สงครามโคลน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สหภาพพิภพอิสระ)
แฟนคอสเพลย์เป็น โคลนทรูปเปอร์ ผู้บัญชาการโคดี โคลนทรูปเปอร์เป็นทหารเดินเท้าหลักของสาธารณรัฐกาแลกติกในช่วงสงครามโคลน

สงครามโคลน (อังกฤษ: Clone Wars) เป็นความขัดแย้งสมมติต่อเนื่องในแฟรนไชส์ สตาร์ วอร์ส ของ จอร์จ ลูคัส ถูกกล่าวถึงครั้งแรกสั้น ๆ ใน ภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส เรื่องแรก (ความหวังใหม่, ค.ศ. 1977) แต่ตัวสงครามนั้นยังไม่ได้ปรากฏให้เห็น จนกระทั่งใน กองทัพโคลนส์จู่โจม (ค.ศ. 2002) และ ซิธชำระแค้น (ค.ศ. 2005) สงครามโคลนยังเป็นฉากหลังของ แอนิเมชันชุดสองมิติ (ค.ศ. 2003–2005), ภาพยนตร์แอนิเมชันสามมิติ (ค.ศ. 2008) และ แอนิเมชันชุดสามมิติ (ค.ศ. 2008–2014, 2020) นอกจากนี้ก็ยังปรากฏในหนังสือและเกม สตาร์ วอร์ส อีกมากมาย

ภายในบริบทการบรรยายเรื่องของ สตาร์ วอร์ส สงครามโคลนเป็นสงครามที่ต่อสู้เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบดาวเคราะห์หลายพันดวงแยกตัวออกจาก สาธารณรัฐกาแลกติก และก่อตั้ง "สหภาพพิภพอิสระ" ซึ่งมักเรียกกันว่า "ฝ่ายแบ่งแยก" โดยสงครามกินเวลาทั้งหมดสามปี สาธารณรัฐใช้กองทัพของโคลนทรูปเปอร์ นำโดยนิกายเจได ต่อต้านหุ่นรบของฝ่ายแบ่งแยก ความขัดแย้งนี้เป็นแผนที่อยู่ภายใต้การบงการของ พัลพาทีน สมุหนายกของสาธารณรัฐ ซึ่งแท้จริงแล้วเขาเป็นซิธลอร์ด เขาแอบวางแผนที่มีมายาวนานของซิธ ในการกำจัดเจไดทั้งหมด และยึดครองกาแลกซี พัลพาทีนวางแผนนี้โดยการให้คำสั่งลับแก่โคลนทรูปเปอร์ ซึ่งรู้จักกันในนาม "คำสั่งที่ 66" ซึ่งฝังอยู่ในสมองของพวกเขา ทำให้พวกเขามองเจไดเป็นผู้ทรยศและฆ่าพวกเขาในทันที เขาสามารถออกคำสั่งนี้ได้สำเร็จใน ซิธชำระแค้น นำไปสู่การตายของเจไดจำนวนมากทั่วกาแลกซี ทำให้พัลพาทีนได้อำนาจและในที่สุดเขาก็เปลี่ยนระบอบการปกครองจากประชาธิปไตยของสาธารณรัฐกาแลกติก มาเป็นเผด็จการของจักรวรรดิกาแลกติก ซึ่งปกครองโดยกลุ่มอุตสาหกรรมทหาร และปรากฏใน สตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิม

ลูคัสใช้การเรื่องราวของสงครามโคลนในการตอบคำถามเรื่องราวในไตรภาคเดิม เช่น จักรวรรดิกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไรและอนาคิน สกายวอร์คเกอร์กลายเป็น ดาร์ธ เวเดอร์ ได้อย่างไร เหตุการณ์ทางการเมืองและการทหารของสงครามโคลน ได้รับแรงบันดาลใจจากความขัดแย้งในโลกแห่งความเป็นจริงและเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เช่น การเปลี่ยนผ่านจากสาธารณรัฐโรมัน เป็นจักรวรรดิโรมัน สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง รวมถึงเหตุการณ์ร่วมสมัย เช่น สงครามต่อต้านการก่อการร้าย และการบริหารของประธานาธิบดีบุช ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21

แนวคิดและการพัฒนา[แก้]

