สันนิบาตต่อต้านการแยกพม่าออกจากอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สันนิบาตต่อต้านการแยกพม่าออกจากอินเดีย (Anti-Separationist League) เป็นการรวมกลุ่มทางการเมืองในพม่า ที่ต้องการให้อังกฤษปกครองพม่าในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียต่อไป กลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและพระสงฆ์ แต่ความแตกแยกในหมู่ผู้นำ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ ในที่สุด อังกฤษได้แยกพม่าออกจากอินเดียเมื่อ พ.ศ. 2478

การปกครองพม่าของอังกฤษสมัยอาณานิคม[แก้]

แต่เดิมอังกฤษผนวกพม่าเป็นมณพลหนึ่งของอินเดีย เริ่มให้สิทธิปกครองตนเองแก่พม่าระดับหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2466 โดยจัดการปกครองในลักษณะรัฐบาลคู่ และแจ้งว่าเมื่อปกครองด้วยระบบนี้ได้สิบปีจะประเมินผลเพื่อจัดการปกครองพม่าให้เหมาะสมต่อไป อังกฤษเริ่มตั้งคณะกรรมการประเมินผลเมื่อ พ.ศ. 2472 ความเห็นของชาวพม่าในขณะนั้นแตกเป็นสองฝ่ายคือฝ่ายหนึ่งต้องการให้แยกพม่าออกมาจากอินเดีย อีกฝ่ายหนึ่งต้องการให้พม่ารวมตัวกับอินเดียไปอีกระยะหนึ่ง

การต่อต้านอังกฤษ[แก้]

กลุ่มที่ต้องการให้รวมพม่ากับอินเดียต่อไปก่อนแล้วค่อยแยกตัวออกมาภายหลังนี้ เป็นกลุ่มที่ไม่ไว้ใจและต่อต้านอังกฤษ ฐานเสียงส่วนใหญ่เป็นพวกพระสงฆ์หัวรุนแรงและประชาชนในชนบท กลุ่มนี้รวมตัวกันและจัดตั้งเป็นสันนิบาตต่อต้านการแยกพม่าออกจากอินเดียใน พ.ศ. 2475

สภานิติบัญญัติมีมติให้แยกพม่าออกจากอินเดียใน พ.ศ. 2473 แต่กลุ่มที่ต่อต้านไม่ยอมรับมติมีการรวมตัวกันต่อต้านจนต้องมีการประชุมกันใหม่ในปีต่อมา แต่ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ อังกฤษจึงจัดให้มีการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติใน พ.ศ. 2475 ซึ่งผลการเลือกตั้งปรากฏว่าฝ่ายต่อต้านการแยกตัวออกจากอินเดียเป็นฝ่ายชนะด้วยคะแนน 42 ต่อ 29 ที่นั่ง ฝ่ายอังกฤษไม่พอใจผลการเลือกตั้ง และพยายามขู่ว่าพม่ามางเลือกสองทางเท่านั้น คือแยกตัวออกจากอินเดียในตอนนี้หรือรวมตัวกับอินเดียต่อไปโดยไม่มีการแยกตัวออกมาอีก ความแตกแยกของฝ่ายต่อต้าน

ผลสุดท้าย[แก้]

จากแรงบีบคั้นของอังกฤษทำให้ผู้นำของสันนิบาตต่อต้านการแยกพม่าออกจากอินเดียเกิดความแตกแยกทางความคิด จนในที่สุด ดร.บามอว์และอูชิตฮไลน์ ผู้นำคนสำคัญของกลุ่มปฏิเสธการอภิปรายในสภาเกี่ยวกับเรื่องนี้ อิทธิพลของสันนิบาตต่อต้านการแยกพม่าออกจากอินเดียจึงลดลง ผลสุดท้าย อังกฤษอนุมัติให้พม่าแยกตัวออกจากอินเดียตามข้อเสนอของสภาใน พ.ศ. 2477 การต่อสู้ของสันนิบาตต่อต้านการแยกพม่าออกจากอินเดียจึงสิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้

อ้างอิง[แก้]

  • สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B กทม. ราชบัณฑิตยสถาน. 2539