ชาย เมืองสิงห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สมเศียร พานทอง)
ชาย เมืองสิงห์
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด24 ตุลาคม พ.ศ. 2482 (84 ปี)
สมเศียร พานทอง
ตำบลบางมัญ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
คู่สมรสสมจิตร มุกดา
อาชีพนักร้อง, นักประพันธ์เพลง, นักแสดงละคร, นักแสดงภาพยนตร์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2504 - ปัจจุบัน
สังกัดวงดนตรีจุฬารัตน์

ชาย เมืองสิงห์ มีชื่อจริงว่า สมเศียร พานทอง ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ขับร้อง-นักประพันธ์เพลงไทยลูกทุ่ง) ประจำปี พ.ศ. 2538 ชาย เมืองสิงห์ ได้รับฉายา "อแลง เดอลอง เมืองไทย" และในยุคถัดมาได้รับอีกฉายาเป็น "แมนซิตี้ไลอ้อน" ชาย เมืองสิงห์ เป็นนักร้องที่มีลีลาการร้องเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองและมีความสามารถในการประพันธ์เพลง เพลงที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ ชาย เมืองสิงห์ คือ “เพลงมาลัยดอกรัก”และอีกมากมายหลายเพลง และผลงานเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับ ชาย เมืองสิงห์ มากที่สุด คือ "เพลงเมียพี่มีชู้" นอกจากนั้นยังได้ประพันธ์เพลงลูกทุ่งเอาไว้ประมาณ 1,000 เพลง ซึ่งก็มีทั้งเอาไว้สำหรับขับร้องเองและให้ผู้อื่นขับร้อง และหลายเพลงติดอันดับยอดนิยมทำให้ได้รับการขนานนามให้เป็น “นักร้องลูกทุ่งสามสมัย” คงความยอดนิยมไว้ได้ทุกยุค ชาย เมืองสิงห์ ได้รับรางวัลเกียรติคุณในฐานะศิลปินดีเด่นหลายรางวัล มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่ยอมรับในวงการเพลงไทยลูกทุ่งเป็นอย่างยิ่ง

ประวัติ[แก้]

ชาย เมืองสิงห์ มีชื่อจริงว่า สมเศียร พานทอง เกิดวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2482 [1]ที่ตำบลบางมัญ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นบุตรของนายสี พานทอง กับ นางป่วน พานทอง จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดหัวว่าว จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสิงหะวัฒนพาหะ (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนสิงห์บุรี) ในภูมิลำเนาคือ จังหวัดสิงห์บุรีในปี 2499 ก่อนจะเข้ามาศึกษาต่อที่โรงเรียนเพาะช่างที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากเป็นคนที่ชอบการร้องเพลงเป็นชีวิตจิตใจ เมื่อเงินไม่พอใช้ก็จะอาศัยไปร้องเพลงเชียร์รำวง แต่เมื่อเรียนได้ถึงชั้นปีที่ 4 เขาก็ต้องเลิกเรียน เพราะทางบ้านประสบปัญหาทางด้านการเงินอย่างหนัก ชาย เมืองสิงห์ ที่ตัดสินใจสู้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานคร จึงต้องพยายามออกหางานทำ ซึ่งงานที่ว่าที่สุดยอดนักร้องลูกทุ่งเคยทำมาก็อย่างเช่นรับจ้างตากผัก เพื่อนำมาทำเป็นผักกาดกระป๋อง , กรรมกรตอกเสาเข็ม , รับจ้างเขียนป้าย และวาดรูป ต่อมาได้รับการอุปถัมภ์จาก นายอารมณ์ คงกะพัน และ นางศรี เอี่ยมสุข ผู้กว้างขวางที่ขายของอยู่แถวตลาดพลู ที่คอยช่วยเหลือและผลักดันให้ชาย เมืองสิงห์ เข้าประกวดร้องเพลงตามที่ต่าง ๆ เช่น ผับ สถานบันเทิงต่าง ๆ ตามถนนราชดำเนิน หรือ ซอยบุปผาสวรรค์ เป็นต้น