การอ้างอิงครั้งแรกถึงสงครามโคลนนั้นปรากฏอยู่ในบทร่างที่สามของ ภาพยนตร์เรื่องแรก โดยผู้สร้าง สตาร์ วอร์ส จอร์จ ลูคัส ซึ่งกล่าวถึง "ไดอารี่ของสงครามโคลน" ของนายพลเคโนบี[1] สงครามถูกกล่าวถึงเพียงสั้น ๆ สองครั้ง ในเวอร์ชันสุดท้ายของภาพยนตร์เรื่องนี้ กล่าวถึง โอบีวัน เคโนบี ทำหน้าที่เป็นนายพลที่รับใช้พ่อของ เลอา ออร์กานา (ซึ่งในตอนนั้นยังไม่มีชื่อ) เบล ออร์กานา ในช่วงระหว่างความขัดแย้ง[2] ในระหว่างการเขียนบทร่างของ จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ (ค.ศ. 1980) ลูคัสตัดสินใจแนะนำตัวละครโคลนที่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามโคลน[3] ในบทร่างแรกของ ลีห์ แบรกเกตต์ ได้พัฒนาตัวละคร แลนโด คาลริสเซียน ให้เป็นโคลนจากดาวเคราะห์โคลนที่เกี่ยวข้องกับสงครามโคลนที่กล่าวถึงใน ความหวังใหม่ และเกือบจะสูญพันธุ์จากสงคราม[4] นอกจากนี้ โบบา เฟทท์ ก็เคยได้รับการพิจารณาให้เป็นโคลนที่มาจากกลุ่ม ช็อกทรูปเปอร์ ที่เกือบจะถูกเจไดกวาดล้างจนหมดในช่วงสงครามโคลน[5] อย่างไรก็ตาม แนวคิดเหล่านี้ไม่รวมอยู่ในเวอร์ชันสุดท้ายของภาพยนตร์ ลูคัสปกปิดรายละเอียดของสงครามโคลนมากกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ ของ สตาร์ วอร์ส[6] ถึงขนาดว่า ไม่ให้เรื่องนี้ปรากฏอยู่ในผลิตภัณฑ์และหนังสือที่ได้รับอนุญาต[7]

ลูคัสได้กล่าวถึงการขึ้นมามีอำนาจของพัลพาทีนว่าเหมือนกับ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในนาซีเยอรมนี; ในฐานะของนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ฮิตเลอร์ได้รับ "อำนาจฉุกเฉิน" ดังเช่นพัลพาทีน[8] นอกจากนี้ ลูคัสยังกล่าวว่าหนึ่งในอิทธิพลหลักที่มีต่อพื้นหลังทางการเมืองของสงครามโคลน รวมถึง สตาร์ วอร์ส ทั้งหมดนั้น คือช่วงยุคสงครามเวียดนาม และคดีวอเตอร์เกต ซึ่งผู้นำโอบรับการทุจริตคอรัปชัน โดยคิดว่าเป็นการกระทำที่ดีที่สุด[9][10] ในปี ค.ศ. 2002 ลูคัสกล่าวว่า:

ประชาธิปไตยทั้งหมดนั้นกลายเป็นเผด็จการ—แต่ไม่ใช่จากรัฐประหาร ผู้คนต่างมอบประชาธิปไตยของพวกเขาให้กับผู้เผด็จการ ไม่ว่าจะเป็น จูเลียส ซีซาร์ หรือ นโปเลียน หรือ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในท้ายที่สุด ประชากรส่วนใหญ่ก็ตามน้ำไปกับแนวคิดนั้น และอะไรล่ะที่สามารถผลักดันผู้คนและสถาบันต่าง ๆ ให้ไปในทิศทางนี้? นั่นแหละคือปัญหา ผมกำลังสำรวจถึง: สาธารณรัฐกลายเป็นจักรวรรดิได้อย่างไร? ... เพราะเหตุใดคนดีถึงกลายเป็นคนชั่ว และประชาธิปไตยกลายเป็นเผด็จการได้อย่างไร?[11]

หน่วยโคลนซึ่งโผล่มาในบทสรุปของ กองทัพโคลนส์จู่โจม นั้นประกอบด้วยกองทัพในรูปแบบดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดสำหรับภาพยนตร์ ณ ตอนนั้น[12] ลูคัสเสนอต่อศิลปินภาพแนวคิดว่า ซิธชำระแค้น จะเปิดตัวด้วยการรวมของเจ็ดยุทธการ บนเจ็ดดาวเคราะห์[13] หลังจากนั้น ลูคัสจึงจัดระเบียบโครงเรื่องใหม่ตั้งแต่รากฐาน;[14] แทนที่จะเปิดฉากภาพยนตร์ด้วยยุทธการต่าง ๆ ในสงครามโคลน ลูคัสตัดสินใจที่จะโฟกัสที่อนาคิน สกายวอล์คเกอร์[15] การหายไปของ "เจ็ดยุทธการ บนเจ็ดดาวเคราะห์" ทั้งส่วนนั้น ทำให้ลูคัสตัดสินใจที่จะเปิดตัวซีรีส์โทรทัศน์แอนิเมชันผ่านซีจี สงครามมนุษย์โคลน; ลูคัสกล่าวว่าการ์ตูนนี้สามารถ "ทำได้ดีกว่า" ในเรื่องของการบรรยายความขัดแย้ง[16]

การบรรยาย[แก้]

สหภาพพิภพอิสระ
ตราแผ่นดินของสหภาพพิภพอิสระ
จักรวาลสตาร์ วอร์ส
ประเภทสหภาพ, พันธมิตรเคลื่อนไหวเพื่อการแบ่งแยกดินแดน
ก่อตั้ง
  • 24 ปีก่อนยุทธการยาวิน (สร้าง)
  • 22 ปีก่อนยุทธการยาวิน (ก่อตั้งอย่างเป็นทางการ)
เป้าหมายถูกรวมเข้ากับจักรวรรดิกาแลกติกในปีที่ 19 ก่อนยุทธการยาวิน
สถานที่ตั้งกาแลกซีในสตาร์ วอร์ส (ริมนอก)
ผู้นำดาร์ธ ซีเดียส (22-19 ปีก่อนยุทธการยาวิน; อย่างลับ ๆ)

ผู้นำพันธมิตร:

บุคคลสำคัญ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนิกายซิธ (อย่างลับ ๆ)
ศัตรู

สงครามโคลนถูกบรรยายภาพเป็นครั้งแรกใน กองทัพโคลนส์จู่โจม ซึ่งเป็นการเปิดตัวที่นำไปสู่การจบลงของการปิดบังของลูคัส เรื่องสินค้าต่าง ๆ ที่ยึดตามยุคนั้น โดยนวนิยาย หนังสือการ์ตูน และวิดีโอเกมจำนวนมากนั้นได้รับการอนุมัติโดยลูคัสไลเซนซิง

ภาพยนตร์[แก้]

สงครามโคลนถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกใน ความหวังใหม่ ในระหว่างที่โอบีวินอธิบายให้ลุคฟังว่าพ่อของเขาเคยสู้ในสงครามนี้ ซึ่งลุคแสดงท่าทีสงสัย สงครามนี้ถูกกล่าวถึงอีกครั้งโดยเลอาในข้อความของเธอที่บอกว่าโอบีวันรับใช้พ่อของเธอ ผู้ซึ่งภายหลังถูกระบุตัวว่าเป็นเบล ออร์กานา ในสงครามโคลน[2]

กองทัพโคลนส์จู่โจม ซึ่งดำเนินเรื่องในช่วงต้นของสงครามโคลน เปิดฉากด้วยความกังวลของสาธารณรัฐกาแลกติกเกี่ยวการการแยกตัวของระบบดาวนับพันระบบ เพื่อรวมตัวเป็นสหภาพพิภพอิสระ ซึ่งถูกนำอย่างเปิดเผยโดยเคานต์ดูกู สมุหนายกพัลพาทีนชักใยให้ จาร์ จาร์ บิงคส์ และสมาชิกวุฒิสภากาแลกติกคนอื่น ๆ มอบอำนาจฉุกเฉินให้แก่เขา ในตอนที่กำลังสืบสวนเรื่องการพยายามลอบสังการสมาชิกวุฒิสภา แพดเม่ อมิดาลา โอบีวันพบว่าดูกูสวมรอยเป็นปรมาจารย์เจไดซึ่งตายไปแล้ว เพื่อจัดการสร้างกองทัพโคลนในนามของสาธารณรัฐอย่างลับ ๆ โยดา นำกองทัพโคลนเพื่อช่วยเหลือโอบีวัน แพดเม่ และอนาคิน สกายวอร์คเกอร์จากฝ่ายแบ่งแยก บนดาวจีโอโนซิส และจึงเกิดเป็นยุทธการแรกของสงครามนี้ ณ บทสรุปของศึกนี้ โยดาประกาศว่า:"ได้เริ่มต้นขึ้น สงครามโคลนนั้น" ในฉากสุดท้ายของภาพยนตร์ อนาคิน และแพดเม่ได้แต่งงานกันอย่างลับ ๆ ขัดต่อคำสาบานของเจได[18]

