สีน้ำเงิน (มุทราศาสตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
“Azure” สีน้ำเงินทางซ้าย หรือ ขีดตามแนวนอนทางขวา

สีน้ำเงิน หรือ เอเชอร์ (อังกฤษ: Azure) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีน้ำเงิน ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีหนักที่เรียกว่า “สี” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ (engraving) “เอเชอร์” ก็จะเป็นขีดตามแนวนอน หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “az.” หรือ “b.” ของคำว่า “Azure”

คำว่า “Azure” มาจากภาษาเปอร์เซีย “لاژورد” (lazhward) ซึ่งเป็นชื่อสถานที่ที่เป็นที่รู้จักกันว่ามีแหล่งหินที่มีสีน้ำเงินเข้มที่ปัจจุบันเรียกว่าหินลาพิส ลาซูไล (lapis lazuli หรือ หินจาก lazhward) คำนี้เข้ามาในภาษาภาษาฝรั่งเศสเก่าในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และแผลงไปใช้ในการบรรยายสีของผิวตราของตราอาร์ม “Azure” ที่แปลว่า “น้ำเงิน”

ในภาษามุทราศาสตร์ “Azure” แปลง่ายๆ ว่า “สีน้ำเงิน” คำแรกใช้โดยขุนนางนอร์มันผู้พูดภาษาฝรั่งเศส คำหลังที่เพียงแต่เรียกชื่อสีใช้โดยชนสามัญชาวแองโกล-แซ็กซอนสีน้ำเงิน” เป็นสีที่ใช้กันมากบนอาวุธและธง

นอกไปจากสีน้ำเงินมาตรฐานแล้วก็ยังมีสีน้ำเงินอ่อนที่เรียกว่า “สีท้องฟ้า” (bleu celeste) ทั้งสองสีต่างก็มิได้มีการระบุระดับความอ่อนแก่ของสีอย่างแน่นอน แต่ “สีน้ำเงิน” จะใช้เป็นสีที่เข้มกว่า “สีท้องฟ้า” มาก


ผิวตราสีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์[1]ของ:

อ้างอิง[แก้]

  1. Elvin, Charles Norton (1889). A Dictionary of Heraldry.

ดูเพิ่ม[แก้]