ซะไกง์

พิกัด: 21°52′56″N 95°58′43″E / 21.88222°N 95.97861°E / 21.88222; 95.97861
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สะกาย)
ซะไกง์

စစ်ကိုင်းမြို့
นคร
สะพานอิรวดีข้ามแม่น้ำอิรวดี
สะพานอิรวดีข้ามแม่น้ำอิรวดี
ซะไกง์ตั้งอยู่ในประเทศพม่า
ซะไกง์
ซะไกง์
ที่ตั้งในประเทศพม่า
พิกัด: 21°52′56″N 95°58′43″E / 21.88222°N 95.97861°E / 21.88222; 95.97861
ประเทศธงของประเทศพม่า พม่า
ภาค ซะไกง์
ประชากร
 (ค.ศ. 2014)
307,194 คน
ประชากรศาสตร์
 • ศาสนาพุทธ
เขตเวลาUTC+6.30 (เวลามาตรฐานพม่า)

ซะไกง์[1] หรือ สะกาย[1] (พม่า: စစ်ကိုင်း, เอ็มแอลซีทีเอส: cac kuing:, ออกเสียง: [zəɡáɪɰ̃]) หรือที่ไทยเรียกว่า จักกาย และ สะแคง เป็นเมืองในภาคซะไกง์ ประเทศพม่า ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำอิรวดี ตรงข้ามกับเมืองอังวะ เมืองซะไกง์มีวัดทางพุทธศาสนาที่สำคัญหลายแห่ง เมืองสร้างขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เพื่อเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรซะไกง์ (ค.ศ. 1315–1364) ซึ่งเป็นหนึ่งในอาณาจักรเล็ก ๆ ที่ก่อตั้งขึ้นหลังการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม

ปัจจุบันเมืองซะไกง์มีประชากรประมาณ 70,000 คน มีเขตติดต่อใกล้กับเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งมีประชากรมากกว่า 1,022,000 คน ทำให้เมืองซะไกง์มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่รองรับประชากรจากมัณฑะเลย์

ชื่อ[แก้]

ชื่อเดิมของซะไกง์คือ เซยาปูระ (ဇေယျာပူရ; บาลี: ชยปุระ) ซึ่งหมายถึง "นครแห่งชัยชนะ"[2]

ประวัติ[แก้]

เมืองซะไกง์เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรซะไกง์ (ค.ศ. 1315–1364) หนึ่งในอาณาจักรขนาดเล็กที่เกิดขึ้นหลังการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม ก่อตั้งโดย อะทินคะยา พระราชโอรสองค์หนึ่งในพระเจ้าสีหตู[3]: 227  ต่อมาในสมัยอังวะ (ค.ศ. 1364–1555) นครนี้กลายเป็นที่ดินศักดินาของมกุฎราชกุมารหรือเจ้าชายอาวุโส หลังจากนั้นจึงกลายเป็นเมืองหลวงของพม่าระหว่าง ค.ศ. 1760–1763 ในรัชสมัยของพระเจ้ามังลอก และเคยเป็นเมืองที่ได้จัดให้ชาวอยุธยาซึ่งถูกกวาดต้อนมาหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 มาลงหลักปักฐาน

ณ วันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1988 ซะไกง์เป็นพื้นที่ประท้วงที่จบลงด้วยการสังหารหมู่ ซึ่งมีพลเมืองถูกสังหารราว 300 คน[4]

ภูมิอากาศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  2. Hardiman, John Percy (1901). Gazetteer of Upper Burma and the Shan States (ภาษาอังกฤษ). Superintendent, Government Printing, Burma.
  3. Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of south-east Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
  4. Irrawaddy article 1997 เก็บถาวร 2010-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. "World Meteorological Organization Climate Normals for 1991–2020". World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ 16 October 2023.