ซิธชำระแค้น นั้นแสดงถึงช่วงสุดท้ายของสงครามโคลนซึ่งกินระยะเวลาถึงสามปี ที่ซึ่งโคลนทรูปเปอร์และนายพลเจไดของพวกเขาต่อสู้กับกองทัพดรอยด์ของฝ่ายแบ่งแยก หลังจากฆ่าดูกูและช่วยเหลือพัลพาทีนจากฝ่ายแบ่งแยกในระหว่างการโจมตีของฝ่ายแบ่งแยกบนดาวคอรัสซัง อนาคินได้เรียนรู้ว่าแพดเม่ตั้งครรภ์ เขารู้สึกทุกข์ใจหลังจากมีนิมิตว่าเธอตายในตอนคลอดลูก และพัลพาทันหลอกล่อให้อนาคินเข้าสู่ด้านมืดแห่งพลัง โดยการสัญญาว่าจะสอนเขาให้สามารถป้องการการตายก่อนเวลาอันควรของเธอได้ ในระหว่างนั้น โยดาถูกส่งตัวไปที่ดาวคาชีค เพื่อไล่การรุกรานของฝ่ายแบ่งแยก และโอบีวันถูกส่งตัวไปที่ดาวยูทาเปา ที่ซึ่งเขาสังหารนายพลกรีวัส อนาคินค้นพบว่าพัลพาทีนเป็นซิธลอร์ด ดาร์ธ ซีเดียส แต่เขาปกป้องพัลพาทีนจากเมซ วินดู เพราะเขาต้องการความรู้จากซีเดียสในการช่วยแพดเม่ หลังจากซีเดียสสังหารวินดู ซีเดียสแต่งตั้งให้อนาคินเป็นลูกศิษย์คนใหม่ของเขา นามว่า ดาร์ธ เวเดอร์ ซีเดยสออกคำสั่งที่ 66 ให้แก่โคลนทรูปเปอร์ และโคลนเหล่านั้นสังหารนายพลเจไดทั่วทั้งกาแลกซี หลังจากนั้น ซีเดียสจึงส่งเวเดอร์ไปยังวิหารเจได พร้อมกับกลุ่มโคลนทรูปเปอร์เพื่อสังหารเจไดและพาดาวันที่เหลืออยู่ในวิหาร ก่อนที่จะส่งเวเดอร์ไปสังหารเหล่าผู้นำฝ่ายแบ่งแยกบนดาวมุสตาฟาร์ และออก "คำสั่งปิด" กองทัพดรอยด์ของพวกเขา ด้วยการตายของพวกเขานั้น ซีเดียสประกาศยุติสงครามโคลน และการปฏิรูปสาธารณรัฐเป็นจักรวรรดิกาแลกติก[19]

แอนิเมชัน[แก้]

สงครามมนุษย์โคลน[แก้]

ซีรีส์แอนิเมชันสองมิติ สงครามมนุษย์โคลน (ค.ศ. 2003–2005) บรรยายภาพยุทธการต่าง ๆ ในสงครามโคลน และตั้งใจให้เป็นสิ่งสร้างความสนใจใน ซิธชำระแค้น นอกจากนี้ ซีรีส์นี้ยังบรรยายภาพเหตุการณ์ที่นำไปสู่ยุทธการในฉากเปิดของ ซิธชำระแค้น และการที่พัลพาทีนถูกจับตัวโดยนายพลกรีวัส ซีรีส์นี้ถูกปล่อยในรูปแบบโฮมวิดีโอที่มีสองตอน

ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2014 นั้น ซีรีส์ดั้งเดิม สงครามมนุษย์โคลน ไม่ถูกจัดอยู่ในจักรวาลหลัก บริษัทเดอะวอล์ตดิสนีย์ ประกาศว่างานทั้งหมดของ สตาร์ วอร์ส และสินค้า ยกเว้นภาพยนตร์ในไตรภาคเดิม และไตรภาคต้น และ เดอะ โคลน วอร์ส ในภายหลังนั้น เป็นส่วนหนึ่งของตำนานสตาร์ วอร์ส ที่แยกออกไปต่างหาก

เดอะ โคลน วอร์ส[แก้]

หลายปีต่อมา ลูคัสตัดสินใจที่จะสร้างซีรีส์เกี่ยวการสงครามโคลนใหม่ ในรูปแบบของแอนิเมชันสามมิติ ซึ่งพัฒนาโดยเดฟ ฟิโลนี หลังจากสร้างซีรีส์โทรทัศน์ใหม่นี้มาหลายปี ลูคัสตัดสินใจที่จะแยกสี่ตอนแรกออกมาเป็นภาพยนตร์เดี่ยว[20] ภาพยนตร์นี้ ซึ่งฉายในปี ค.ศ. 2008 นั้น แนะนำอาโซกา ทาโน ในฐานะลูกศิษย์ของอนาคิน และบรรยายภาพเกี่ยวกับสาธารณรัฐและฝ่ายแบ่งแยกสู้กันและพยายามที่จะได้รับอนุญาตในการเดินทางผ่านดินแดนของแจบบา เดอะ ฮัทท์

