สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5
5th Thai–Lao Friendship Bridge
ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ–ໄທ V
แบบสะพานมิตรภาพไทย–ลาว แห่งที่ 5 ทางด้านฝั่งจังหวัดบึงกาฬ
เส้นทาง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 244
ข้ามแม่น้ำโขง
ที่ตั้งหมู่ที่ 7 และ 8 ต.บึงกาฬ ต.วิศิษฐ์ และต.ไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ, เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ ประเทศลาว
ชื่อทางการสะพานมิตรภาพ 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)
เหนือน้ำสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)
ท้ายน้ำสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน)
ข้อมูลจำเพาะ
วัสดุคอนกรีตอัดแรง
ความยาว1.35 กม. ขนาด 2 ช่องจราจร
ประวัติ
วันเริ่มสร้างธันวาคม พ.ศ. 2564
วันสร้างเสร็จพฤศจิกายน พ.ศ. 2567[ต้องการอ้างอิง]
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานมิตรภาพ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) (อังกฤษ: 5th Thai-Lao Friendship Bridge; ลาว: ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ 5) เป็นโครงการสะพานข้ามแม่น้ำโขงเพื่อเชื่อมมิตรภาพระหว่างไทยกับลาว เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2554 โครงการนี้จะข้ามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 บริเวณกิโลเมตรที่ 125+925 หมู่ 2 บ้านดอนยม ตำบลไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ข้ามแม่น้ำโขง และเชื่อมต่อทางหลวงหมายเลข 13 ที่บ้านกล้วย เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาทางหลวงของลาวที่จะก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองปากซันด้านตะวันออก

การก่อสร้าง[แก้]

แผนผังแสดงเส้นทางสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5

สำหรับเงินลงทุนโครงการอยู่ที่ 3,640 ล้านบาท หรือประมาณ 9.75 แสนล้านกีบ แยกเป็น ค่าก่อสร้างถนน 890 ล้านบาท (ฝั่งไทย 750 ล้านบาท และฝั่งลาว 140 ล้านบาท) งานสะพาน 1,510 ล้านบาท (ฝั่งไทย 860 ล้านบาท และฝั่งลาว 650 ล้านบาท) อาคารสำนักงานด่าน 1,000 ล้านบาท (ฝั่งละ 500 ล้านบาท) และค่าเวนคืน 240 ล้านบาท ซึ่งการก่อสร้างฝั่งไทยจะใช้เงินงบประมาณ ส่วนฝั่งลาวจะใช้เงินกู้[ต้องการอ้างอิง]

แนวเส้นทางจะสร้างอยู่บนพื้นที่ตำบลวิศิษฐ์ ตำบลไคสี และตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ อยู่ตรงข้ามกับเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ ประเทศลาว โดยรูปแบบการก่อสร้างจะมีสะพานข้ามแม่น้ำโขง 1 แห่ง ความยาว 1.35 กม. ขนาด 2 ช่องจราจร เชื่อมโยงระหว่างฝั่งไทยกับลาว พร้อมถนนตัดใหม่เป็นลักษณะถนนเลี่ยงเมือง ขนาด 4 ช่องจราจร ในฝั่งไทย เพื่อเชื่อมต่อกับทางหลวงสาย 222 (บึงกาฬ-พังโคน) จาก จ.หนองคาย ไปยัง จ.นครพนม และ จ.สกลนคร ส่วนฝั่งลาวจะเป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ระยะทาง 2.86 กม.[ต้องการอ้างอิง]

ทั้งโครงการมีระยะทางรวม 16.18 กม. แยกเป็น งานก่อสร้างฝั่งไทย 12.13 กม. และฝั่งลาว 3.18 กม. โดยแนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นที่ฝั่งไทย อยู่ที่จุดตัดทางหลวงสาย 222 กม.ที่ 123+430 ใกล้กับที่ดินกรมทางหลวง จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ผ่านพื้นที่เกษตรกรรม เลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับทางหลวงชนบทสาย 3217 ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านหนองนาแซง แล้วมุ่งหน้าไปยังทิศทางเดิม ตัดทางหลวงชนบทสาย 3013 ที่บ้านห้วยดอกไม้ ใกล้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยดอกไม้ แล้วมุ่งหน้าไปยังทิศทางเดิม ผ่านพื้นที่เกษตรกรรม และเลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านด่านพรมแดนฝั่งไทย บริเวณทิศตะวันออกของหนองกุดจับ ก่อนยกระดับข้ามทางหลวงสาย 212 กม.ที่ 125+925 ที่บ้านดอนยม อยู่ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำโขง ประมาณ 200 เมตร จุดที่ข้ามแม่น้ำโขงจะผ่าน ต.บึงกาฬ ต.วิศิษฐ์ และ ต.ไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ จะมีเวนคืนที่ดิน 620 ไร่ บริเวณฝั่งไทย เพื่อตัดถนนใหม่ จะผ่านจุดสลับทิศทางจราจร ข้ามด่านพรมแดนฝั่งลาว ทางฝั่งตะวันตกของหนองง้า และสิ้นสุดที่ทางหลวงสาย 13 กม.ที่ 136+677[ต้องการอ้างอิง]

โครงการสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ – บอลิคำไซ) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงฯ โดย กรมทางหลวง (ทล.) ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างโครงการฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555

ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าว และผู้แทนรัฐบาลทั้งสองประเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐมนตรีกระทรวงโยธาธิการและขนส่งแห่ง สปป.ลาว ได้มีการลงนามความตกลงว่าด้วยการก่อสร้าง ณ จังหวัดบึงกาฬ เพื่อกำหนดขอบเขตงานก่อสร้าง รวมทั้งกำหนดแนวทางในการบริหารโครงการก่อสร้างร่วมกัน ในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เริ่มการก่อสร้างในฝั่งไทย และฝั่งลาว ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2564[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 เชื่อมโยงบึงกาฬ - บอลิคำไซ". AEC10NEWS (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-10-30.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

สะพานข้ามแม่น้ำโขงในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5
ท้ายน้ำ
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3