สารป้องกันแรงดันออสโมติก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารป้องกันแรงดันออสโมติก (osmoprotectant) เป็นสารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กทำหน้าที่ในการรักษาสมดุลของน้ำ และแรงดันออสโมติกภายในเซลล์กับสิ่งแวดล้อม[1] ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ กลไกในการสะสมสารป้องกันแรงดันออสโมติกมี 2 แบบคือ การสังเคราะห์ขึ้นด้วยเซลล์สิ่งมีชีวิตเอง(osmoprotectant synthesis) และการนำสารป้องกันแรงดันออสโมติกจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์สิ่งมีชีวิต(osmoprotectant uptake)

สารป้องกันแรงดันออสโมติกมีหลายประเภท ได้แก่ไขมัน น้ำตาล อนุพันธ์ของน้ำตาล (กรดอะมิโนและอนุพันธ์ของกรดอะมิโน ตัวอย่างสารป้องกันแรงดันออสโมติกได้แก่ กลีเซอรอล (glycerol) ซูโครส (sucrose) เทรฮาโลส โพรลีน (proline) และบีเทนหรือไกลซีนบีเทน (glycine-betaine)

อ้างอิง[แก้]

  1. Lang F (October 2007). "Mechanisms and significance of cell volume regulation". J Am Coll Nutr. 26 (5 Suppl): 613S–623S. PMID 17921474. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-18. สืบค้นเมื่อ 2010-01-09.