สยามนิรมิต

พิกัด: 13°46′10″N 100°34′39″E / 13.7693564°N 100.577538°E / 13.7693564; 100.577538
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริเวณทางเข้าสยามนิรมิต ในปี 2557

สยามนิรมิต เป็นอดีตโรงละครขนาดใหญ่ที่ได้รับการบันทึกจาก กินเนสบุค ออฟ เวิลด์ เรคคอร์ด ว่าเวทีมีความสูงและใหญ่ที่สุดในโลก เปิดการแสดงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2548 แต่ได้ปิดกิจการไปในปี พ.ศ. 2564 หลังจากเปิดให้บริการมานานกว่า 16 ปี[1]

สยามนิรมิต ตั้งอยู่บนถนนเทียมร่วมมิตร ใกล้กับศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เป็นโรงละครเกี่ยวกับการแสดงพื้นบ้านวัฒนธรรมไทยโดยเป็นการท่องป่าหิมพานต์ และท่องไปในสวรรค์ชั้นบนและนรก สยามนิรมิต เป็นความภาคภูมิใจของคนไทย ที่เผยแพร่ความงดงาม และความทรงคุณค่าของความเป็นไทยให้กับผู้ชมทั้งในระดับประเทศและในระดับโลก

ในขณะที่สยามนิรมิตภูเก็ต ซึ่งได้ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 บริเวณ อ.เมือง จังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันยังคงเปิดให้บริการอยู่[2]

รูปแบบการแสดง[แก้]

องก์ที่ 1 ย้อนรอยประวัติศาสตร์

ตอนที่ 1 ล้านนานคร ล้านนามหานครเทวีแลเหล่านางกำนัลจัดเตรียมขบวนแห่อันวิจิตร พร้อมบรรดานางฟ้อน นางรำ พลดาบ ฝีมือกล้า ตามเสด็จองค์มหาราชา เพื่อร่วมในงานบุญตามประเพณี

ตอนที่ 2 การค้าขายทางด้านภาคใต้ ย้อนหลังไปสู่อาณาจักรศรีวิชัย จนล่วงมาอาณาจักรนครศรีธรรมราช ความรุ่งเรืองในยุคนั้น ได้เชื้อเชิญให้มหามิตรจากแดนไกล เดินทางมาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ชมมหรสพและการละเล่นของวัฒนธรรมชาวใต้ ที่ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน ทั้งไทยพุทธและมุสลิม

ตอนที่ 3 อีสาน ตำนานประสาทหิน บรรดาหนุ่มสาวชาวอีสานร้องรำทำเพลง เฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนาน ในงานทำบุญผ้าพระเวสต่อหน้าพระธาตุพนม ตื่นตาประสาทหินที่ถูกสร้างขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ และร่วมค้าหาความเร้นลับของนางอัปสราที่ถูกบรรจงปั้นไว้อย่างงดงาม

ตอนที่ 4 กรุงศรีฯ ราชธานีที่รุ่งโรจน์ ร่วมเดินทางย้อนเวลาไปกว่าสามร้อยปีสู่กรุงศรีอยุธยาราชธานีที่รุ่งโรจน์และเกรียงไกร ได้เจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ประกาศถึงความมั่งคั่งมั่นคง ดำรงไว้ซึ่งแสนยานุภาพ

องก์ที่ 2 ท่องไปในไตรภพ สู่ดินแดนแห่งจินตนาการ
นรก หิมพานต์ สวรรค์

ท่องสู่จินตนาการตามคติความเชื่อของชาวสยาม ตื่นตะลึงไปกับดินแดนในไตรภพ ร่วมดำดิ่งสู่นรกภูมิ เผชิญหน้ากับยมราช และเหล่าภูตผีปีศาจที่ตื่นตะลึงไปกับป่าหิมพานต์ อันเร้นลับ สวยงาม สุดมหัศจรรย์ล่องลอยสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ดินแดนแห่งเทพยดา และนางฟ้าทั้งหลาย ซึ่งมีอินทราเป็นเทพยดาสูงสุด

องก์ที่ 3 รื่นเริง สนุกสนาน สืบสานประเพณีไทย

ด้วยความเชื่อที่ว่าทำดีได้ดีไปสวรรค์ ชนชาวสยามจึงมีประเพณี งานบุญมากมาย ที่ผสมผสานงานรื่นเริงและ การละเล่นต่างๆ สืบทอดมานานหลายร้อยปี

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°46′10″N 100°34′39″E / 13.7693564°N 100.577538°E / 13.7693564; 100.577538