พอถึงปี 2504 ชาย เมืองสิงห์ มีโอกาสพบกับครูเพลงมงคล อมาตยกุล หัวหน้าวงจุฬารัตน์ จึงได้ขอสมัครเป็นนักร้องในวง แต่ครูมงคลยื่นเงื่อนไขว่าจะรับเขามาร่วมวง ก็ให้ไปแหล่สด ๆ แข่งกับพร ภิรมย์ นักร้องดังในวงจุฬารัตน์ และนักร้องลูกทุ่งชั้นแนวหน้าของประเทศในยุคนั้น ซึ่งชาย เมืองสิงห์ ก็ฝ่าด่านหินนั้นมาได้ด้วยการมาแหล่สดๆออกอากาศโต้กับพร ภิรมย์ ซึ่งด้วยน้ำเสียงที่แปลกเป็นเอกลักษณ์ และไหวพริบปฏิภาณที่ยอดเยี่ยมทำให้เขาได้รับการชื่นชมจากแฟนเพลงที่ฟังรายการ จนครูมงคล ต้องยอมรับเขาเข้าร่วมวงตามที่ประกาศเอาไว้ รวมทั้งตั้งชื่อให้เขาว่าชาย เมืองสิงห์ ก่อนจะผลักดันให้มีโอกาสบันทึกเสียงผลงานเพลงของตัวเอง ซึ่งชาย เมืองสิงห์ ก็ทำผลงานออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม ทำให้ชาย เมืองสิงห์ มีชื่อเสียงขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ด้วยความสามารถด้านการแสดงหน้าเวที จนโด่งดังและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และหน้าตาที่หล่อ จึงทำให้เขาได้รับฉายาว่าจนได้รับฉายาว่าเป็น "อแลง เดอลอง เมืองไทย" และต่อมา คณะตลกเมืองไทยก็ตั้งฉายาให้เขาว่า “แมน ซิตี้ไลอ้อน“ ตามชื่อที่ถอดความมาจากภาษาอังกฤษแบบตรงตัว และฉายานี้ก็ยิ่งทำให้เขาเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนมากขึ้นไปอีก ในช่วงปี พ.ศ. 2504 - 2516 เป็นช่วงประสบความสำเร็จสูงสุดในอาชีพของ ชาย เมืองสิงห์

ชาย เมืองสิงห์ อยู่กับวงจุฬารัตน์ 6 ปี พอถึงปี 2510 ก็ออกมารับงานร้องเพลงทั่วไปเอง ในปีต่อมาก็ตั้งวงดนตรีเล็ก ๆ ชื่อ “วงหลังเขาประยุกต์ “ ต่อมาขยายวงและเปลี่ยนชื่อเป็น “ จุฬาทิพย์ “ เพื่อรำลึกถึงวงที่ทำให้เขาโด่งดัง ซึ่งในช่วงที่ทำวงนี้ ชาย เมืองสิงห์ ได้ปลุกปั้นให้ลูกวงของเขาโด่งดังขึ้นมาในระดับแนวหน้าในภายหลังหลายคน เช่น โชคดี พักภู่ , เพชร โพธิ์ทอง , ระพิน ภูไท , ดี๋ ดอกมะดัน , ดู๋ ดอกกระโดน , สีหนุ่ม เชิญยิ้ม , หนุ่ม เมืองไพร , ดาวไทย ยืนยง , ถนอม จันทรเกตุ

ชาย เมืองสิงห์ ทำวงอยู่ 10 ปี จนราว ๆ ปี 2521 ก็ยุบวงไป เพราะมรสุมชีวิต ทั้งปัญหาครอบครัว และพ่อแม่เสียชีวิต เขาจึงห่างหายจากวงการเพลงไปนาน เมื่อผันตัวไปเป็นเกษตรกรทำไร่นาสวนผสมที่บ้านเกิดนานถึง 10 ปี จนได้รางวัลเกษตรกรดีเด่นของจังหวัด

ต่อมาเมื่อมีการจัดงาน กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยครั้งที่ 1 ในปี 2532 ชาย เมืองสิงห์ ได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ถึง 4 รางวัล ชาย เมืองสิงห์จึงกลับเข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งไทยอีกครั้ง โดยมีการนำเอาทั้งเพลงเก่าและเพลงใหม่มาบันทึกเสียงจวบจนถึงทุกวันนี้ [2]

