สายตาสั้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สายตาสั้น
ชื่ออื่นshort-sightedness, near-sightedness
ภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงในดวงตาที่มีอาการสายตาสั้น
สาขาวิชาจักษุวิทยา, ทัศนมาตรศาสตร์
อาการวัตถุที่อยู่ไกลจะมัว วัตถุที่อยู่ใกล้ดูปกติ, ปวดกัว, ตาล้า[1]
ภาวะแทรกซ้อนจอตาหลุดลอก, โรคต้อกระจก, โรคต้อหิน[2]
สาเหตุผสมระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม[2]
ปัจจัยเสี่ยงทำงานแบบใกล้, ใช้เวลาข้างในมากกว่า, ประวัติครอบครัว[2][3]
วิธีวินิจฉัยการตรวจตา[1]
การป้องกันไม่ทราบ
การรักษาแว่นตา, เลนส์สัมผัส, ผ่าตัด[1]
ความชุก1.5 พันล้านคน (22%)[2][4]

สายตาสั้น (อังกฤษ: myopia, near-sightedness, short-sightedness) เป็นภาวะของตาซึ่งแสงที่เข้ามาไม่ตกบนจอตาโดยตรง แต่ตกหน้ากว่า[1][2] ทำให้ภาพที่บุคคลเห็นเมื่อมองวัตถุไกลอยู่นอกจุดรวม แต่ในจุดรวมเมื่อมองวัตถุใกล้[1] ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องได้แก่ปวดหัวและตาล้า[1] อาการสายตาสั้นมักมีส่วนเกี่ยวข้องกับคววามเสี่ยงต่อจอตาหลุดลอก, โรคต้อกระจก และโรคต้อหินมากขึ้น[2]

วิชาชีพการดูแลตาแก้ไขสายตาสั้นด้วยการใช้เลนส์บำบัดมากที่สุด เช่น แว่นตาหรือเลนส์สัมผัส นอกจากนี้ ยังอาจแก้ไขได้โดยศัลยกรรมหักเหแสง แม้มีกรณีผลข้างเคียงที่สัมพันธ์ เลนส์บำบัดมีกำลังสายตาเป็นลบ (คือ มีผลเว้าสุทธิ) ซึ่งชดเชยไดออพเตอร์ (diopter) บวกเกินของตาที่สั้น โดยทั่วไปไดออพเตอร์ลบใช้อธิบายความรุนแรงของสายตาสั้น และเป็นค่าของเลนส์เพื่อแก้ไขตา สายตาสั้นขั้นสูงหรือสายตาสั้นรุนแรงนิยามโดย -6 ไดออพเตอร์หรือเลวกว่านั้น[5]

อาการสายตาสั้นเป็นอาการที่พบได้มากที่สุดและประมาณการว่าส่งผลกระทบถึง 1.5 พันล้านคน (22% ของประชากรทั่วโลก)[2][4] โดยมีอัตราในแต่ละประเทศแตกต่างกัน[2] อัตราในวัยผู้ใหญ่อยู่ที่ร้อยละ 15 ถึง 49[3][6]

ตรงข้ามกับสายตาสั้น คือ สายตายาว

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Facts About Refractive Errors". NEI. October 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2016. สืบค้นเมื่อ 30 July 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 Foster PJ, Jiang Y (February 2014). "Epidemiology of myopia". Eye. 28 (2): 202–8. doi:10.1038/eye.2013.280. PMC 3930282. PMID 24406412.
  3. 3.0 3.1 Pan CW, Ramamurthy D, Saw SM (January 2012). "Worldwide prevalence and risk factors for myopia". Ophthalmic & Physiological Optics. 32 (1): 3–16. doi:10.1111/j.1475-1313.2011.00884.x. PMID 22150586. S2CID 32397628.
  4. 4.0 4.1 Holden B, Sankaridurg P, Smith E, Aller T, Jong M, He M (February 2014). "Myopia, an underrated global challenge to vision: where the current data takes us on myopia control". Eye. 28 (2): 142–6. doi:10.1038/eye.2013.256. PMC 3930268. PMID 24357836.
  5. Etiopathogenesis and management of high-degree myopia. Part I
  6. Pan CW, Dirani M, Cheng CY, Wong TY, Saw SM (March 2015). "The age-specific prevalence of myopia in Asia: a meta-analysis". Optometry and Vision Science. 92 (3): 258–66. doi:10.1097/opx.0000000000000516. PMID 25611765. S2CID 42359341.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก