สมเด็จพระราชินีเอ็มมาแห่งฮาวาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชินีเอ็มมาแห่งฮาวาย
สมเด็จพระราชินีแห่งฮาวาย
รัชสมัย19 มิถุนายน ค.ศ. 1856 - 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1863
รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระราชินีคาลามาแห่งฮาวาย
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระราชินีคาปิโอลานิแห่งฮาวาย
ประสูติ2 มกราคม ค.ศ. 1836
สวรรคต25 เมษายน ค.ศ. 1885 (พระชนมายุ 49 พรรษา)
พระราชสวามีพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 4 แห่งฮาวาย
พระราชบุตรเจ้าชายอัลเบิร์ต คาเมฮาเมฮา มกุฎราชกุมารแห่งฮาวาย
สมเด็จพระราชินีเอ็มมาแห่งฮาวาย
พระนามเต็ม
เอ็มมาลานี คาลานีคาอูมาคาอามาโน คาเลเลโอนาลานี นาเออา (แบบฮาวาย)
เอ็มมา อเล็กซานดรินา ฟรานซิส อักเนส ลาวเดอร์ บีด รูก ยัง คาเลเลโอคาลานี (แบบอังกฤษ)
พระนามาภิไธย
สมเด็จพระราชินีเอ็มมาแห่งฮาวาย
ราชวงศ์คาเมฮาเมฮา
พระราชบิดาจอร์จ นาเอ
โทมัส รูก (บุญธรรม)
พระราชมารดาแฟนนี่ เคเคลาโอคาลานี
ยัง รูก (บุญธรรม)
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระราชินีเอ็มมาลานี คาลานีคาอูมาคาอามาโน คาเลเลโอนาลานี นาเออาแห่งฮาวาย (อังกฤษ: Queen Consort Emma Kalanikaumakaamano Kaleleonālani Naʻea Rooke of Hawaiʻi) (2 มกราคม 1836 - 25 เมษายน 1885) เป็นพระอัครมเหสีในพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 4 แห่งฮาวาย และเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งราชอาณาจักรฮาวาย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1856 ไปสู่การสวรรคตใน ค.ศ. 1863

ต้นพระชนม์ชีพ[แก้]

สมเด็จพระราชินีเอ็มมาพร้อมครอบครัว

สมเด็จพระราชินีเอ็มมา เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1836 ที่โฮโนลูลู ราชอาณาจักรฮาวาย ทรงเป็นธิดาในจอร์จ นาเอกับแฟนนี่ เคเคลาโอคาลานี[1] พระบิดากับมารดาของพระองค์เป็นสมาชิกพระราชวงศ์ชั้นสูง พระองค์ทรงเป็นธิดาบุญธรรมของยัง รูกพระมาตุจฉาของพระองค์ และโทมัส รูกพระสวามี ตามราชประเพณีโบราณของฮาวาย

บิดาของสมเด็จพระราชินีเอ็มมา เป็นโอรสในคาฮูมานูกับคูคาเอเลอิ[2] พระราชตระกูลทางบิดาจึงเป็นเชื้อสายของพระราชวงศ์ชั้นสูง พระองค์ทรงมีความเกี่ยวดองกับสมเด็จพระราชินีคิโอปูโอลานิพระอัครมเหสีในพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 1 แห่งฮาวาย[3]

ทางมารดาของพระองค์ก็เป็นหลานสาวของจอห์น ยัง ที่ปรึกษาทางการทหารของพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 1 กับเจ้าหญิงคาโออานาเอฮาคูอาโทโอ[4]

พระองค์ทรงเติบโตในคฤหาสนภายใต้การอุปภัมภ์ของครอบครัวรูก ต่อมาพระองค์ก็ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนหลวง (ฮาวาย) ซึ่งก่อตั้งโดยมิชชันนารีอเมริกัน ทำให้พระองค์สนิทกับพระบรมวงศานุวงศ์ฮาวายหลายพระองค์ ในระหว่างที่พระองค์ทรงศึกษาอยู่พระองค์ก็โปรดการอ่านหนังสือมาก ทั้งพระองค์ยังมีพรสวรรค์ทางดนตรีมากมาย พระองค์ทรงเป็นนักร้อง นักเล่นเปียโน และนักเต้นที่เป็นที่รู้จักกันดี พระองค์ก็ยังมีฝีมือในการเป็นนักขี่ม้าได้อย่างดี

อภิเษกสมรสและครองราชย์[แก้]