ในปลายปี 2557 ชาย เมืองสิงห์ ได้สร้างความฮือฮาเมื่อได้นำเอาเพลง “เมียพี่มีชู้” หนึ่งในเพลงที่โด่งดังที่สุดของตัวเอง มาเรียบเรียงและขับร้องใหม่เป็นดนตรีลูกทุ่งร่วมสมัยมากขึ้น ในสังกัดอาร์สยาม ในเครือของอาร์เอส โดยมีนักร้องลูกทุ่งร่วมสมัยมาร่วมร้องด้วย คือ จ๊ะ อาร์สยาม และใบเตย อาร์สยาม[3][4][5]

ผลงานการแต่งเพลง[แก้]

ชาย เมืองสิงห์ ยังมีความสามารถด้านการแต่งเพลงชนิดที่หาตัวจับได้ยากคนหนึ่ง เขามีเพลงที่แต่งไว้มากมายถึงราว 1 พันเพลง และเพลงที่เขาแต่งไว้ร้องเอง หรือแต่งให้นักร้องคนอื่นร้อง ก็ได้รับความนิยมจากแฟนเพลงหลายสิบเพลง เช่น

  • ทำบุญร่วมชาติ
  • มาลัยน้ำใจ
  • มาลัยลอยวน
  • พ่อลูกอ่อน
  • รอหน่อยน้องติ๋ม
  • ลูกสาวใครหนอ
  • มาลัยดอกรัก
  • แก่นแก้ว
  • หยิกแกมหยอก
  • นาวาสวรรค์
  • กิ่งทองใบหยก
  • สิบห้าหยกๆ
  • เรือล่มในหนอง
  • แม่ขนตางอน
  • หญิงม่าย
  • เบื่อผู้หญิง
  • ฝนตกบ้านน้อง ฟ้าร้องบ้านพี่
  • รวยรักเหลือเกิน
  • ใกล้เกลือกินด่าง
  • บ้านเรือนเคียงกัน
  • กาคาบพริก
  • ทุกข์ร้อยแปด
  • น้ำนิ่งไหลลึก
  • แม่สื่อแม่ชัก
  • เมรี
  • สถานีรวมรัก
  • เมียพี่มีชู้
  • มันยกร่อง
  • พี่ไปหลายวัน
  • จับแพะชนแกะ
  • พ่อแก่แม่เฒ่า
  • จ้ำม้ำ
  • ชะทิงนอยนอย
  • แม่ยอดยาหยี

เพลงพิเศษ[แก้]

  • คนขายฝัน - เพลงพิเศษจากมหกรรมคอนเสิร์ต "ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย" (สิงหาคม 2545)
  • พุทธานุภาพ (2545)
  • ราชาแห่งราชัน (2554) - จัดทำขึ้นเพื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
  • ศรีเมืองไทย (2559)

The Man City Lion Project[แก้]

การกลับมาครั้งยิ่งใหญ่ของ ชาย เมืองสิงห์ กับ ค่ายอาร์สยาม ในโปรเจกต์พิเศษ The Man City Lion Project ซึ่งมีเพลงที่ชายเมืองสิงห์ ขับร้อง แต่งเนื้อร้อง ทำนอง และเรียบเรียง รวมกันทั้งหมด 14 เพลง

เพลงที่ ชื่อเพลง นักร้อง หมายเหตุ
1 เมียพี่มีชู้ ชาย เมืองสิงห์
ใบเตย อาร์สยาม
จ๊ะ อาร์สยาม
ขับร้อง / คำร้อง /ทำนอง
2 ชะทิงนองนอย ชาย เมืองสิงห์
จินตหรา พูนลาภ อาร์สยาม
ขับร้อง / คำร้อง /ทำนอง
3 ลั่นทม ปาน ธนพร คำร้อง /ทำนอง
4 เมรี กระแต อาร์สยาม
กระต่าย อาร์สยาม
คำร้อง /ทำนอง
5 มาลัยน้ำใจ แจ๊ค ธนพล อาร์สยาม
แคท รัตกาล อาร์สยาม
คำร้อง /ทำนอง
6 มาลัยดอกรัก ชาย เมืองสิงห์
นฤพนธ์ พานทอง
ขับร้อง / คำร้อง /ทำนอง
7 16 หย่อนๆ ลูกตาล อาร์สยาม คำร้อง /ทำนอง
8 จับปลาสองมือ ยิ้ม อาร์สยาม คำร้อง /ทำนอง
9 ผีเข้าผีออก ชาย เมืองสิงห์
แมงปอ ชลธิชา อาร์สยาม
ขับร้อง / คำร้อง /ทำนอง
10 กุหลาบในใจน้อง หญิง ธิติกานต์ อาร์สยาม -
11 ฉันรักเธอ บิว กัลยาณี อาร์สยาม คำร้อง /ทำนอง
12 น้ำนิ่งไหลลึก เด่น อาร์สยาม คำร้อง /ทำนอง
13 ปากหวาน หนู มิเตอร์ อาร์สยาม คำร้อง /ทำนอง
14 พี่ไปหลายวัน กุ้ง สุธิราช อาร์สยาม
วิรดา วงศ์เทวัญ อาร์สยาม
-

