สมเด็จพระราชินีโกมลแห่งเนปาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชินีโกมลแห่งเนปาล
สมเด็จพระราชินีแห่งเนปาล (1 มิถุนายน ค.ศ. 2001 - 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2008)
ประสูติ2 มิถุนายน พ.ศ. 2494 (72 ปี)
เมืองพาคมตี ประเทศเนปาล
พระราชสวามีสมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทรวีรวิกรมศาหเทวะ
พระราชบุตรเจ้าชายปารัส มกุฎราชกุมารแห่งเนปาล
เจ้าหญิงเปรรณาแห่งเนปาล
ราชวงศ์ราชวงศ์ศาห์
พระราชบิดาศรีเกนทรศุมเศร์ จังพหาทุระราณา
พระราชมารดาศรีราชยลักษมีเทวี

สมเด็จพระราชินีโกมลราชยลักษมีเทวีศาหแห่งเนปาล (कोमल राज्य लक्ष्मी देवी - Komala Rājya Lakṣmī Devī, ประสูติ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951 ณ เมืองพาคมตี ประเทศเนปาล —) พระอัครมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทรวีรวิกรมศาหเทวะ พระองค์เป็นสมเด็จพระราชินีองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรเนปาล ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2008

พระราชประวัติ[แก้]

สมเด็จพระราชินีโกมลราชยลักษมีเทวีศาหแห่งเนปาล ประสูติเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951 ณ เมืองพาคมตี ประเทศเนปาล เป็นพระธิดาในศรีเกนทรศุมเศร์ จังพหาทุระราณา (1927-1982) กับศรีราชยลักษมีเทวี (1928-2005) สมเด็จพระราชินีโกมลมีพระพี่น้องทั้งหมด 3 พระองค์ กับอีก 1 คน ได้แก่

  1. สมเด็จพระราชินีไอศวรรยาราชยลักษมีเทวีศาหะ (7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1949 — 1 มิถุนายน ค.ศ. 2001)
  2. สมเด็จพระราชินีโกมลราชยลักษมีเทวีศาหะ (18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951 —)
  3. เจ้าหญิงพฤกษยาราชยลักษมีเทวีศาหะ (ค.ศ. 1952 — 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001)
  4. ศรีสุราชศุมเศร์ จังพหาทุระ ราณา

อภิเษกสมรส[แก้]

เจ้าชายชญาเนนทรวีรวิกรมศาหเทวะ (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ได้อภิเษกสมรสกับพระองค์ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1970 ทำให้พระองค์มีพระอิสริยยศขั้นต้นที่ เจ้าหญิงแห่งเนปาล ทั้งสองพระองค์ได้มีพระราชโอรส-ธิดาด้วยกัน 2 พระองค์ ได้แก่

  1. เจ้าชายปารัสวีรพิกรมศาหเทวะ มกุฎราชกุมารแห่งเนปาล (30 ธันวาคม ค.ศ. 1971 —) ดำรงตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมารแห่งเนปาล ปัจจุบันทรงอภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงหิมาณีราชยลักษมีเทวีศาหะ มกุฎราชกุมารีแห่งเนปาล[1] มีพระราชโอรส-ธิดาด้วยกัน 3 พระองค์[2]
  2. เจ้าหญิงเปรรณาราชยลักษมีเทวีศาหะ (20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1978 —) เสกสมรสกับกุมาร ราชพหาทุระ สิงห์ เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2546[3][4] มีโอรสด้วยกัน 1 คน[5]

เหตุการณ์สังหารหมู่พระราชวงศ์เนปาล[แก้]

ดูบทความหลักได้ที่ เหตุการณ์สังหารหมู่พระราชวงศ์เนปาล พ.ศ. 2544

โดยมกุฎราชกุมารทิเปนทรวีรพิกรมศาหเทวะ ได้ก่อเหตุการณ์สังหารหมู่พระราชวงศ์ภายในพระราชวังนารายันหิติ เมื่อวันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นเหตุให้สมเด็จพระราชาธิบดีพีเรนทรวีรพิกรมศาหเทวะ และสมเด็จพระราชินีไอศวรรยาราชยลักษมีเทวีศาหะ พระอัครมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีพีเรนทรวีรพิกรมศาหเทวะ และเป็นพระพี่นางของสมเด็จพระราชินีโกมล ซึ่งในเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้บุคคลในพระราชวงศ์เนปาลสิ้นพระชนม์ไปถึง 10 พระองค์[6] มกุฎราชกุมารได้พยายามกระทำอัตวินิบาตกรรม และถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาล[7] ส่วนเจ้าหญิงโกมล (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ก็ได้ถูกพระแสงปืนเข้าที่พระองค์ด้วย ทำให้ต้องนอนพักรักษาพระวรกายอยู่ในโรงพยาบาลอยู่ถึง 4 สัปดาห์[8]

ตำแหน่งราชินี[แก้]