ซีรีส์โทรทัศน์ที่ตามมาหลังจากนั้น (ค.ศ. 2008–2014, 2020) ได้ดำเนินเรื่องโดยมีฉากหลังเป็นสงครามโคลนเช่นเดียวกัน ด้วยซีซันสุดท้ายของซีรีส์ที่ดำเนินเรื่องพร้อมกับช่วงจุดสำคัญของ ซิธชำระแค้น รายการนี้ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างกองทัพโคลน, ทำให้โคลนแต่ละนายเป็นตัวละครที่แตกต่างกัน, บรรยายภาพการเผชิญหน้ามากมายและพัฒนาการจากความขัดแย้ง, และแสดงถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างโคลนทรูปเปอร์และผู้บัญชาการเจไดของพวกเขา ยกตัวอย่าง เช่น ซีรีส์นี้เปิดเผยว่าโคลนแต่ละนายมี "ชิพยับยั้ง" ในร่างของเขาซึ่งทำให้พวกเขาเชื่อฟังต่อคำสั่งที่ 66

ทีมโคตรโคลนมหากาฬ[แก้]

ทีมโคตรโคลนมหากาฬ เริ่มต้นไม่นานหลังจากจุดจบของสงครามโคลน ด้วยการออกคำสั่งที่ 66 ซึ่งระบุไว้ว่าเจไดเป็นผู้ทรยศและนำไปสู่การกำจัดพวกเขาอย่างกว้างขวางโดยโคลนทรูปเปอร์ของพวกเขาเอง ซึ่งได้รับการโปรแกรมให้เชื่อฟังคำสั่งนี้ แบดแบทช์ซึ่งมีพันธุกรรมที่แตกต่างและได้พัฒนาการต้านทานต่อโปรแกรมนี้ พบว่าพวกเขาต้องต่อสู้กับตัวตนของพวกเขาและความภักดี หลังจากรู้ถึงจุดจบของสาธารณรัฐ

ซีรีส์นี้สำรวจถึงผลกระทบของคำสั่งที่ 66, การขึ้นมามีอำนาจของจักรวรรดิกาแลกติก, และกาแลกซีว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไรภายใต้การปกครองของจักรพรรดิพัลพาทีน นอกจากนี้ ซีรีส์นี้ยังสำรวจการเปลี่ยนผ่านจากโคลนทรูปเปอร์สู่สตอร์มทรูปเปอร์ในจักรวาลสตาร์ วอร์ส ด้วยจักรวรรดิเปลี่ยนจากการผลิตโคลนไปเป็นการเกณฑ์ทหารแทน[21][22]

คนแสดง[แก้]

เดอะแมนดาลอเรียน[แก้]

ซีรีส์ เดอะแมนดาลอเรียน มีทั้งฉากย้อนของกองทัพดรอยด์ของฝ่ายแบ่งแยกในช่วงสงครามโคลน รวมถึงความทรงจำของโกรกูเกี่ยวกับคำสั่งที่ 66 บนดาวคอรัสซัง[23][24]

อาโซกา[แก้]

สงครามโคลนนั้นมีอยู่ในตอนที่ 5 ของ อาโซกา ซึ่งมีภาพย้อนหลังที่น่าจะเกิดบนดาวไรลอธ โดยอ้างถึงประสบการณ์ของอาโซกาใน เดอะ โคลน วอร์ส ในรูปแบบคนแสดง นอกจากนี้ยังมีฉากเกี่ยวกับการล้อมแมนดาลอร์อันโด่งดังอีกด้วย[25][26]

นวนิยาย[แก้]

นวนิยายปี ค.ศ. 2008 เรื่อง สตาร์ วอร์ส: สงครามโคลน โดยคาเรน เทรวิส[27] นั้นเป็นจุดเริ่มต้นของนวนิยายชุดที่ประกอบไปด้วยนวนิยายห้าภาค ซึ่งเขียนโดยเทรวิสและคาเรน มิลเลอร์ และถูกตีพิมพ์โดย เดล เรย์ บุ๊กส์ ระหว่างปี ค.ศ. 2008 ถึง 2010 นิยายเรื่อง สงครามโคลน: ไวลด์สเปซ (ค.ศ. 2008) นั้นเขียนโดยมิลเลอร์ และโฟกัสในเรื่องของโอบีวันและเบล ออร์กานา[a] หลังจากนั้น เทรวิสกลับมาเพื่อเขียน สงครามโคลน: โนพริซันเนอร์ส (ค.ศ. 2009) ที่ซึ่ง อาโซกาถูกสั่งให้อยู่ใต้บังคับบัญชากัปตันเร็กซ์แบบชั่วคราว สุดท้าย มิลเลอร์เขียนนิยายสองตอนเรื่อง สงครามโคลน: แกมบิท (ค.ศ. 2010) โดยมีชื่อเรื่องรองชื่อ สเตลธ์ และ ซีจ ซึ่งดำเนินเรื่องเกี่ยวกับอาวุธชีวภาพจากนายพลชาวเนมอยเดียน ล็อก เดิร์ด[28][b]