ผลงานการแสดง[แก้]

  • ภาพยนตร์ไทยเรื่อง ศึกเสือไทย (2508)
  • ละครโทรทัศน์เรื่อง จำปาสี่ต้น (2512) ช่อง 5
  • ภาพยนตร์ไทยเรื่อง วิมานสีทอง (2514)
  • ภาพยนตร์ไทยเรื่อง กุหลาบไฟ (2516)
  • ภาพยนตร์ไทยเรื่อง ไอ้ฟ้าผ่า (2522)
  • ภาพยนตร์ไทยเรื่อง มนต์เพลงนักเลงบ้านนอก (2537)
  • ละครโทรทัศน์เรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง (2538) ช่อง 7
  • ละครโทรทัศน์เรื่อง สวรรค์บ้านทุ่ง (2541) ช่อง 9
  • ละครโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติเรื่อง พ่อ ตอน เพลงของพ่อ (2542) ช่อง 5
  • ละครโทรทัศน์เรื่อง อะเมซซิ่งโคกเจริญ (2544) ช่อง 3
  • ภาพยนตร์ไทยเรื่อง มนต์เพลงลูกทุ่งเอฟเอ็ม (2545) รับบท โจรพันหน้า (ตัวปลอมที่ 5)
  • ละครโทรทัศน์เรื่อง หัวใจไกลปืนเที่ยง (2545) ช่อง 7 รับบท สัปเหร่อเที่ยง
  • ละครโทรทัศน์เรื่อง ลิเก๊ ลิเก (2546) ช่อง 7 รับบท ครูเทียม
  • ภาพยนตร์ไทยเรื่อง กระสือวาเลนไทน์ (2549)
  • ภาพยนตร์ไทยเรื่อง ผีเสื้อสมุทร (2549) รับบท เฒ่าโล้
  • ภาพยนตร์ไทยเรื่อง หนุมานคลุกฝุ่น (2551) รับบท ครูชาย
  • ละครโทรทัศน์เรื่อง เพลงรักข้ามภพ (2552) ช่อง 7 รับบท น้อยหน่า

เพลงประกอบละคร[แก้]

  • เพลง "อย่ายอมแพ้" ประกอบละครเรื่อง อะเมซซิ่งโคกเจริญ (พ.ศ. 2544)
  • เพลง "อายผี" ประกอบละครเรื่อง หัวใจไกลปืนเที่ยง (พ.ศ. 2545)
  • เพลง "ชีวิตลิเก" ประกอบละครเรื่อง ลิเก๊ ลิเก 1 (พ.ศ. 2546)
  • เพลง "ไหว้ครู" ประกอบละครเรื่อง ลิเก๊ ลิเก 2 (พ.ศ. 2546)

คอนเสิร์ต[แก้]

