สหภาพประชาธิปไตยปาเลสไตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สหภาพประชาธิปไตยปาเลสไตน์ (อังกฤษ: Palestine Democratic Union; ภาษาอาหรับ: Al-Ittihad al-Dimuqrati al-Filastini) เป็นพรรคการเมืองขนาดเล็กในปาเลสไตน์ มีกิจกรรมอยู่ในองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์และตัวแทนชาติปาเลสไตน์

ภูมิหลัง[แก้]

สหภาพประชาธิปไตยปาเลสไตน์ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2533 โดยแยกตัวออกมาจากแนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ โดยเป็นกำลังส่วนใหญ่ของแนวร่วมในเขตเวสต์แบงก์ สหภาพประชาธิปไตยปาเลสไตน์วางตัวเป็นกลางต่อปัญหาความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ มากกว่าแนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ที่นำโดยนาอีฟ ฮาวัตเมห์ ที่ดามัสกัส ซีเรีย และพยายามตั้งตัวเป็นกลุ่มการเมืองฝ่ายซ้ายในการเมืองปาเลสไตน์

ความเชื่อและแนวคิด[แก้]

คำขวัญของสหภาพประชาธิปไตยปาเลสไตน์คือ “อิสรภาพ เอกราช การกลับคืน ประชาธิปไตยและสังคมนิยม” กลุ่มนี้สนับสนุนการแก้ปัญหาแบบสองรัฐโดยยึดถือตามแนวชายแดนที่กำหนดเมื่อ พ.ศ. 2510 และเยรูซาเล็มตะวันออกเป็นเมืองหลวงของปาเลสไตน์ ผู้นำของกลุ่ม มัมดุห์ โนฟัล ลงนามสนับสนุนเพื่อยุติการใช้ระเบิดพลีชีพ[1] พรรคเคยจัดการประชุมระดับชาติ 2 ครั้ง ครั้งแรกในเจริโคเมื่อ พ.ศ. 2538 และครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. 2543

ผู้นำ[แก้]

ยัสเซอร์ อับด์ ร็อบโบ เป็นผู้ก่อตั้งสหภาพประชาธิปไตยปาเลสไตน์ซึ่งต่อมาเป็นตัวแทนขององค์กรในการประชุมสุดยอดขององค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของยัสเซอร์ อาราฟัต ใน พ.ศ. 2545 พรรคได้มีการปรับรูปแบบที่เกิดจากความขัดแย้งภายใน นักกิจกรรมเพื่อเรียกร้องสิทธิสตรี ซาฮิรา กามัล ได้รับเลือกให้เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลของตัวแทนชาติปาเลสไตน์

การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง[แก้]

สหภาพประชาธิปไตยปาเลสไตน์มีสมาชิก 21 คนในสภาแห่งชาติปาเลสไตน์ซึ่งเป็นรัฐสภาพลัดถิ่นของปาเลสไตน์ พวกเขาถูกเลือกในฐานะที่แยกตัวออกจากแนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ หรือเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 จากนั้น ไม่ได้รับเลือกตั้งอีก

สหภาพประชาธิปไตยปาเลสไตน์เข้าร่วมการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติปาเลสไตน์ใน พ.ศ. 2539 ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มฟาตะห์ และได้รับเลือกตั้ง 1 ที่นั่ง ในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 สหภาพประชาธิปไตยปาเลสไตน์ส่งผู้สมัครลงแข่งขันร่วมกับแนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์และพรรคประชาชนปาเลสไตน์[2] ซึ่งปรากฏว่าได้คะแนนเสียง 2.8% และได้ 2 ที่นั่งจาก 132 ที่นั่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-15. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-07. สืบค้นเมื่อ 2021-08-30.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]