ภายหลังการจากการสวรรคตของสมเด็จพระราชาธิบดีพีเรนทรวีรพิกรมศาหเทวะ จึงได้มีการยกมกุฎราชกุมารทิเปนทรวีรพิกรมศาหเทวะขึ้นครองราชย์สมบัติขณะที่มีพระอาการวิกฤตซึ่งประทับรักษาพระองค์ในโรงพยาบาล[9] และเสด็จสวรรคตหลังจากการครองราชย์ 3 วัน ดังนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทรวีรวิกรมศาหเทวะจึงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเนปาล เจ้าหญิงโกมล จึงได้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชินีแห่งเนปาล แต่หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้มีบุคคลบางส่วนเชื่อว่ามกุฎราชกุมารไม่ได้เป็นผู้กระทำการสังหารหมู่ดังกล่าว[10] แต่เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เองก็ได้สร้างตื่นตระหนก และความโศกเศร้าเสียใจแก่ประชาชนชาวเนปาลเป็นอย่างมาก[11]

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง[แก้]

หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศเนปาล พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ถูกลดพระยศเป็นสามัญชน พระองค์ถูกลดพระอิสริยยศเป็น นางโกมล ศาหะ พระบรมวงศานุวงศ์ต้องเสด็จออกจากจากที่ประทับในพระราชวังนารายันหิติซึ่งจะมีการดัดแปลงเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ[12] สมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนทรและพระองค์ ได้เสด็จออกจากพระราชวังนารายันหิติก่อนหน้าเส้นตาย 1 วัน โดยได้อาศัยอยู่ในพระราชวังฤดูร้อนนาคารชุนะ (Nagarjuna) ซึ่งอยู่ชานเมือง ส่วนมกุฎราชกุมารแห่งเนปาลได้อาศัยอยู่ในบ้านส่วนพระองค์กลางกรุงของสมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทร แต่รัฐบาลเนปาลก็อนุญาตให้ราชินีรัตนาในสมเด็จพระราชาธิบดีมเหนทร ให้พำนักในพระตำหนักมเหนทรมันซิล ที่มีพื้นที่เพียง 30 เฮกตาร์[13] และนางสาราลา โกร์คาลี หรือ นางสาราลา ตามัง (Sarala Tamang) วัยกว่า 94 ปี อดีตนางสนมในสมเด็จพระราชาธิบดีตริภุวน ให้พำนักภายในเรือนหลังเล็กภายในพระราชวังนารายันหิติได้ เนื่องจากรัฐบาลเห็นว่าทรงชราภาพแล้ว[14][15]

พระอิสริยยศ[แก้]

  • โกมลราชยลักษมีเทวีราณา (ค.ศ. 1951-1970)
  • เจ้าหญิงโกมลราชยลักษมีเทวีศาหะ (ค.ศ. 1970-2001)
  • สมเด็จพระราชินีโกมลราชยลักษมีเทวีศาหะ (ค.ศ. 2001-2008)

อ้างอิง[แก้]

  1. "Princess Himani Being Decorated". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-02. สืบค้นเมื่อ 2010-09-06.
  2. Crown Prince Paras profile[ลิงก์เสีย]
  3. Royal Wedding: Princess Prearana weds Kumar Raj Bahadur Singh January 22, 2003
  4. Nepal celebrates royal wedding BBC News. Wednesday, 22 January, 2003, 16:28
  5. Vote to abolish Nepal's monarchy
  6. เนปาลหลังสังหารหมู่พระราชวงศ์ เปิดฟ้าส่องโลก. วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2545
  7. "เนปาล ราชวงศ์มรณะ 2/5". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-06. สืบค้นเมื่อ 2010-09-05.
  8. Nepal queen leaves hospital
  9. "มกุฎราชกุมารแห่งเนปาลทำปิตุฆาต-มาตุฆาต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-19. สืบค้นเมื่อ 2010-09-05.
  10. "เนปาล ราชวงศ์มรณะ 3/5". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-06. สืบค้นเมื่อ 2010-09-05.
  11. "MOURNING A MONARCH". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-13. สืบค้นเมื่อ 2010-09-05.
  12. "Koninklijk paleis van Nepal wordt museum". DePers.nl. maandag 16 juni 2008 13:32. สืบค้นเมื่อ 2010-09-6. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  13. "Secret royal concubine, 94, to remain at palace". Hannah Gardner, Foreign Correspondent. June 13. 2008 4:31AM UAE / June 13. 2008 12:31AM GMT. สืบค้นเมื่อ 2010-09-5. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  14. อดีตประมุขเนปาล ทิ้งวัง-เคลียร์ข่าวลืออดีต[ลิงก์เสีย]
  15. Former queen mother allowed to stay in palace Barun Roy on June 10, 2008
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีโกมลแห่งเนปาล ถัดไป
สมเด็จพระราชินีไอศวรรยาแห่งเนปาล สมเด็จพระราชินีแห่งเนปาล
(1 มิถุนายน ค.ศ. 2001 - 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2008)

ยกเลิกระบอบกษัตริย์
ยกเลิกระบอบกษัตริย์ ผู้อ้างสิทธิในตำแหน่งสมเด็จพระราชินีแห่งเนปาล
(8 พฤษภาคม ค.ศ. 2008-ปัจจุบัน)

ปัจจุบัน
เจ้าหญิงหิมาณีราชยลักษมีเทวีศาหะ