นวนิยายเรื่อง ดาร์กดิสซิเพิล (ค.ศ. 2015) เป็นการนำโครงเรื่องที่เกี่ยวกับอาซาจ เวนเทรส และควินแลน วอส จากตอนของ เดอะ โคลน วอร์ส ที่ทำไม่เสร็จ มาทำเป็นนวนิยายแทน[29] แคทาลิสท์: อะ โร้ค วัน โนเวล (ค.ศ. 2016) นั้นดำเนินเรื่องในช่วงสงครามโคลนและสองสามปีถัดมา[30] ธรอว์น: อัลไลแอนซ์ (ค.ศ. 2018) มีฉากย้อนหลังถึงปีสุดท้ายของสงครามโคลน โดยมีอนาคิน, แพดเม่, และธรอว์น[31]บราเธอร์ฮูด (ค.ศ. 2022) ดำเนินเรื่องในช่วงสงครามโคลน โดยโฟกัสที่โอบีวัน และอนาคิน

หนังสือการ์ตูน[แก้]

ดาร์กฮอสคอมิกส์ ตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนต่าง ๆ ที่ดำเนินเรื่องในยุคนี้ ซึ่งหลาย ๆ เล่มนั้นถูกรวมมาเป็นชุดของหนังสือปกอ่อนที่มี 9 เล่ม นอกจากนี้ ดาร์กออสยังตีพิมพ์นวนิยายพร้อมภาพประกอบแบบชุดที่มี 10 เล่ม ชื่อ โคลน วอร์ส –แอดเวนเทอร์ส (ค.ศ. 2004–2007) โดยใช้รูปแบบจากซีรีส์แอนิเมชันสองมิติ และบรรยายถึงเรื่องราวดั้งเดิมที่ดำเนินในยุคนี้[32] ชุดของหนังสือการ์ตูนที่เชื่อมโยงกับซีรีส์แอนิเมชันสามมิติ ถูกตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 2008 ถึง 2010 โดยมีสามเล่ม และมีการเสริมเนื้อหาโดยชุดของหนังสือนวนิยายที่มีภาพ 11 เล่ม ซึ่งตีพิมพ์ระหว่างช่วงปี ค.ศ. 2008 และ 2013

หนังสือการ์ตูนชุดของมาร์เวล เคนัน (หรือบางครั้งมีชื่อรองว่า เดอะลาสต์พาดาวัน) บรรยายตัวละครใน สตาร์ วอร์ส เรเบลส์ เคนัน จาร์รัส ในฐานะเจไดพาดาวัน เคเลป ดูม ในช่วงของความขัดแย้ง

วิดีโอเกม[แก้]

นอกจากนี้ ลูคัสอารทส์ ยังสร้างเกมต่าง ๆ เช่น รีพับลิก คอมมานโด และ เดอะ โคลน วอร์ส ซึ่งบรรยายถึงความขัดแย้งนี้

บทวิเคราะห์[แก้]

มีการเปรียบเทียบเกิดขึ้นมากมายระหว่างมุมมองด้านการเมืองของสงครามโคลน และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง ในบทความของนักจัดรายการวิทยุ ไคลดด์ ลูอีส ได้กล่าวถึงความเหมือนทางประวัติศาสตร์ในสตาร์ วอร์ส ว่าแผนการของ พัลพาทีน นั้นคล้ายคลังกับ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และนาซีเยอรมนี; ผู้นำทั้งสองใช้สงครามและสร้างแพระรับบาปขึ้นเพื่อชักจูงฐานะทางอารมณ์ของสังคม ทำให้ผู้นำได้รับทั้งแรงสนับสนุนและอำนาจ[33] ผู้เขียนอีกรายหนึ่งเปรียบเทียบสงครามโคลนกับสงครามโลกครั้งที่สองโดยทั่วไป โดยการตั้งคำถามโดยทั่วไปของเขานั้นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่าลูคัสเป็นเบบี้บูมเมอร์ และช่วงยุคมืดที่ถูกแสดงในไตรภาคเดิมนั้นคล้ายคลึงกับช่วงที่มืดมืนและไม่แน่นอน ของสงครามเย็น[34] โดยยึดถามคำกล่าวของลูคัสที่ว่าความขัดแย้งในสตาร์ วอร์ส นั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากพื้นหลังทางวัฒนธรรมของสงครามเวียดนาม นักข่าว คริสต์ เทเลอร์ กล่าวว่าสงครามโคลนนั้นเหมือนกับสงครามโลกครั้งที่สอง[6] แอน แลนคาเชียร์ จากมหาวิทยาลัยโทรอนโต ยังชี้ให้เห็นถึงการให้ชื่อที่คล้ายคลึงระหว่างสงครามโคลนและสงครามกลางเมืองอเมริกา[35]

