สวนปราสาทซิสซิงเฮิสต์

พิกัด: 51°06′57″N 0°34′54″E / 51.11583°N 0.58167°E / 51.11583; 0.58167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปราสาทและสวนซิสซิงเฮิสต์
อาคารยุคเอลิซาเบทในซิสซิงเฮิสต์ ช่วงเดือนพฤษภาคม

สวนที่ปราสาทซิสซิงเฮิสต์ ในหมู่บ้านซิสซิงเฮิสต์ พื้นที่วีลด์ เขตเทศมณฑลเคนต์ ประเทศอังกฤษ อยู่ในความดูแลขององค์การอนุรักษ์สถานที่เพื่อประโยชน์ทางประวัติศาสตร์หรือความสวยงามแห่งชาติ เป็นสวนที่มีชื่อเสียงมากในอังกฤษ

ความเป็นมา[แก้]

สวนของซิสซิงเฮิสต์ย้อนกลับไปเมื่อคริสต์ทศวรรษ 1930 เริ่มต้นจากวีตา แซ็กวิลล์-เวสต์ นักกวีและนักประพันธ์ และสามีของเธอ แฮโรลด์ นิโคลสัน, นักเขียนและนักการทูต[1] แซ็กวิลล์-เวสต์ เป็นนักเขียนให้กับบลูมเบอร์รี่ กรุ๊ป ซึ่งเป็นที่นิยมมากในคอลัมน์สุดสัปดาห์ เธอส่งเรื่องสวนของเธอไปตีพิมพ์กับดิ อ๊อบเซิฟเวอร์, โดยที่เธอไม่คาดคิดมาก่อน—สวนของเธอโด่งดังขึ้นมาทันที[2] สวนนั้นออกแบบเหมือนเป็น 'ห้อง' ต่างๆ, แต่ละสวนนั้นมีการตกแต่งที่หลากหลาย มีธีมและสีสันที่ต่างกัน, มีการใช้ต้นไม้ทำเป็นแนวรั้วสูงๆ หรือใช้อิฐสีออกชมพูมาก่อ[3] แต่ละสวนนั้น มี 'ทางเข้า' ที่บ่งบอกถึงสวนแต่ละแบบ, เช่นบางคนอาจจะกำลังมีความสุขกับสวนสวยแบบหนึ่ง, แต่ในขณะเดียวกันอีกคนอาจจะชอบทิวทัศน์อีกส่วนหนึ่งมากกว่า,ในสวนนั้นจะมีทางทะลุกันสำหรับสวนแต่ละแบบ เพื่อให้ทุกคนได้เดินชมสวนหลาย ๆ แบบตามพอใจ[4] นิโคสันออกแบบทางเชื่อมแต่ละสวนเข้าด้วยกัน ส่วนแซ็กวิลล์-เวสต์ จะดูแลในส่วนของดอกไม้ที่ปลูกเพื่อให้สวนดูน่าสนใจยิ่งขึ้น

สำหรับแซ็กวิลล์-เวสต์แล้ว, ปราสาทและสวนซิสซิงเฮิสต์เป็นความเจ็บปวดที่แสนหวานมาแทนที่บ้านโนล,[5] ซึ่งเป็นบ้านหลังใหญ่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในอังกฤษ, ในฐานะที่เป็นบุตรคนเดียวของ ไลโอเนล, ลอร์ดแซ็กวิลล์ที่ 3 เธอควรจะได้เป็นเจ้าของหากว่าเกิดมาเป็นชาย, ดังนั้นบ้านจึงตกไปเป็นของหลานชายผู้สืบทอดตะกูลแทน

สถานที่นี้เก่าแก่มาก— คำว่า "เฮิสต์" เป็นภาษาอังกฤษเก่าที่ใช้เรียก การล้อมรอบด้วยไม้ สร้างตั้งแต่ยุคกลาง ในปี 1305 ปราสาทนี้เป็นบ้านหลังขนาดใหญ่ของขุนนาง ล้อมรอบด้วยคูน้ำ, เมื่อปี 1490 กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดค้างแรมที่นี่อยู่หนึ่งคืน, ในช่วงยุค 1530 ทอมัส เบเกอร์ซื้อซิสซิงเฮิสต์ขึ้นมา[6] บ้านหลังนี้จึงมีการปรับปรุงใหม่ มีการใช้อิฐมาทำเป็นประตู ซึ่งออกแบบโดย เซอร์ จอห์น เบเกอร์ (หนึ่งในคณะองคมนตรีของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8) และมีการขยายให้กว้างขึ้นช่วงยุค1560 โดยบุตรชายของเขา ริชาร์ด เบเกอร์, ทำให้มีขนาดใหญ่ถึง 700 เอเคอร์ และในปี 1573, สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 เสด็จมาค้างสามคืนที่ซิสซิงเฮิสต์แห่งนี้[6]

กุหลาบงามที่ร่มในสวนขาวที่ซิสซิงเฮิสต์, ทำให้สวนดูน่าสนใจยิ่งขึ้น[7]