  • คอนเสิร์ต ลูกทุ่งออเคสตร้า กาญจนาภิเษก (24-25 มกราคม 2540)
  • คอนเสิร์ต ละครอินคอนเสิร์ต (2543)
  • คอนเสิร์ต การกุศล ลูกกรุง vs. ลูกทุ่ง (2545)
  • คอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย (18 สิงหาคม 2545)
  • คอนเสิร์ต Pattaya Music Festival 2003 (23 มีนาคม 2546)
  • คอนเสิร์ต 14 ตุลา วันประชาธิปไตย (14 ตุลาคม 2546)
  • คอนเสิร์ต สายธารประชาธิปไตย (2546)
  • คอนเสิร์ต รำวงมหาสนุก (2549)
  • คอนเสิร์ต สินเจริญ เชิญแหลก (31 มีนาคม 2550)
  • คอนเสิร์ต มนต์เพลงคาราบาว (7 กรกฎาคม 2550)
  • คอนเสิร์ต อาลัย...ยอดรัก สลักใจ (16 สิงหาคม 2551)
  • คอนเสิร์ต ลูกทุ่งจ๋ามหาสนุก (21 – 22 เมษายน 2555)
  • คอนเสิร์ต เพลงเก่าเล่าเรื่อง (12 กรกฎาคม 2555)
  • คอนเสิร์ต คีตศิลปินไทย ร่วมร้อยใจ เทิดไท้แม่แห่งแผ่นดิน (29 สิงหาคม 2555)
  • คอนเสิร์ต รำลึก 30 ปี ล้อต๊อก ตลก 4 แผ่นดิน (30 กันยายน 2555)
  • คอนเสิร์ต เพลงเก่า เล่าเรื่อง (18 พฤศจิกายน 2555)
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 4 (8 ธันวาคม 2555)
  • คอนเสิร์ต ปีใหม่ถวายพระพร (12 มกราคม 2557)
  • คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเฟสติวัล ครั้งที่ 4 (20 - 21 ธันวาคม 2557)
  • คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเพื่อแผ่นดิน (6 กันยายน 2558)
  • คอนเสิร์ต เพลินเพลง ลูกทุ่งไทย ตอน ลูกทุ่งในดวงใจ ครั้งที่ 1 เดอะแมนซิตี้ไลอ้อน (29 พฤศจิกายน 2558)
  • คอนเสิร์ต งานอีแต๋นแว๊นเข้ากรุง (25 มิถุนายน 2559)
  • คอนเสิร์ต 8 ปี ตำนานแห่งสายน้ำ ครูชลธี ธารทอง (2 พฤษภาคม 2560)
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 8 (10 ธันวาคม 2560)
  • คอนเสิร์ต สืบสานลูกทุ่งคู่ไทย (3 กุมภาพันธ์ 2561)
  • คอนเสิร์ต รำลึก 26 ปี ราชินีลูกทุ่ง "พุ่มพวง ดวงจันทร์ (25 มิถุนายน 2561)
  • คอนเสิร์ต รำลึก พ่อดม ชวนชื่น (26 ธันวาคม 2561)
  • คอนเสิร์ต สงกรานต์บ้านนา (21 เมษายน 2562)
  • คอนเสิร์ต ครบรอบ 1 ปี ไวพจน์ เพชรสุพรรณ (12 มกราคม 2566)
  • คอนเสิร์ต 84 ปี ลูกทุ่งไทย (14 มกราคม 2567)

ผลงานเพลง[แก้]

  • ภาค.พิสดาร3 (2535)
  • คาราวะคาราวาน (2537)
  • เมดเล่ย์ สุดยอด ลูกทุ่งกึ่งศตวรรษ (กรกฎาคม 2538)
  • รวมเพลงลูกทุ่ง IMF ที่สุดของลูกทุ่ง
  • ลูกทุ่งออเคสตร้า กาญจนาภิเษก (2540)
  • สวรรค์บ้านทุ่ง (2541)
  • ลูกทุ่ง พลังไทย
  • ลูกทุ่งมหาชน (2542)
  • สายด่วนลูกทุ่ง (2543)
  • สี่เหน่อผู้ยิ่งใหญ่ ร่วมกับ จรัล มโนเพ็ชร, ทอม ดันดี และ สามารถ พยัคฆ์อรุณ (2543)
  • ต้นตระกูลเพลงดัง
  • 16 เพลงรักโดนใจ
  • Drama-o-ke (2545)
  • บ่ย้านบาป (2546)
  • 16 เพลงซึ้งโดนใจ
  • ลูกทุ่ง สามทศวรรษ
  • ฝากไว้ในแผ่นดิน ชาย เมืองสิงห์ (2547)
  • พยงค์ มุกดา ฝากไว้ในแผ่นดิน ชุดที่ 2 จากใจผูกพัน (22 ตุลาคม 2547)
  • เปิดกรุเพลงดัง ชาย เมืองสิงห์
  • เรารักเมืองไทย (2548)
  • 10 ปี แกรมมี่ โกลด์ ดนตรีไม่มีพรมแดน ชุดที่ 3 (26 กรกฎาคม 2548)
  • ลูกทุ่งสามช่า
  • สุดยอดลูกทุ่ง ผู้ชายพันล้าน
  • รำวงย้อนยุด คณะ รวมดาวลูกทุ่ง
  • ลูกทุ่งเอฟเอ็ม
  • มนต์เพลงคาราบาว (พฤษภาคม 2550)
  • ฮิตทั่วไทย ใจลูกทุ่ง
  • รวมเพลงฮิต 120 เพลงดัง ดีที่สุด
  • ลูกทุ่งที่คิดถึง
  • มหาชนคนลูกทุ่ง
  • หนึ่งในสยาม รวมศิลปินลูกทุ่งชาย
  • ฮิตตัวพ่อ
  • รวม 15 ศิลปินดัง
  • สุดยอดลูกทุ่งไทย
  • ลำนำเพลงลูกทุ่ง
  • ลูกทุ่งฮิตโดนใจ
  • ลูกทุ่งยอดฮิต
  • ลูกทุ่งรวมดาวเพลงดัง
  • เพลงดังฟังสบาย 12 นักร้อง 12 เพลงอมตะ
  • สุดฮิตมรดกลูกทุ่งไทย
  • 16 ขุนพลเพลงลูกทุ่ง
  • ลูกทุ่งกรุงไทย
  • รวมเพลงฮิต 5 ดาว
  • โจ๊ะ! กำลัง 2 (31 มีนาคม 2559)

