นางแบบ, นักเขียน
ช่วงปีพ.ศ. 2531-ปัจจุบัน
ค่ายเพลงวี.ไอ.พี.
วอร์เนอร์มิวสิก
ร็อกแอนด์โรลเฮ้าส์

สุกัญญา มิเกล หรือชื่อจริงว่า สุกัญญา แคลเลย์ เขียนเอี่ยม (1 กันยายน พ.ศ. 2515) เป็นนักร้อง นักแสดง และอดีตนางแบบชาวไทย เคยมีผลงานถ่ายนิตยสาร และมีผลงานเพลง เช่น "ดีดีกันไว้""รักเธอจริงๆ" "ไปกับสายลม" "เพียงเธอ" "ตัดพ้อ" ฯลฯ

ประวัติ[แก้]

สุกัญญาเกิดที่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ต่อมาย้ายไปอยู่กับคุณตาและคุณยายที่ จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนรังสรรค์วิทยา โรงเรียนพิพัฒศึกษา และโรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์ ต่อมาเมื่ออายุได้ 14 ปี เดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร และเข้าสู่วงการนางแบบอาชีพเมื่ออายุ 16 ปี เป็นนางแบบชุดว่ายน้ำใน สังกัดของ แอน อังคณาทิมดี และได้เป็นนางแบบถ่ายให้กับนิตยสารหลายฉบับ อาทิเช่น อิมเมจ เธอกับฉัน แฮมเบอร์เกอร์ เป็นต้น ผลงานในฐานะนางแบบสูงสุด คือ การเป็นนางแบบปฏิทินให้กับสุรา "แม่โขง" ในปี พ.ศ. 2535 และมีอัลบั้มแมกกาซีนที่ผู้คนจดจำอย่างนิตยสาร "Heat"

ผลงานด้านการแสดงภาพยนตร์ที่เธอได้ทำหลังจากเป็นนางแบบได้ไม่นาน หนังจอเงินในยุคสมัยยังไม่มีเสียงในฟิล์ม "หยุดตัญหาซาดิตส์" กำกับโดย เพิ่มพล เชยอรุณ เพ็ญพักต์ (ซึ่งเรื่องนี้ทำให้คนเขาใจว่าเธอเป็นนางเอกหนังเอ็กซ์) "กระสือซิง" "ท่านผีเพี้ยน" บทตัวร้ายในภาพยนตร์เรื่อง "เสือตุ๋ย" ของค่าย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น เมื่อปี พ.ศ. 2539 และได้รับเชิญให้แสดงภาพยนตร์เรื่อง "เด็กเดน" ของค่าย พระนครฟิล์ม เมื่อปี พ.ศ. 2548 และบทแม่ดา อินทร ในหนังเรื่อง4Kings ปี 2564

ผลงานการแสดงละคร เรื่อง บทเด็กติดยาในเรื่อง"ข้าวนอกนา",บทตัวร้ายในเรื่อง"ผู้การเรื่อเร่"ค่ายกันตนา ,บททนายในเรื่อง"ครูสมศรี" ,บททอมบอยในเรื่อง "กิจกรรมชายโสด"(ในเรื่องนี้ฝากผลงานการเขียนเนื้อเพลงไตเติ้ลให้แพท พัทสนขับร้อง)ในค่ายละครเป่าจินจง, บทหัวหน้าหน่วยคอมมานโดในเรื่อง "12ราศี" ผลงานการกำกับละครเรื่องแรกของ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ,บทนางแมงมุมในละครเวทีของ ยุทธนา มุกดาสนิทในเรื่อง"จุมพิษนางแมงมุม" และเล่นซีรี่ของช่องทรู เรื่อง ปริศนาข้ามอุโมงค์

ทางด้านผลงานเพลง ออกผลงานเพลงชุดแรกเมื่อปี พ.ศ. 2537 ชุด “หน้ากาก” สังกัด วี.ไอ.พี. อัลบั้มชุดนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง รางวัลสีสันอวอร์ด ในฐานะศิลปินหน้าใหม่ ต่อด้วยผลงานชุดที่สอง “เวดทาม สตอรี่” ที่มีเพลงดังอย่าง รักเธอจริง ๆ และ ดีดีกันไว้ และยังได้ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลนักร้องหญิงยอดเยี่ยมในสีสันอวอร์ด และในปี พ.ศ. 2539 กับผลงานอัลบั้มชุดที่ 3 “ครอสโอเวอร์” และยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสีสันอวอร์ด 7 รางวัล รางวัลที่ได้รับคือ โปรดิวเซอร์ยอดเยี่ยมแห่งปี โดยคุณพรชัย ศรีขจร เป็นโปรดิวเซอร์ และรางวัลศิลปินหญิงร็อกยอดเยี่ยมแห่งปี ส่วนอัลบั้มชุดที่ 4 “บอร์นทูบีฟรี” เมื่อปี พ.ศ. 2540 และอัลบั้มชุดที่ 5 “ทูรีเทิร์น” และในปี พ.ศ. 2542 กับ ค่ายเพลงของตัวเองในชื่อบริษัท ร็อกแอนด์โรลเฮ้าส์ โดยมี บริษัท ซี.เค.วาย เป็นตัวแทนจำหน่าย