หลายสำนักพิมพ์ได้เปรียบเทียบบริบททางการเมืองของสงครามโคลนกับสงครามอิรัก โดยอ้างว่ากาแลกซีสตาร์ วอร์ส ภายตายการปกครองของพัลพาทีนผู้ลวงโลกนั้น เปรียบเทียบได้กับปัญหาสมัยใหม่ของสหรัฐ บทบรรณธิการหนึ่งบนเว็บไซต์ Antiwar.com ได้กล่าวว่า สตาร์ วอร์ส "สร้างหลักฐานที่เห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปก่อนว่า การโค่นล้มรัฐบาลที่กดขี่นั้นถูกต้อง ก่อนที่จะพูดถึงบางสิ่งที่น่าอึดอัดใจมากกว่า – นั่นคือเผด็จการคอรัปชันที่อ้างถึงนั้นคือพวกเราเองมากกว่า"[36] นอกจากนี้ บทความจาด ไวร์แท็ป อ้างว่า "ดังเช่นพัลพาทีนนั้น การบริหารของประธานาธิบดีบุชนั้นสามารถสร้างความหวาดกลัวให้แก่ผู้คน เพื่อให้สามารถได้รับอำนาจที่มากขึ้นได้"[37] ลูคัสกล่าวว่าสงครามอิรักนั้น "ไม่มีตัวตน" ในตอนที่เขาพัฒนาสงครามโคลน[38] แต่เขานั้นก็เห็นถึงความเหมือนระหว่างสงครามเวียดนามซึ่งเป็นแบบอย่างให้ สตาร์ วอร์ส และสงครามที่เกิดขึ้นในอิรัก[39] หนึ่งในผู้สร้างสตาร์ วอร์ส ริก แม็คคอลลัม ออกมายืนยันว่าสงครามโคลนนั้นพัฒนามาก่อนสงครามอิรัก และยังเพิ่มเติมว่าลูคัส "เป็นผลิตผลที่เกิดจากเวียนนาม"[40]

ผลกระทบและผลตอบรับของนักวิจารณ์[แก้]

คริส เทย์เลอร์ ผู้แต่งหนังสือ ฮาวสตาร์ วอร์สคองเคอรด์เดอะยูนิเวิร์ส เรียกสงครามโคลนว่า "เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของตำนานในสตาร์ วอร์ส"[41] ในความพยายามที่จะรักษาสายผลิตภัณฑ์ของเล่นของ สตาร์ วอร์ส ให้ยังคงอยู่ หลังจาก ชัยชนะของเจได (ค.ศ. 1983) เคนเนอร์คิดค้นเส้นเรื่องราวที่จะเกี่ยวข้องกับการกลับมาของ "ผู้ก่อการร้ายทางพันธุกรรม" ที่โดยเนรเทศไป และเหล่านักรบโคลนของเขา[42]

ทิโมธิ ซาห์น กล่าวว่าการปรากฏตัวเพื่อต่อสู้เพื่อ "เหล่าคนดี" ที่พวกเขาคาดไม่ถึง ใน กองทัพโคลนส์จู่โจม นั้น—ถึงจะมีความคาดหมายจากแฟน ๆ มาหลายปีว่าโคลนเป็นกลุ่มกำลังรุกราน—เป็นสิ่งที่ "น่าอัศจรรย์"[13] หลังจากเห็นรายการโทรทัศน์ซีจีเรื่อง เดอะ โคลน วอร์ส แล้ว ซานห์รู้สึกรู้สึกยินดีที่ลูคัสฟิล์มตีกลับบทร่างแรกเรื่อง แอร์ทูดิเอมไพร์ ของเขา ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับโคลนที่บ้าบิ่นของโอบีวันที่สร้างขึ้นในช่วงของความขาดแย้ง

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ [แก้]

  1. บทเริ่มต้นนั้นกล่าวถึงผลกระทบหลังยุทธการจีโอโนซิส; ส่วนที่เหลือของหนังสือดำเนินเหตุการณ์ต่อจากเหตุการณ์ในภาพยนตร์แอนิเมชัน
  2. แสดงโดย จอร์จ เทเค ในภาพยนตร์ชุด ค.ศ. 2008[28]

อ้างอิง[แก้]