ผลงานเพลงที่กล่าวถึงศิลปินท่านอื่น ๆ[แก้]

  • เพลง ขันหมากลูกทุ่ง ร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินลูกทุ่ง โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ ชาย เมืองสิงห์)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เกียรติยศ[แก้]

  • โล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยครั้งที่ 1 ในปี 2532 จากการแต่งและร้องเพลง พ่อลูกอ่อน และ ทำบุญร่วมชาติ รวม 4 รางวัล
  • โล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยครั้งที่ 2 ในปี 2534 จากการแต่งและร้องเพลง ลูกสาวใครหนอ รวม 2 รางวัล
  • รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะนักร้องและนักแต่งเพลงที่ใช้ภาษาไทยดีเด่น ของมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับราชบัณฑิตยสถาน ปี 2534
  • ได้รับการยกย่องเป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่นทาง ด้านวัฒนธรรม (สาขาศิลปะและการช่างฝีมือ) ประจำภาคกลางตอนบน ปี 2535
  • รางวัลเกียรติคุณพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวานกึ่งศตวรรษสืบสานคุณค่าวัฒนธรรมไทย ภาคพิเศษ ปี 2537 จากเพลงทุกข์ร้อยแปด
  • ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้อง – นักแต่งเพลง ปี 2538

สังคมนิยม[แก้]

  1. ยืนยง โอภากุล (หรือ แอ๊ด คาราบาว) นักร้องนำวงคาราบาว ได้แต่งเพลงเชิดชูให้กับ ชาย เมืองสิงห์ ในเพลง เดอะแมนซิตี้ไลอ้อน (ในอัลบั้ม เดอะแมนซิตี้ไลอ้อน เมื่อปี พ.ศ. 2539) [6]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติ "ชาย เมืองสิงห์" ศิษย์เอกวงดนตรี "จุฬารัตน์"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-14. สืบค้นเมื่อ 2013-09-14.
  2. "ประวัติชาย เมืองสิงห์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-14. สืบค้นเมื่อ 2013-09-14.
  3. หน้า 33 บันเทิง, 'ใบเตย' - 'จ๊ะ อาร์สยาม' ร่วมฟีทฯ 'ชาย เมืองสิงห์' ในเพลง 'เมียพี่มีชู้' . เดลินิวส์ฉบับที่ 23,776: วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 แรม 11 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเมีย
  4. "น้ำหมากกระจาย !!! mv เมียพี่มีชู้ ชายเมืองสิงห์ feat ใบเตย-จ้ะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-11-22.
  5. "'ชาย เมืองสิงห์'ฟิเจอริ่ง'จ๊ะ-ใบเตย-กระแต-จินตหรา-หญิง'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-04. สืบค้นเมื่อ 2014-11-22.
  6. ฟังเพลง เดอะแมนซิตี้ไลอ้อน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]