สำนวนจำเจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
“รสเหมือนไก่” เป็นสำนวนจำเจที่ใช้ในการบรรยายรสชาติของเนื้อที่แปลกไปจากเนื้อสัตว์ที่กินกันโดยทั่วไป เช่นการบรรยายรสชาติของขากบต่อผู้ไม่รู้รส
“ภาพจำเจ” เช่นภาพทิวทัศน์ที่มีกิ่งไม้ห้อยอยู่หน้าภาพ

สำนวนจำเจ หรือ ภาพจำเจ (อังกฤษ: cliché หรือ cliche เป็นคำยืมภาษาฝรั่งเศส) คือคำกล่าว, การแสดงความเห็น หรือ ความคิด หรือองค์ประกอบของศิลปะที่เป็นสำนวนที่ใช้กันมากเกินไปจนกระทั่งหมดประสิทธิภาพของความหมายที่ตั้งใจไว้แต่เดิม และจนกระทั่งกลายเป็นสามัญทัศน์โดยเฉพาะในกรณีที่เมื่อเริ่มใช้ใหม่ ๆ เป็นสำนวนที่มีใหม่และมีความหมายดี “สำนวนจำเจ” เป็นสำนวนที่ใช้กันเสมอในวัฒนธรรมยุคใหม่ซึ่งเป็นการบ่งถึงพฤติกรรมหรือความคิดที่คาดได้ล่วงหน้าจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อหน้านั้น บางครั้งการใช้ก็มีวัตถุประสงค์เชิงเหยียด (pejoratively) หรือบางครั้งก็อาจจะใช้ในนวนิยายหรือการแสดงชวนขันเพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ชมได้หัวเราะ ตัวอย่างของการใช้สำนวนจำเจก็ได้แก่การบรรยายรสชาติของเนื้อที่แปลกไปจากเนื้อสัตว์ที่กินกันโดยทั่วไปที่ผู้ตอบมักจะตอบเชิงเสียดสีหรือเชิงชวนขันว่า “รสเหมือนไก่” แม้ว่าจะไม่ทราบรสชาติที่แท้จริงก็ตาม

หรือในกรณี ภาพจำเจ ก็ได้แก่ภาพทิวทัศน์ชายทะเลที่มีลักษณะพื้น ๆ เป็นภาพภูเขากับทะเลที่มีกิ่งไม้ห้อยอยู่ข้างหน้าเป็นต้น

ดูเพิ่ม[แก้]

  • Anton C. Zijderveld (1979). On Clichés: The Supersedure of Meaning by Function in Modernity. Routledge. ISBN 071000186X. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |isbn13= ถูกละเว้น (help)
  • Margery Sabin (1987). "The Life of English Idiom, the Laws of French Cliché". The Dialect of the Tribe. Oxford University Press US. pp. 10–25. ISBN 0195041534. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |isbn13= ถูกละเว้น (help)
  • Véronique Traverso and Denise Pessah (Summer 2000). "Stereotypes et clichés: Langue, discours, société". Poetics Today. Duke University Press. 21 (3): 463–465.
  • Skorczewski, Dawn (December 2000). ""Everybody Has Their Own Ideas": Responding to Cliche in Student Writing". College Composition and Communication. 52 (2): 220–239.
  • Ruth Amossy and Chutiya Terese Lyons (1982). "The Cliché in the Reading Process". SubStance. University of Wisconsin Press. 11 (2.35): 34–45.[ลิงก์เสีย]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]