  1. Taylor 2014, p. 122
  2. 2.0 2.1 "What are the Clone Wars?". StarWars.com. LucasFilm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2006. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015.
  3. Taylor 2014, p. 231
  4. Bouzereau, Laurent (1997). Star Wars: The Annotated History. Ballantine Books. p. 196. ISBN 978-0345409812.
  5. Kaminski 2007, p. 171
  6. 6.0 6.1 Taylor 2014, p. 124
  7. Taylor 2014, pp. 288–289
  8. Star Wars: Episode III – Revenge of the Sith DVD commentary featuring George Lucas, Rick McCallum, Rob Coleman, John Knoll and Roger Guyett, [2005]
  9. Germain, David (May 16, 2005). "'Wars' Raises Questions on US Policy". Backstage. Backstage, LLC. Associated Press. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016.
  10. Burns, Chris (May 16, 2005). "Lucas on Iraq war, 'Star Wars'". CNN. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016.
  11. Corliss, Richard; Cagle, Jess; Ressner, Jeffrey (April 29, 2002). "Dark Victory". Time. Vol. 159 no. 17. ISSN 0040-781X. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016 – โดยทาง EBSCOhost.
  12. Taylor 2014, p. 338
  13. 13.0 13.1 Rinzler 2005, pp. 13–15
  14. Rinzler 2005, p. 36
  15. Kaminski 2008, pp. 380–384
  16. Taylor 2014, p. 375
  17. "Confederacy of Independent Systems". StarWars Databank. สืบค้นเมื่อ 20 December 2022.
  18. Lucas, George, director. Star Wars: Episode II – Attack of the Clones. Lucasfilm Ltd., 2002.
  19. Lucas, George, director. Star Wars: Episode III – Revenge of the Sith. Lucasfilm Ltd., 2005.
  20. Taylor 2014, p. 470
  21. "'Star Wars' finally reveals the switch from clones to stormtroopers". EW.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-03-19.
  22. Gullickson, Brad (2021-08-06). "'The Bad Batch' Puts the Final Nail in the 'Clone Wars' Coffin". Film School Rejects (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-03-19.
  23. Horton, Cole; Hidalgo, Pablo; Zehr, Dan (2020). The Star Wars Book: Expand your knowledge of a galaxy far, far away. DK (ตีพิมพ์ 2020-10-20). ISBN 9781465497901.
  24. Horton, Cole; Hidalgo, Pablo; Zehr, Dan (2020). The Star Wars Book: Expand your knowledge of a galaxy far, far away. DK (ตีพิมพ์ 2020-10-20). ISBN 9781465497901.
  25. Glazebrook, Lewis (2023-09-13). ""I Am Not Okay": Star Wars Fans Mind-Blown By Ahsoka Episode 5 Flashback Scenes". ScreenRant (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-03-19.
  26. Stevenson, Rick (2023-09-14). "Ahsoka Episode 5: Where Does THAT Flashback Take Place?". Looper (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-03-19.
  27. "Del Rey & LucasBooks announce Clone Wars Novels". StarWars.com. June 25, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 3, 2008. สืบค้นเมื่อ October 21, 2019.
  28. 28.0 28.1 "Books – Reviews | The Clone Wars: Gambit: Stealth". TheForce.net. สืบค้นเมื่อ November 14, 2019.
  29. "Ventress and Vos' Greatest Hits: A Dark Disciple Refresher". StarWars.com. Lucasfilm. July 13, 2015. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
  30. Hall, Jacob (November 23, 2016). "Everything You Need to Know About Star Wars Catalyst". /Film. สืบค้นเมื่อ November 24, 2019.
  31. Liptak, Andrew (July 25, 2018). "Star Wars author Timothy Zahn on Thrawn: Alliances and toxic fandom". The Verge. สืบค้นเมื่อ November 21, 2019.
  32. "Search :: Dark Horse Comics". Dark Horse. สืบค้นเมื่อ October 30, 2019.
  33. Lewis, Clyde (2005). "The Sith Sense". Ground Zero. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2011. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016.
  34. Chambers, Stephen (April 18, 2006). "Star Wars As Baby Boomer Script". Radical Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 17, 2007. สืบค้นเมื่อ July 6, 2006.[ลิงก์เสีย]
  35. Lancashire, Anne (2002). "Attack of the Clones and the Politics of Star Wars". The Dalhousie Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 6, 2012. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016.
  36. Horton, Scott (May 23, 2005). "Star Wars and the American Empire". AntiWar.com. Randolph Bourne Institute. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016.
  37. Fanelli, Brian (June 21, 2005). "U.S. Politics in "A Galaxy Far, Far Away"". AlterNet. Independent Media Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2017. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016.
  38. Germain, David (May 16, 2005). "'Wars' Raises Questions on US Policy". Backstage. Backstage, LLC. Associated Press. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016.
  39. Burns, Chris (May 16, 2005). "Lucas on Iraq war, 'Star Wars'". CNN. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016.
  40. Lammers, Tim (November 2, 2005). "DVD Is Hardly End For 'Sith' Producer McCallum". KIROTV.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 17, 2007. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016.
  41. Taylor 2014, p. 123
  42. Taylor 2014, p. 280

บรรณานุกรม[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]