ช่วงปลายศตวรรษที่ 17 ภายหลังจากที่สิ้นตระกูลเบเกอร์, อาคารเหล่านี้ก็กลายมาใช้ประโยชน์อื่นๆแทน: ในช่วงสงครามเจ็ดปี ได้ใช้เป็นสถานที่คุมขังนักโทษ; ใช้เป็นที่ทำงานของสหภาพแครนบรู๊ค; และหลังจากนั้นได้กลายมาเป็นบ้านของคนงานในฟาร์ม

ในปี 1930 แซ็กวิลล์-เวสต์และนิโคลสันพบว่าที่ดินของพวกเขาใกล้ ๆ กับเซเวนโอกส์, ในเคนต์, มีการพัฒนาขยับขยายจนดีแล้ว พวกเขาคิดว่า ถึงแม้ซิสซิงเฮิสต์จะถูกทิ้งให้รกมากนาน, พวกเขาก็สนใจที่จะซื้อซิสซิงเฮิสต์และฟาร์มในละแวกเดียวกันขึ้นมา เริ่มการซ่อมแซมปรับปรุงสวนจนกลายเป็นแบบที่เห็นกันในทุกวันนี้[8] แบบแปลนโดยนิโคลสัน และภาพวาดโดย แซ็กวิลล์-เวสต์ นั้นได้รับอิทธิพลโดยตรงมาจากสวนของเกอร์ทรูด เจคกิล และ เอ็ดวิน ลัทเยนส์; และภายหลังมีโคเธ่ มาเนอร์ ในซัมเมอร์เซต, แบบแปลนโดย เพื่อนของนิโคลสัน เรจินัลด์ คูปเปอร์, ซึ่งนักเขียนคนหนึ่งถึงกับเรียกว่าเป็น "ซิสซิงเฮิสต์ฝั่งตะวันตก";[9] รวมถึง ฮิดโคต มาเนอร์ การ์เด้น, ออกแบบโดยเจ้าของชื่อ ลอเรนซ์ จอห์นสตัน, ซึ่งแซ็กวิลล์-เวสต์ได้ร่วมช่วยด้วย แต่ซิสซิงเฮิสต์เป็นที่แรกที่เปิดสู่สาธารณะเมื่อปี 1938

องค์การอนุรักษ์[แก้]

องค์การอนุรักษ์สถานที่เพื่อประโยชน์ทางประวัติศาสตร์หรือความสวยงามแห่งชาติเข้ามาดูแลซิสซิงเฮิสต์ทั้งหมด, ส่วนของสวน, ฟาร์มและอาคารต่างๆ ตั้งแต่ปี 1967.[10] สวนนี้เป็นสวนอังกฤษที่จัดแบบในช่วงยุคกลางของศตวรรษที่ 20 ในปัจจุบันสวนนี้มีชื่อเสียงโด่งดังมาก มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันหยุดต่างๆ เมื่อปี 2009, บีบีซี โฟร์ ได้จัดทำสารคดีชุด ซิสซิงเฮิสต์ มีความยาวทั้งหมด 8 ตอน บอกเล่าเรื่องเกี่ยวกับสวนและบ้าน รวมถึงความพยายามของ อดัม นิโคลสัน และภรรยาของเขา ซาร่าห์ เรเวน ที่เปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมวีลเดนมาเป็นปราสาท พวกเขาวางแผนที่จะปลูกส่วนผสมต่างๆเพื่อนำไปใช้ในภัตตาคารซิสซิงเฮิสต์ สามารถอ่านเรื่องราวเต็มๆได้ในหนังสือของ นิโคลสัน, ซิสซิงเฮิสต์: ประวัติศาสตร์ที่ยังดำเนินต่อไป (2008).

อ้างอิง[แก้]

  1. Lord, 2000. pg 7
  2. Lord, 2000. pg 10-22
  3. Lord, 2000. pg 22-36
  4. Lord, 2000. pg 67, 100
  5. Lord, 2000. pg 10
  6. 6.0 6.1 "Baker: Sissinghurst". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-29. สืบค้นเมื่อ 2014-08-29.
  7. Lord, 2000. pg 128
  8. Lord, 2000. Chapter Past, present and future, pg 10
  9. "Cothay Manor Gardens". gardens-guide.com. สืบค้นเมื่อ 2008-12-09.
  10. Lord, 2000. pg 12

บรรณานุกรม[แก้]

  • Brown, Jane (1985). Vita's Other World: A Gardening Biography of V. Sackville-West, Viking.
  • Lord, Tony (2000). Gardening at Sissinghurst, Frances Lincoln & National Trust.
  • Lord, Tony (2003). Planting Schemes from Sissinghurst. Frances Lincoln.
  • Nicolson, Nigel (1964). Sissinghurst Castle — An illustrated history, National Trust.
  • Scott-James, Anne (1974). Sissinghurst — The Making of a Garden, Michael Joseph.
  • Sissinghurst: An Unfinished History by Adam Nicolson (2008). HarperPress. ISBN 0-00-724054-6.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

51°06′57″N 0°34′54″E / 51.11583°N 0.58167°E / 51.11583; 0.58167