สิงโตมาไซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิงโตมาไซ
ตัวผู้ที่อุทยานแห่งชาติเซเรงเกติ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
สกุล: Panthera
สปีชีส์: P.  leo
สปีชีส์ย่อย: P.  l. nubica
Trinomial name
Panthera leo nubica
(de Blainville, 1843)
ชื่อพ้อง[1]
  • Panthera leo massaica
  • Panthera leo roosevelti

สิงโตมาไซ หรือ สิงโตแอฟริกาตะวันออก (อังกฤษ: Masai lion, East African lion; ชื่อวิทยาศาสตร์: Panthera leo nubica) เป็นชนิดย่อยของสิงโตชนิดหนึ่งในทวีปแอฟริกา

พบกระจายพันธุ์ในแถบแอฟริกาตะวันออก โดยชนิดต้นแบบได้รับการอธิบายว่ามาจาก "นิวเบีย" รวมถึงชนิดย่อยที่เคยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า massaica ซึ่งได้รับการอธิบายไว้ในขั้นต้นจากดินแดนแทนกันยีกาในแอฟริกาตะวันออก [2][3]

สิงโตมาไซมีช่วงขาที่เรียวยาว แลดูปราดเปรียวและช่วงหลังโค้งน้อยกว่าสิงโตชนิดย่อยอื่น ๆ ตัวผู้มีกระจุกขนปานกลางบนข้อเข่าและขนแผงคอจะขึ้นไม่เต็ม แต่จะมีลักษณะเสยไปด้านหลังเหมือนผมที่ถูกหวี [4]

ตัวผู้มีขนาดโดยทั่วไป 2.5-3.0 เมตร (8.2-9.8 ฟุต) รวมถึงหาง ตัวที่ยังไม่โตเต็มที่มักจะมีขนาดเล็กเพียง 2.3-2.6 เมตร (7.5-8.5 ฟุต) น้ำหนักตัวผู้อยู่ระหว่าง 145-205 กิโลกรัม (320-452 ปอนด์) และตัวเมียอยู่ที่ 100-165 กิโลกรัม (220-364 ปอนด์) มีความสูงตั้งแต่ปลายตีนถึงช่วงไหล่ของทั้งสองเพศอยู่ที่ 0.9-1.10 เมตร (3.0-3.6 ฟุต)

คู่ตัวผู้ที่มีแผงคอขึ้นไม่เต็มที่ซาโว

สิงโตมาไซตัวผู้เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีถึงลักษณะของประเภทแผงคอ การพัฒนาแผงคอสัมพันธ์กับอายุ ตัวที่มีอายุมากกว่ามีแผงคอกว้างขวางมากขึ้นกว่าตัวที่อายุน้อยกว่า และแผงคอยังคงยาวไปได้ถึงอายุ 4-5 ปี ตัวผู้จะกลายเป็นสิงโตตัวเต็มวัยได้จากการผสมพันธุ์ ตัวผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่สูงกว่า 800 เมตร (2,600 ฟุต) มีแผงคอที่ใหญ่และกว้างกว่าสิงโตที่พบในแถบที่ราบลุ่มและอบอุ่นของทางตะวันออกและทางตอนเหนือของเคนยา ซึ่งพบว่ามีแผงคอที่ไม่สมบูรณ์และมีลักษณะบ่งบอกถึงทางเพศที่ไม่เต็มที่อีกด้วย.[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Wozencraft, W. Christopher (16 November 2005). "Order Carnivora (pp. 532-628)". in Wilson, Don E., and Reeder, DeeAnn M., eds. Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2 vols. (2142 pp.). pp. 546–548. ISBN 978-0-8018-8221-0. http://www.bucknell.edu/msw3.
  2. Allen, G. M. (1939). A Checklist of African Mammals. Bulletin of the Museum of Comparative Zoology at Harvard College 83: 1–763.
  3. Haas, S. K., Hayssen, V., Krausman, P. R. (2005). Panthera leo เก็บถาวร 2017-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Mammalian Species (762): 1–11.
  4. Neumann, O. (1900). Die von mir in den Jahren 1892–95 in Ost- und Central-Afrika, speciell in den Massai-Ländern und den Ländern am Victoria Nyansa gesammelten und beobachteten Säugethiere. Zoologische Jahrbücher. Abtheilung für Systematik, Geographie und Biologie der Thiere 13 (VI): 529–562.
  5. Gnoske, T. P., Celesia, G. G., Kerbis Peterhans, J. C. (2006). Dissociation between mane development and sexual maturity in lions (Panthera leo): solution to the Tsavo riddle?. Journal of Zoology 270(4): 551–560. Abstract

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Panthera leo nubica ที่วิกิสปีชีส์