สวนโยโยงิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สวนโยโยงิ
แผนที่
ที่ตั้งเขตชิบูยะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
พิกัดภูมิศาสตร์35°40′19″N 139°41′52″E / 35.671975°N 139.69768536°E / 35.671975; 139.69768536
พื้นที่54.1 เฮกตาร์ (134 เอเคอร์)
ก่อตั้ง1967
ขนส่งมวลชนสถานีรถไฟฮาราจูกุ, สถานีรถไฟโยโยงิ-โคเอ็ง, สถานีรถไฟเมจิ-จิงงูมาเอะ

สวนโยโยงิ (ญี่ปุ่น: 代々木公園โรมาจิYoyogi kōen; อังกฤษ: Yoyogi Park) เป็นสวนสาธารณะในโยโยงิกามิโซโนโจะ เขตชิบูยะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ติดกับสถานีรถไฟฮาราจูกุและศาลเจ้าเมจิ

สวนนี้เป็นสถานที่ยอดนิยมในโตเกียว โดยเฉพาะในวันอาทิตย์ซึ่งเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้พื้นที่ในการเล่นดนตรี แสดงผลงานศิลปะของตนเอง และอื่น ๆ ได้[1] ในฤดูใบไม้ผลิ มีผู้คนพันกว่าคนเข้ามาชมต้นซากูระในช่วงเทศกาลฮานามิ ภายในสวนมีบริเวณปิกนิก เส้นทางจักรยาน ที่เช่าจักรยาน และสนามกีฬาสาธารณะ[2]

ประวัติ[แก้]

สวนโยโยงิและศาลเจ้าเมจิมองจากข้างบน
นักเต้นแนวร็อกอะบิลลีในสวนช่วงเดือนมีนาคม ค.ศ. 2014

สวนโยโยงิเคยเป็นบริเวณที่เครื่องบินบินขึ้นสู่ท้องฟ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น โดยกัปตันโยชิโตชิ โทกูงาวะในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1910[3] จากนั้นกลายเป็นพื้นที่สำหรับเคลื่อนกำลังทหาร ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1945 บริเวณนี้กลายเป็นที่พักสำหรับเจ้าหน้าที่ชาวอเมริกัน[4]

ต่อมาในปี 1964 ได้รับเลือกให้เป็นพื้นที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ อาคารสนามกีฬาได้รับการออกแบบโดยเค็งโซ ทังเงะ และยังคงตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง[5][6]

ใน ค.ศ. 1967 พื้นที่โรงยิมทางเหนือและศาลเจ้าเมจิตอนใต้ส่วนใหญ่ได้รับการเปลี่ยนแปลงเป็นสวนสาธารณะโยโยงิ[1]

ในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ฝ่ายบริหารกรุงโตเกียวได้ประกาศแผนการก่อสร้างสนามกีฬาขนาดจุคนได้ 100,000 คนขึ้นภายในสวนโยโยงิ แต่เมื่อญี่ปุ่นไม่ได้รับคัดเลือกเป็นเจ้าภาพในครั้งนั้นและเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 แผนดังกล่าวได้ถูกล้มเลิกและเปลี่ยนเป็นการพัฒนาสนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติโตเกียวที่มีอยู่เดิมแทน[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Roman A. Cybriwsky (1 February 2011). Historical Dictionary of Tokyo. Scarecrow Press. p. 275. ISBN 978-0-8108-7238-7. สืบค้นเมื่อ 3 December 2012.
  2. "Profile of the basketball court at Yoyogi Park". courtsoftheworld.com
  3. Ikuhiko Hata; Yasuho Izawa; Christopher Shores (5 April 2012). Japanese Army Fighter Aces: 1931-45. Stackpole Books. p. 1. ISBN 978-0-8117-1076-3. สืบค้นเมื่อ 3 December 2012.
  4. Toyoko Yamazaki; V. Dixon Morris (2008). Two Homelands. University of Hawaii Press. p. 551. ISBN 978-0-8248-2944-5. สืบค้นเมื่อ 3 December 2012.
  5. Allison Lee Palmer (30 September 2009). The A to Z of Architecture. Scarecrow Press. p. 265. ISBN 978-0-8108-6895-3. สืบค้นเมื่อ 3 December 2012.
  6. Morris Low (30 April 2006). Japan On Display: Photography and the Emperor. Taylor & Francis. p. 106. ISBN 978-0-415-37148-3. สืบค้นเมื่อ 3 December 2012.
  7. "Tokyo 2016 Olympics". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-12. สืบค้นเมื่อ 2009-10-30.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]