เบเนลักซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สหภาพเบเนลักซ์

ธงชาติBenelux
ธงอย่างไม่เป็นทางการ
สัญลักษณ์ของBenelux
สัญลักษณ์
ที่ตั้งของBenelux
ศูนย์อำนวยการ
และการรวมกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด
บรัสเซลส์
50°51′N 4°21′E / 50.850°N 4.350°E / 50.850; 4.350
ภาษาราชการดัตช์, ฝรั่งเศส[1]
ภาษาทางการอื่นเยอรมัน, ลักเซมเบิร์ก, ฟรีเชียตะวันตก, อังกฤษ, ปาเปียเมนตู
ประเภทสหภาพการเมืองสหภาพเศรษฐกิจ
ชาติสมาชิก
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
ก่อตั้ง
• ลงนามสนธิสัญญาปลอดภาษี
5 กันยายน 1944[2]
• สนธิสัญญาบังคับใช้
1 มกราคม 1948[2]
• ลงนามต่ออายุ
17 มิถุนายน 2008
• ต่ออายุบังคับใช้
1 มกราคม 2010
พื้นที่
• รวม
75,149 ตารางกิโลเมตร (29,015 ตารางไมล์)
ประชากร
• 2021 ประมาณ
29,903,464
394 ต่อตารางกิโลเมตร (1,020.5 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2021 (ประมาณ)
• รวม
1.757 ล้านล้านดอลลาร์[3]
58,773 ดอลลาร์
สกุลเงินยูโร (EUR)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (CEST)
ขับรถด้านขวามือ
เว็บไซต์
www.benelux.int
ดินแดนประเทศสมาชิกเบเนลักซ์

สหภาพเบเนลักซ์ (ดัตช์: Benelux Unie;[4] ฝรั่งเศส: Union Benelux;[5] ลักเซมเบิร์ก: Benelux-Unioun) หรือเรียกว่า เบเนลักซ์ เป็นกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ของสามประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก (Belgium, Netherlands, Luxembourg) โดยการนำเอาพยางค์หน้าชื่อของแต่ละประเทศดังกล่าวมาตั้งเป็นชื่อ "สหภาพปลอดภาษีเบเนลักซ์" (Benelux Customs Union) ปัจจุบันสหภาพเบเนลักซ์มีขนาด 74,102 ตร.กม. และมีจำนวนประชากร 27.1 ล้านคน

ประวัติ[แก้]

มีสนธิสัญญาการจัดตั้งสหภาพเบเนลักซ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 โดยคณะรัฐบาลของกลุ่มผู้พลัดถิ่นจากทั้งสามประเทศ ในกรุงลอนดอน และเข้ามามีอำนาจในปี พ.ศ. 2490 แต่ก็ยุติไปในปี พ.ศ. 2503 ซึ่งแทนที่โดย "สหภาพทางเศรษฐกิจเบเนลักซ์" (Benelux Economic Union) นำโดย "สหภาพทางเศรษฐกิจเบลเยียม-ลักเซมเบิร์ก" ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2464

ผลงานสำคัญ[แก้]

กลุ่มเบเนลักซ์เป็นผู้ริเริ่มในการก่อตั้งสหภาพยุโรป แม้ว่าการก่อตั้งสหภาพยุโรปจะเกิดขึ้นในภายหลัง (ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป ในปี พ.ศ. 2494, ประชาคมเศรษฐกิจแห่งยุโรป ในปี พ.ศ. 2500) ทั้งสามประเทศได้เป็นสมาชิกขององค์กรเหล่านี้ด้วย เช่นเดียวกันกับเยอรมันตะวันตก ฝรั่งเศส และอิตาลี ในหัวข้อที่ 306 ของสนธิสัญญาประชาคมแห่งยุโรป ได้กำหนดข้อเรียกร้องว่า ข้อกำหนดในสนธิสัญญาจะไม่ทำให้สถานะความสัมพันธ์ของเบลเยียมกับลักเซมเบิร์ก และ เบลเยียม ลักเซมเบิร์กและเนเธอร์แลนด์นั้นหมดสภาพลงไป นี่เป็นหัวใจความหลักที่ไม่เปลี่ยนแปลงของหัวข้อ IV-441 ในรัฐธรรมนูญของยุโรป

เรื่องภายใน[แก้]

รัฐสภาเบเนลักซ์ (ต้นแบบที่ให้คำปรึกษาแก่สภา) ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2498 โดยการประชุมของรัฐสภาจะประกอบไปด้วยสมาชิกมาจากรัฐสภาเนเธอร์แลนด์จำนวน 21 คน จากเบลเยียมจำนวน 21 คน และจากลักเซมเบิร์กจำนวน 7 คน

อ้างอิง[แก้]

  1. "Révision portant sur le traité de 1958" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). 2008. Article 38 : le français et le néerlandais sont les langues officielles des institutions de l'Union Benelux
  2. 2.0 2.1 Peaslee, Amos Jenkins; Xydis, Dorothy Peaslee (1974). International governmental organizations. BRILL. p. 165. ISBN 978-90-247-1601-2. สืบค้นเมื่อ 4 September 2011.
  3. https://www.imf.org/external/pubs/ft/weo/2018/01/weodata/weorept.aspx?sy=2016&ey=2023&scsm=1&ssd=1&sort=country&ds=.&br=0&pr1.x=71&pr1.y=8&c=137%2C124%2C138&s=NGDPD&grp=0&a= International Monetary Fund Statistics
  4. "Over de Benelux" (ภาษาดัตช์). Benelux. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-13. สืบค้นเมื่อ 2015-02-09. Dit alles onder een nieuwe naam: de Benelux Unie.
  5. "A propos du Benelux" (ภาษาฝรั่งเศส). Benelux. สืบค้นเมื่อ 2015-02-09. Le 17 juin 2008, un nouveau Traité Benelux était signé. Désormais, la coopération va se concentrer sur trois thèmes-clés: le marché intérieur & l'union économique, le développement durable et la justice & les affaires intérieures et tout ceci sous un nouveau nom: l'Union Benelux.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]