สาวใส่ต่างหูมุก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาวใส่ต่างหูมุก
ดัตช์: Meisje met de parel
ศิลปินโยฮันเนิส เฟอร์เมร์
ปีป. ค.ศ. 1665
ประเภทTronie
สื่อจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ
ขบวนการจิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์
มิติ44.5 cm × 39 cm (17.5 นิ้ว × 15 นิ้ว)
สถานที่เมาริตส์เฮยส์, เดอะเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

สาวใส่ต่างหูมุก (ดัตช์: Meisje met de parel[1][2]; อังกฤษ: Girl with a Pearl Earring) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยโยฮันเนิส เฟอร์เมร์ จิตรกรชาวดัตช์ในสมัยบาโรก เคยมีชื่อเรียกหลายแบบมาหลายศตวรรษ โดยชื่อปัจจุบันมีมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามต่างหูที่ผู้หญิงในภาพสวมใส่[3] ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานศิลปะเมาริตส์เฮยส์ (Mauritshuis) ในเดอะเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

เฟอร์เมร์เขียนภาพ "สาวใส่ต่างหูมุก" เสร็จใน ค.ศ. 1665 ที่บางครั้งเรียกว่า "โมนาลิซาแห่งทางเหนือ" หรือ "โมนาลิซาของชาวดัตช์"

เบื้องหลัง[แก้]

โดยทั่วไปแล้วเกือบจะไม่มีอะไรที่ทราบเกี่ยวกับผู้เขียนภาพและงานที่เขียน ภาพนี้ลงชื่อ "IVMeer" แต่ไม่ลงวันที่และไม่ทราบแน่ชัดว่างานนี้เป็นงานที่รับจ้างเขียนหรือไม่ และถ้าใช่แล้วใครเป็นผู้จ้าง แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ภาพนี้มิได้จงใจจะให้เป็นภาพเหมือนธรรมดา

วรรณกรรมที่เกี่ยวกับเฟอร์เมร์เมื่อไม่นานมานี้ชี้ให้เห็นว่าเป็นงาน "tronie" ที่เป็นงานเขียนของเนเธอร์แลนด์ที่เป็นส่วนศีรษะที่มิได้จงใจจะให้เป็นภาพเหมือนที่เจาะจงว่าเป็นใคร หลังจากการบูรณะครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 1994 สายตาที่มองจากภาพมายังผู้ดูได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก[4]

ด้วยคำแนะนำของฟิกตอร์ เดอ สตูเอิร์ส (Victor de Stuers) ผู้ที่รณรงค์เป็นปี ๆ ในการป้องกันการขายภาพของเฟอร์เมร์ให้กับผู้ซื้อนอกเนเธอร์แลนด์ อาร์โนลดึส อันดรีส เด ตงบ์ (Arnoldus Andries des Tombe) ได้ซื้องานชิ้นนี้จากงานประมูลที่เดอะเฮกในปี ค.ศ. 1881 ในราคาเพียงสองกิลเดอร์สามสิบเซนต์ เพราะภาพเขียนอยู่ในสภาพที่ไม่ดีนัก เด ตงบ์ไม่มีผู้สืบตระกูลที่จะรับภาพเขียนต่อจึงได้อุทิศภาพเขียนในความเป็นเจ้าของรวมทั้งภาพนี้ให้แก่เมาริตส์เฮยส์ในปี ค.ศ. 1902[5]

ในปี ค.ศ. 1937 ภาพเขียนที่คล้ายคลึงกัน "สาวยิ้ม" (Smiling Girl) ที่ขณะนั้นเชื่อกันว่าเขียนโดยเฟอร์เมร์ของนักสะสมอเมริกันแอนดรูว์ ดับเบิลยู. เมลลอน (Andrew W. Mellon) ได้รับการอุทิศให้แก่หอศิลป์แห่งชาติ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แต่ปัจจุบันเชื่อกันโดยทั่วไปว่าเป็นภาพปลอม ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับงานเขียนของเฟอร์เมร์ อาร์เทอร์ วีล็อก (Arthur Wheelock) อ้างในการศึกษาในปี ค.ศ. 1995 ว่าเป็นงานเขียนของเตโอ ฟัน ไวน์คาร์เดิน (Theo van Wijngaarden) ผู้เป็นจิตรกรเขียนภาพปลอมของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพื่อนของจิตรกรฮัน ฟัน เมเคอเริน (Han van Meegeren)[5]

"สาวใส่ต่างหูมุก" ในวรรณกรรม[แก้]

เทรซี เชวาเลียร์ (Tracy Chevalier) เขียนนวนิยายประวัติศาสตร์ชื่อเดียวกันในปี ค.ศ. 1999 โดยสร้างตัวละคร สิ่งแวดล้อม และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่นำมาสู่ภาพวาดของเฟอร์เมร์ ในนวนิยายเฟอร์เมร์มีความใกล้ชิดกับครีต สาวใช้ที่เฟอร์เมร์จ้างให้เป็นผู้ช่วยและให้นั่งเป็นแบบให้ ขณะที่ใส่ต่างหูข้างหนึ่งของภรรยา[6] นวนิยายได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกันในปี ค.ศ. 2003[7] และต่อมาเป็นละครในปี ค.ศ. 2008[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Girl with a Pearl Earring". Mauritshuis. สืบค้นเมื่อ 8 December 2014.
  2. "Meisje met de parel". Mauritshuis (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 8 December 2014.
  3. Janson, Jonathan. "Titles". Girl with a Pearl Earring.
  4. Wadum, Jørgen (1994). Vermeer illuminated. Conservation, Restoration and Research. The Hague. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  5. 5.0 5.1 Vrij Nederland (magazine) (February 26 1996), p. 35–69.
  6. Winant, Johanna (2000-01-26), "Novel paints a picture of a famous painting", Chicago Tribune, pp. Tempo, pg. 3{{citation}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)
  7. Ebert, Roger (2003-12-26), "'Girl' painted in subtle shades", Chicago Sun-Times, p. 43, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-09, สืบค้นเมื่อ 2021-08-30{{citation}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)
  8. Billington, Michael (2008-10-01), "Pearl's delicate shades get lost in the broad canvas of the stage", The Guardian, p. 36{{citation}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]