ส่วนผลงานด้านการเขียน สุกัญญาเขียนเบื้องหลังโฆษณาชุด แห่นางแมวของพานาโซนิค และเขียนนิยายเรื่องสั้นลงนิตยสารของพานาโซนิค เขียนบันทึกเรื่องสั้นลงในหนังสือ “ชีวิตต้องสู้” บันทึกเรื่องสั้นลงในนิตยสาร “แสงอรุณ” และออกผลงานกับสำนักพิมพ์คำสมัย หนังสือรวมเล่มเรื่อง “ครั้งหนึ่งในชีวิต”[1] โดยรวมเธอมีพ็อคเก็ตบุ๊คจำนวน 5 เล่ม

อีกทั้งผลงานการเขียนเพลง "ตัดพ้อ" เป็นเพลงแรกที่เธอเขียน และตามมาอีกหลายเพลงในอัลบั้มของเธอ และได้รับมอบหมายให้เขียนเพลง "รับรอง" ให้กับ พลสันต์ พินิจกุล (เอม๊อบ) ในค่าย อาร์ เอส โปรโมชั่น

ในปี พ.ศ. 2550 ภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม ได้นำบทเพลง "เพียงเธอ" ของคุณสุกัญญา มิเกล นำไปร้องใหม่ซึ่งขับร้องโดย วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงศ์กุล

ในปี พ.ศ. 2551 ได้ขึ้นแสดงดนตรีบนเวทีของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ปัจจุบัน สุกัญญา มิเกล ได้ประกาศตัวเป็นประชาธิปไตยและตัดขาดจากกลุ่มอนุรักษ์นิยม[ต้องการอ้างอิง]

ในปี พ.ศ. 2558 สุกัญญาได้ กับอดีตสามี พรชัย ศรีขจร แบ่งลูกโดยลูกสาวอยู่กับพ่อ ส่วนลูกชายอยู่กับแม่ และสุกัญญาได้ประกาศว่าเป็น LGBT หลังจากหย่าร้างได้หนึ่งปี[2] และเธอได้มีผลงานซิงเกิ้ลใหม่ "สาวใหญ่ใจสวย" และนำเพลง "ดีดีกันไว้" และ "รักเธอจริงๆ" มารีมาสเตอร์ใหม่ อยู่ใน Youtube ช่องของเธอเอง "สุกัญญา มิเกล official"

ในปี พ.ศ. 2561 ปล่อยผลงาน เพลงที่เธอเขียนเพลงครั้งแรกเมื่อเธออายุได้ 23ปี "ตัดพ้อ" ที่เคยบรรจุไว้ในอัลบั้ม "wed time story" นำมาทำเป็นเวอร์ชันใหม่ที่อัดพร้อมกันทั้งวง มีกลิ่นไอแบบชาวไอริชด้วยดนตรีสไตล์โฟล์ก

ในปี พ.ศ. 2562 สุกัญญาได้จัด กับ สุพินดา สังข์ทอง และอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว[3]

ในปี พ.ศ. 2563 หลังจากประกาศจุดยืนแนวคิดทางการเมืองเป็นประชาธิปไตย สุกัญญา มิเกล ถูกห้ามร้องเพลง "ดีดีกันไว้" จากเจ้าของเพลงที่เป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยม

ในปี 2564 สุกัญญา มิเกลได้รับการเสนอชื่อรางวัล "นักแสดงหญิงสมทบยอดเยี่ยม" จากภาพยนตร์เรื่อง 4Kings จากคมชัดลึดอวอร์ดส์ และ ชมรมนักวิจารณ์บันเทิง และเธอได้รับรางวัลนักแสดงหญิงสมทบจากชมรมนักวิจารณ์บันเทิง และจาก Star Pic Film ในสาขานักแสดงทมบนหญิงยอดเยี่ยมแห่งปีอีกด้วย และเธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลสุพรรณหงส์ครั้งที่ 30 ในสาขานักแสดงหญิงสมทบ จาก 4Kings[4]

ใยปี 2565 สุกัญญามีผลงานอัลบั้มเดี่ยว หลังจากที่ห่างหายจากการออกอัลบั้มไปนานถึง 15 ปี กับอัลบั้ม "The True on Melody" ซึ่งออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 ในรูปแบบซีดีแผ่นทอง ปกผลิตในรูปแบบแผ่นเสียงจำลองขนาดปกเท่าแผ่นเสียงของจริง จำนวน 300 แผ่น การกลับมาทำอัลบั้มในรอบนี้ กับ 8 เพลงใหม่ พร้อมกับรวบรวมเพลงฮิตในอดีตของเขา บรรจุอยู่ในอัลบั้มชุดนี้อีกด้วย

ผลงานเพลง[แก้]

อัลบั้ม “หน้ากาก” (พ.ศ. 2537) สังกัด วี.ไอ.พี[แก้]

  1. หน้ากาก
  2. ไม่มีอย่างเดิม
  3. เสียแรงเปล่า
  4. ไม่เคยพอ
  5. ขอแค่นั้น
  6. ล้างแค้น
  7. ลบล้าง
  8. กับดัก
  9. ตัวอันตราย
  10. คงสักวัน

อัลบั้ม “เวดทาม สตอรี่” (พ.ศ. 2538) สังกัด วอร์เนอร์มิวสิก[แก้]

  1. รักเธอจริงๆ
  2. ดีๆกันไว้
  3. อาน
  4. ตัดพ้อ
  5. ไพ่ตาย
  6. นกกระจอก
  7. ขอตัวนะ
  8. ดอกไม้ในเปลวไฟ
  9. ฮึด
  10. ทางที่ดีกว่า

อัลบั้ม “ครอสโอเวอร์” (พ.ศ. 2539) สังกัด วอร์เนอร์มิวสิก[แก้]

  1. กล้ารึเปล่า
  2. เอาไง
  3. ความแกร่ง
  4. เกินใจ
  5. เพียงเธอ
  6. รักดี
  7. พอดีก็พอ
  8. เป็นข่าว
  9. รักในใจ
  10. ขอขอบคุณ

อัลบั้ม “บอร์นทูบีฟรี” (พ.ศ. 2540) สังกัด วอร์เนอร์มิวสิก[แก้]

  1. ไปกับสายลม
  2. อย่างนี้ไม่เคยเจอ
  3. จะเอาไงแน่
  4. จากใจ
  5. ร้องเพลงไม่ชัด
  6. โบยบิน
  7. หารัก
  8. SOUL&FUNK
  9. รักในใจ
  10. เพื่อนเอย

อัลบั้ม “ทูรีเทิร์น” (พ.ศ. 2542) บริษัท ร็อกแอนด์โรลเฮ้าส์[แก้]

  1. เปิดใจเถอะนาย
  2. รักแต่ไม่ไหว
  3. รั้น
  4. รักอยู่
  5. ไม่เอานะ
  6. เจ็บในใจ
  7. รักตลอด
  8. ให้มันจบ
  9. แค่อยากให้กล้าหน่อย
  10. นิดหน่อย

อัลบั้ม "นัมเบอร์ 6" (พ.ศ. 2550) บริษัท ร็อกแอนด์โรลเฮ้าส์[แก้]

ประกวดร้องเพลง[แก้]

  • แข่งขันในรายการ รีมาสเตอร์ทางช่องวัน ในเพลง"เรื่องจริงยิ่งกว่านิยาย" ของอ๊อฟ ปองศักดิ์ ประชันกับ เท่ อุเทนพรหมมินทร์ ผลประกาศเป็นผู้แพ้ แต่มียอดวิวสูงมาก
  • ร่วมในรายการ Stage fighter ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เธอได้นำเพลงของศิลปินท่านอื่นมาขับร้องออกทางทีวี เป็นรายการเพื่องหารายได้ช่วยผ่าตัดประสาทหูให้กับเด็กที่พิการทางหู

ผลงานมิวสิควิดีโอ[แก้]

  • เพลง ลาออก ของ บิลลี่ โอแกน

ผลงานภาพยนตร์[แก้]

  • หยุดตัณหาซาดิสต์ (2533)
  • กระสือซิ่ง (2533)
  • ท่านผีเพี้ยน (2533)
  • เพ็ญพักตร์โครงการ 3 (2533)
  • เปลวไฟในตะวัน (2534)
  • นัดกับผีตอน 4 ทุ่ม (2534)
  • ตามล่าแต่หาไม่เจอ (2535)
  • เสือตุ๋ยต๊ะติ๊งโหน่ง (2545)
  • เด็กเดน (2548)
  • 4 king อาชีวะยุค 90 (2564)

ผลงานคอนเสิร์ต[แก้]

  • คอนเสิร์ต ปิดทองหลังพระ (2539)
  • คอนเสิร์ต GREEN CONCERT #19 THE LOST LOVE SONGS TO BE CONTINUED (2559)
  • คอนเสิร์ต ฉันคือเธอ - I am You (2561)
  • คอนเสิร์ต Green Concert #22 The Lost Rock Songs (2562)

ผลงานละครโทรทัศน์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]