อำเภอสายบุรี

พิกัด: 6°41′56″N 101°34′37″E / 6.69891°N 101.57684°E / 6.69891; 101.57684
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สายบุรี)
อำเภอสายบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Sai Buri
คำขวัญ: 
บูดูสะอาด หาดงามวาสุกรี สักขีวัดเก่า ภูเขาสลินดง คงวัฒนธรรม งามล้ำเมืองสาย
แผนที่จังหวัดปัตตานี เน้นอำเภอสายบุรี
แผนที่จังหวัดปัตตานี เน้นอำเภอสายบุรี
พิกัด: 6°42′5″N 101°37′3″E / 6.70139°N 101.61750°E / 6.70139; 101.61750
ประเทศ ไทย
จังหวัดปัตตานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด178.424 ตร.กม. (68.890 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด71,578 คน
 • ความหนาแน่น401.17 คน/ตร.กม. (1,039.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 94110,
94190 (เฉพาะตำบลทุ่งคล้า)
รหัสภูมิศาสตร์9407
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสายบุรี ถนนลูกเสือ ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี 94110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สายบุรี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปัตตานี เดิมเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองประเทศราชมลายูของสยาม ชาวไทยเชื้อสายมลายูจะเรียกว่า ตะลุแบ (มลายู: تلوبن Taluban; Telubae) หรือในภาษามลายู-สันสกฤตเรียกว่า สลินดงบายู[1] หรือ ซือลินดงบายู (มลายู: سليندوڠ بايو Selindung Bayu แปลว่า ที่กำบังลมพายุ) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม มีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเอง มีความหลากหลายทางด้านภาษา

ที่มาของชื่อ[แก้]

เมืองสายบุรี เดิมเรียกกันว่า เมืองสาย ซึ่งมาจากภาษามลายูว่า นครีซา มีความหมายว่า "เมืองแห่งปฏัก" ซึ่งคำว่า ซา มาจากคำว่า ซากาเยาะ คือ ปฏัก (อุปกรณ์ที่ควาญช้างใช้บังคับช้าง)[2]

และยังมีชื่อในภาษามลายูที่ยืมคำมาจากภาษาสันสกฤต คือ ซือลินดงบายู ซือมาลันบุลัน มาตันดูวอ อันมีความหมายว่า เมืองกำบังลมพายุใต้แสงจันทร์ ณ ธารสองสาย [3]

ต่อมาได้แยกการปกครองจาก 2 ตำบลตอนล่างของอำเภอ เป็นกิ่งอำเภอไม้แก่น เมื่อปี พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นกิ่งอำเภอแห่งแรกของจังหวัดปัตตานี และได้ยกฐานะเป็นอำเภอไม้แก่นเมื่อปี พ.ศ. 2537

และในปี พ.ศ.2525 ได้แยก 3 ตำบลตอนล่างของอำเภอเช่นกัน แยกเป็นกิ่งอำเภอกะพ้อ และได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ.2536

ทำให้อำเภอสายบุรีคงเหลือเพียง 11 ตำบลเท่านั้นจนถึงปัจจุบัน

ประวัติ[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอสายบุรีตั้งอยู่ริมชายฝั่งทางทิศตะวันออกของจังหวัด อำเภอสายบุรีห่างจากศาลากลางจังหวัดปัตตานีประมาณ 50 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

รายนามเจ้าเมืองสายบุรี[แก้]

  1. พระยาสายบุรี (หนิดะ)
  2. พระยาสายบุรี (หนิละไม)
  3. พระยาสุริยสุนทรบวรภักดี ศรีมหารายา มัตตาอัปดุลวิบุลยขอบเขตประเทศมลายู พระยาสายบุรี (หนิแปะ)
  4. พระยาสุริยสุนทรบวรภักดี ศรีมหารายา มัตตาอับดุลวิบุลยขอบเขตประเทศราช พระยาสายบุรี (หนิวิตำนาเซร์) (เต็งกูอับดุลมุฏฏอเล็บ)[4]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอสายบุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 ตำบล 65 หมู่บ้าน ได้แก่

หมายเลข ชื่อ อักษรโรมัน หมู่บ้าน ประชากร[5]
01. ตะลุบัน Taluban - 13,797
02. ตะบิ้ง Tabing 6 05,835
03. ปะเสยะวอ Pase Yawo 7 07,754
04. บางเก่า Bang Kao 4 03,166
05. บือเระ Bue Re 4 02,950
06. เตราะบอน Tro Bon 11 07,648
07. กะดุนง Kadunong 8 05,000
08. ละหาร Lahan 5 04,972
09. มะนังดาลำ Manang Dalam 7 06,776
10. แป้น Paen 8 04,555
11. ทุ่งคล้า Thung Khla 5 01,807

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอสายบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองตะลุบัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะลุบันทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเตราะบอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเตราะบอนและตำบลทุ่งคล้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะบิ้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปะเสยะวอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปะเสยะวอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางเก่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเก่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบือเระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบือเระทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกะดุนง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกะดุนงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลละหาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลละหารทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังดาลำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะนังดาลำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแป้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแป้นทั้งตำบล

ประชากร[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "อนุรักษ์แหวนแห่ง 'สลินดงบายู' สืบทอดธุรกิจแห่งภูมิปัญญา" (Press release). สำนักข่าวอามาน. 17 มีนาคม พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. โครงการวิจัยลุ่มน้ำสายบุรี. ปฐมบทแห่งลุ่มน้ำสายบุรี เก็บถาวร 2011-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2555
  3. โรงเรียนอัครศาสน์วิทยา. ประวัติเจ้าเมืองนิอาดัส เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2555
  4. พงศาวดารเมืองปัตตานี พระยาวิเชียรคิรี(ชม) เมื่อยังเป็นพระยาสุนทรานุรักษ์ แต่ง
  5. "Population statistics 2009". Department of Provincial Administration.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

6°41′56″N 101°34′37″E / 6.69891°N 101.57684°E / 6.69891; 101.57684