สะพานเหล็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานดำรงสถิต
สะพานดำรงสถิตในปี พ.ศ. 2545
เส้นทางถนนเจริญกรุง
ข้ามคลองโอ่งอ่าง
ที่ตั้งแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และแขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
ชื่อทางการสะพานดำรงสถิต
ชื่ออื่นสะพานเหล็ก
ตั้งชื่อตามสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ผู้ดูแลกรุงเทพมหานคร
สถานะเปิดใช้งาน
เหนือน้ำอุโมงค์รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
ท้ายน้ำสะพานภาณุพันธุ์
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานแบบโค้ง
วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็ก
ทางเดิน2
ประวัติ
สร้างใหม่พ.ศ. 2438
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนสะพานดำรงสถิต
ขึ้นเมื่อ18 มีนาคม พ.ศ. 2518
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0000013
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานดำรงสถิต หรือสะพานเหล็กบน คือ สะพานเหล็กข้ามคลองรอบกรุง บริเวณคลองโอ่งอ่าง บนถนนเจริญกรุง ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีชื่อเรียกอย่างทางการว่า "สะพานดำรงสถิต"

ในปีพุทธศักราช 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนนเจริญกรุงและรื้อสร้างสะพานเหล็กใหม่เป็นสะพานโครงเหล็กเปิดได้ การก่อสร้างสะพานเหล็กบนทำให้ต้องมีการย้ายประตูและกำแพงวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ริมถนนเจริญกรุงบางส่วน จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "สะพานดำรงสถิต" เพื่อเป็นเกียรติแด่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำหรับสะพานเหล็กล่าง พระราชทานนามว่า "สะพานพิทยเสถียร" เพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดาซึ่งมีวังที่ประทับตั้งอยู่ใกล้กับสะพาน โดยทั้ง 2 สะพานนี้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ในฐานะแม่กองจัดสร้าง สิ้นเงินไปทั้งสิ้น 23,200 บาท และในปีพุทธศักราช 2518 ทั้ง 2 สะพานได้ถูกขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรให้เป็นโบราณสถานของชาติ

บริเวณเชิงสะพานเหล็ก และรวมไปถึงบริเวณใกล้เคียงคือ คลองถม เคยเป็นแหล่งค้าขายสินค้าที่คับคั่งมาก โดยเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์ มีสินค้าหลากหลายประเภท เช่น วิดีโอเกม, โมเดลตุ๊กตา, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ซีดี และสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์รวมถึงสื่อลามกอนาจารอีกจำนวนมาก จนกลายเป็นแหล่งการค้าที่เป็นที่รู้จักกันดี แต่ทว่าในช่วงปี พ.ศ. 2558 กรุงเทพมหานครมีนโยบายที่จะปรับปรุงภูมิทัศน์ของสองข้างทางคลองโอ่งอ่าง จึงมีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและร้านค้าทั้งหมด จึงเผยให้เป็นสภาพของตัวสะพานชัดเจน และรวมไปถึงสะพานอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ได้แก่ สะพานภาณุพันธ์, สะพานหัน และสะพานบพิตรพิมุข รวมถึงสะพานโอสถานนท์ ที่อยู่สุดปลายคลองบริเวณเชิงสะพานพระปกเกล้าฝั่งข้ามไปยังฝั่งธนบุรี ส่วนร้านค้าบางร้านก็ได้ย้ายทำเลขายไปอยู่ห้างเมก้า พลาซ่า ที่อยู่ใกล้ ๆ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′49″N 100°30′14″E / 13.746944°N 100.503889°E / 13.746944; 100.503889

จุดข้ามคลองรอบกรุงในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
อุโมงค์รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
สะพานดำรงสถิต
ท้ายน้ำ
สะพานภาณุพันธุ์