เอกเทศสัญญา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สัญญามีชื่อ)

เอกเทศสัญญา (อังกฤษ: specific contract), หนี้เอกเทศ (อังกฤษ: specific obligation) หรือ สัญญามีชื่อ (อังกฤษ: nominated contract) เป็นศัพท์กฎหมาย หมายถึง หนี้หรือสัญญาประเภทที่กฎหมายขนานนามให้เป็นพิเศษ เพื่อวางกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเป็นการเอกเทศ ดังนั้น หนี้หรือสัญญาทั่วไปที่ไม่ปรากฏชื่อตามกฎหมาย จึงได้ชื่อว่า "สัญญาไม่มีชื่อ" (อังกฤษ: innominate contract) หรือ "หนี้สามัญ" (อังกฤษ: general obligation)

โดยปกติแล้ว กฎหมายจะวางบทบัญญัติครอบคลุมสัญญาและหนี้เป็นการทั่วไปก่อน เรียกบทบัญญัตินี้ว่า "บททั่วไป" ซึ่งจะใช้บังคับแก่ทุกกรณี และวางหลักเฉพาะเจาะจงสำหรับเรื่องพิเศษบางประเภท เรียกบทบัญญัตินี้ว่า "บทพิเศษ" ซึ่งต้องนำมาใช้ก่อนบททั่วไป เมื่อไม่มีบทพิเศษบัญญัติไว้จึงค่อยยกบททั่วไปมาใช้ เช่น ตามกฎหมายไทย ซื้อขายเป็นเอกเทศสัญญาที่มีบทบัญญัติกำหนดความสัมพันธ์ของคู่กรณีไว้เป็นบทพิเศษ แต่ไม่ได้กำหนดเรื่องการเกิดและการสิ้นสุดลงของสัญญา จึงต้องยกบททั่วไปที่เกี่ยวข้องมาใช้

เอกเทศสัญญาและหนี้เอกเทศนั้นเป็นบทบัญญัติจำพวกบทพิเศษ ส่วนสัญญาไม่มีชื่อและหนี้ทั่วไปคือสัญญาและหนี้ตามบททั่วไปนั่นเอง และเอกเทศสัญญาหรือหนี้เอกเทศจะมีประเภทใดบ้างนั้น ขึ้นอยู่กฎหมายของแต่ละประเทศ

ไทย ประเทศไทย[แก้]

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์[แก้]

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดประเภทของเอกเทศสัญญาไว้ในบรรพ 3 เอกเทศสัญญา ดังต่อไปนี้

กฎหมายอื่น ๆ[แก้]


อ้างอิง[แก้]

ภาษาไทย[แก้]

  • มานิตย์ จุมปา. (2548). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย. (พิมพ์ครั้งที่ 6) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • ราชบัณฑิตยสถาน.
    • (2543). พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. ISBN 9748123529.
    • (2544). พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. ISBN 9748123758.
    • (2551, 7 กุมภาพันธ์). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก เก็บถาวร 2009-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กันยายน 2552).
    • (ม.ป.ป.). ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กันยายน 2552).
  • สมยศ เชื้อไทย. (2551). คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
  • หยุด แสงอุทัย. (2535). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล.

ภาษาต่างประเทศ[แก้]

  • Cabinet Secretariat of Japan. (2009). Civil Code (Act No. 89 of 1896). [Online]. Available: <click>. (Accessed: 12 September 2009).
  • Langenscheidt Translation Service. (2009). German Civil Code. [Online]. Available: <click>. (Accessed: 12 September 2009).
  • Official Publisher of Quebec. (2009, 27 July). Civil Code of Quebec. [Online]. Available: <click เก็บถาวร 2012-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (Accessed: 12 September 2009).
  • R.A. No. 386 - Civil Code of the Philippines. (2009). [Online]. Available: <click เก็บถาวร 2010-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (Accessed: 26 September 2009).
  • Thailand Civil and Commercial Code (online). (n.d.). [Online]. Available: <click>. (Accessed: 26 September 2009).
  • The Napoleon Series. (2009). French Civil Code. [Online]. Available: <click>. (Accessed: 12 September 2009).
  • University of Girona. (2009). Spanish Civil Code. [Online]. Available: <click>. (Accessed: 12 September 2009).