สาคร สุขศรีวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศ. (พิเศษ) ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเงินทุน กรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน)

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สาคร สุขศรีวงศ์ (Professor Sakorn Suksriwong, DBA) หรือ อาจารย์หมี เป็นอาจารย์พิเศษ ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1] ด้านการจัดการและองค์กร

การศึกษา[แก้]

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (DBA) จาก University of South Australia ประเทศ ออสเตรเลีย ปริญญาโทบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) สาขาการจัดการระหว่างประเทศ จาก The George Washington University ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาตรีบริหารธุรกิจบัณฑิต ภาควิชาการธนาคารและการเงิน จาก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ ศ.(พิเศษ)ดร.สาคร ยังได้ผ่านการอบรมผู้บริหารระดับสูงจากสถาบันชั้นนำทั้งในและต่างประเทศหลายแห่ง อาทิ หลักสูตร Advanced Management Program (AMP) จาก Harvard University ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตร Oxford Advanced Management and Leadership Program จาก Oxford University หลักสูตร NIDA-Wharton Executive Leadership Program จาก University of Pennsylvania ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตร Director Certificate Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย Certification Program in Business Law มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ประกาศนียบัตรหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า (ปปร.11) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.12) และหลักสูตร "ภูมิพลังแผ่นดิน" รุ่น 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตำแหน่งทางวิชาการ[แก้]

ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษ ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2554 ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม 2555[2]

ประวัติการทำงาน[แก้]

ศ. (พิเศษ) ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ เริ่มต้นชีวิตการทำงานเป็นอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เมื่อภาระงานทางธุรกิจมากขึ้นจึงได้ผันตัวเองมาทำงานด้านธุรกิจเป็นหลักและงานด้านการสอนตลอดจนงานการกุศลอื่นเป็นงานรอง ก่อนหน้าที่จะดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ที่บริษัทเงินทุน กรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน) หรือ BFIT[3] นั้น ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ ได้ดำรงตำแหน่งในระดับบริหารในบริษัทจำกัดกว่า 10 บริษัท ทั้งที่เป็นกรรมการผู้จัดการ, กรรมการ , กรรมการผู้อำนวยการ หรือแม้กระทั่งผู้บริหาร ส่วนที่เป็นงานการกุศลก็อีกประมาณ 2-3 แห่งด้วยกัน อาทิ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป ร้านภูฟ้า (โครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) กรรมการมูลนิธิรามาธิบดี และผู้อำนวยการ สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์[4] นอกจากนั้นยังคงทำงานทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง อาทิ เป็นอาจารย์พิเศษ ด้านการจัดการ ณ และ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสอนมากว่า 20 ปี และ ณ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมทั้งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยเนชั่นอีกด้วย

ศ. (พิเศษ) ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ ยังได้ทำงานรับใช้ประเทศในหน้าที่ต่างๆอีกหลายตำแหน่ง อาทิ กรรมการรัฐวิสาหกิจ (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การประปาส่วนภูมิภาค) ที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (The Board of Investment หรือ BOI)

รางวัล[แก้]

  • รางวัลนิสิตเก่าดีเด่น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2550
  • รางวัลเสาเสมาธรรมจักร ประจำปี พ.ศ. 2552 ประเภทผู้ประกอบอาชีพที่มีคุณธรรมและส่งเสริมพุทธศาสนา
  • เข็มเชิดชูเกียรติและโล่ประกาศเกียรติคุณ "คนดีศรีศาสนา" ในโครงการคนดีศรีแผ่นดินประจำปี 2555 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ พระนครเหนือ
  • ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตตมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ผลงานทางวิชาการ[แก้]

  1. เรียนบริหารผ่านกรณีศึกษา (CASE STUDY: LEARNING METHOD AND COLLECTIONS). พิมพ์ครั้งแรก. ปี 2554. สำนักพิมพ์ จี.พี. ไซเบอร์พรินท์. ISBN 978-97449638-5-7
  2. การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร (Management from the executive's viewpoint). พิมพ์ครั้งที่ 7. ปี 2554. สำนักพิมพ์ จี.พี. ไซเบอร์พรินท์. ISBN 974-85133-8-6
  3. การพัฒนาพฤติกรรมการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการปฏิบัติสมาธิ. จุฬาลงกรณ์วารสาร. 2551. 81: 5-27
  4. สมาธิในพระพุทธศาสนากับการพัฒนาประชาธิปไตยที่ยั่งยืน. 2551. เอกสารวิชาการส่วนบุคคลหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 11 สถาบันพระปกเกล้า
  5. การเปลี่ยนและการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ: กรอบวิเคราะห์และปัจจัยแห่งความสำเร็จ. จุฬาลงกรณ์วารสาร. 2550. 77: 5-35
  6. Investment Criteria of Venture Capital companiesวารสารบริหารธุรกิจ. 2546. 98: 57-77
  7. Venture Capital: Venture Capital Industry in Thailand จุฬาลงกรณ์วารสาร. 2546. 60: 76-99
  8. Venture Capital: Venture Capital Industries Around the World จุฬาลงกรณ์วารสาร. 2545. 57: 81-98

อ้างอิง[แก้]

  1. "เว็บไซต์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-01. สืบค้นเมื่อ 2007-03-10.
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการแต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ
  3. เว็บไซต์บริษัทเงินทุน กรุงเทพธนาทร จำกัด(มหาชน)
  4. "เว็บไซต์สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-03-09.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๘๕, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]