สี่แยกภาคเหนือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สี่แยก ภาคเหนือ
แผนที่
ชื่ออักษรไทยภาคเหนือ
ที่ตั้งตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
ทิศทางการจราจร
ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ลำปาง-งาว
» แยกเวียงทอง
ต่อไปยัง เชียงราย เชียงรุ่ง เชียงตุง
ทางหลวงฯ 11 (เลี่ยงเมือง)
» แยกโยนก
ต่อไปยัง เชียงทอง
ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ลำปาง-งาว
» แยกย่าเป้า
ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5
» แยกนาก่วม
ต่อไปยัง เชียงใหม่

สี่แยกภาคเหนือ หรือ สี่แยกห้าเชียง ตั้งอยู่บนจุดตัดของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 และ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 จังหวัดลำปาง อยู่ในเขตของ เทศบาลนครลำปาง ซึ่งในอนาคตจะมี ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 ถนนมอเตอร์เวย์ลำปาง-เชียงใหม่ ยกระดับเหนือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ข้ามถนนพหลโยธิน ไปจนถึงจังหวัดเชียงใหม่อีก 1 สาย (โครงการในอนาคต) ซึ่งโครงการนี้กำลังอยู่ในระหว่างการออกแบบและการวางแผน โดยจะมีการสร้างทางแยกต่างระดับ บริเวณจุดตัดถนนพหลโยธิน ซึ่งในส่วนนี้ จะมีการขอเวนคืนพื้นที่บางส่วนบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอในการก่อสร้างทางแยกต่างระดับ ส่วนถนนพหลโยธิน จะมีการก่อสร้างทางคู่ขนานเพิ่มเติม ฝั่งละ 2 ช่องจราจร จากหน้าห้างบิ๊กซีลำปาง ไปจนถึงหน้าองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง อำเภอเกาะคาด้วย รวมทั้งการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำวังเพิ่มอีกหนึ่งแห่งเพื่อเชื่อมทางหลวงพิเศษหมายเลข 5

ความสำคัญ[แก้]

สี่แยกภาคเหนือ เป็นแยกที่เป็นเสมือนศูนย์กลางการเดินทางในภาคเหนือตอนบน เนื่องจากเป็นจุดตัดของแนวเหนือ-ใต้ (ถนนพหลโยธิน) และ ตะวันออก-ตะวันตก (ทางหลวงหมายเลข 11) สามารถเดินทางไปยังเชียง หรือเมือง ที่สำคัญทั้ง 5 ของอดีตอาณาจักรล้านนาได้ คือ เชียงใหม่ เชียงราย เชียงตุง เชียงทอง และ เชียงรุ่ง จึงได้ชื่อว่า สี่แยกห้าเชียง

หลักกิโลเมตรห้าเชียง[แก้]

ด้วยเหตุว่าสี่แยกห้าเชียง เป็นสี่แยกที่สำคัญในฐานะประตูสู่ล้านนา เป็นจุดเริ่มต้นศูนย์กลางของภาคเหนือตอนบน ดิเรก ก้อนกลีบ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางจึงมีแนวคิดในการสร้างสิ่งก่อสร้างที่เป็นสัญลักษณ์ของการกำหนดเมืองลำปาง ซึ่งได้ทำการสร้างเป็นหลักกิโลเมตรขนาดใหญ่ ความสูง 14 เมตร กว้าง 7 เมตร ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 2.8 ล้านบาท จากกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าในจังหวัดลำปาง ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ในอนาคตคาดว่าน่าจะมีการทุบทำลายหลักกิโลเมตรนี้ทิ้งไป เนื่องจากต้องใช้พื้นที่ในการก่อสร้างทางแยกต่างระดับ บริเวณจุดตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 5

อ้างอิง[แก้]