สมเด็จพระราชินีเอ็มมาและพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 4

สมเด็จพระราชินีเอ็มมา ทรงหมั้นกับพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 4 แห่งฮาวายพระมหากษัตริย์ฮาวาย ระหว่างพิธีหมั้นชาวฮาวายกล่าวว่าพระองค์ไม่เหมาะที่จะเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฮาวาย และเชื้อสายของพระองค์ไม่เหมาะที่จะเป็นคู่อภิเษกสมรสของพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 4 ทำให้พระองค์เสียใจอย่างมากและกษัตริย์ก็ทรงพิโรธอย่างยิ่ง เชินีเอ็มมา ก็ประสูติพระโอรส ทรงพระนามว่า เจ้าชายอัลเบิร์ต คาเมฮาเมฮา

ในรัชสมัยของพระองค์และพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 4 ราชอาณาจักรฮาวายก็มีการพัฒนามากขึ้น พระองค์ทรงใส่ใจด้านการสาธารณสุขมาก พระองค์ทรงจัดตั้งโรงพยาบาลภายใต้การสนับสนุนของพระสวามี ในปี 1859 พระองค์ได้ทรงจัดตั้งโรงพยาบาลสมเด็จพระราชินีขึ้น เพื่อรักษาผู้ป่วยชาวฮาวาย โดยพระองค์ได้เสด็จออกเยี่ยมผู้ป่วยทุกวันในขณะที่เสด็จประทับอยู่ที่โฮโนลูลู ปัจจุบันโรงพยาบาลนี้ถูกเรียกว่าศูนย์การแพทย์สมเด็จพระราชินี

เมื่อตอนที่เจ้าชายอัลเบิร์ตเสด็จพระราชสมภพ แมรี่ อัลเลนภรรยาของหัวหน้าผู้พิพากษาของศาลฎีกาอลิชา อัลเลน ก็คลอดบุตรชายชื่อ เฟรเดอริก ออกมาในวันเดียวกัน ทำให้ทั้งสองเป็นเพื่อนเล่นกันในเวลาต่อมา ในปี 1862 สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรก็ทรงรับเจ้าชายอัลเบิร์ตเป็นพระราชโอรสบุญธรรม และได้ส่งถ้วยเลินมาเป็นของรับขวัญ ก่อนที่ถ้วยจะมาถึงเจ้าชายล้มป่วยลงในเดือนสิงหาคมและสภาพแย่ลง เจ้าชายสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 1862 และพระราชสวามีของพระองค์สวรรคตในปีต่อมา[5]

สวรรคต[แก้]

ขบวนแห่พระบรมศพของสมเด็จพระราชินีเอ็มมา เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 1885

สมเด็จพระราชินีเอ็มมาแห่งฮาวาย เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1885 ขณะมีพระชนมายุ 49 พรรษา ตอนแรกจะทำพิธีพระบรมศพที่บ้านของพระองค์ แต่สุดท้ายก็ย้ายไปที่โบสถ์เนื่องจากที่บ้านไม่กว้างขวางพอ

พระบรมศพของพระองค์ได้รับการฝังเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1885[2][6] ที่สุสานพระราชวงศ์ฮาวาย

อ้างอิง[แก้]

  1. "Queen Emma "Kaleleonalani" Naea". Our Family History and Ancestry. Families of Old Hawaii. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-28. สืบค้นเมื่อ 2009-12-04.
  2. 2.0 2.1 Edith K. McKinzie and Ishmael W. Stagner (1983). Hawaiian Genealogies: Extracted from Hawaiian Language Newspapers. Vol. 1. University of Hawaii Press. p. 73. ISBN 0-939154-28-5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Kahili" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. George S. Kanahele (1999). Emma: Hawai'i's Remarkable Queen: a Biography. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-2240-8.
  4. Emmett Cahill (1999). The Life and Times of John Young: Confidant and Advisor to Kamehameha the Great. Island Heritage Publishing, Aiea Hawaii. p. 147. ISBN 978-0-89610-449-5.
  5. Rhoda E. A. Hackler (1992). "Albert Edward Kauikeaouli Leiopapa a Kamehameha, Prince of Hawai'i". Hawaiian Journal of History. Vol. 26. Hawaii Historical Society. pp. 21–44. {{cite news}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  6. David W. Forbes, บ.ก. (2003). Hawaiian national bibliography, 1780-1900. Vol. 4. University of Hawaii Press. pp. 144–145. ISBN 0-8248-2636-1.

ดูเพิ่ม[แก้]

  • Barbara Bennett Peterson (2003). Emalani: Queen Emma Kaleleonālani. Daughters of Hawaii Publications Committee. ISBN 978-0-938851-14-1.
  • Nesta Obermer, Paul Larsen (1960). E Ola o Emmalani (Queen Emma speaks). Queen's Hospital Honolulu.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  • Emma, Peter Kaʻeo (1976). Alfons L. Korn (บ.ก.). News from Molokai, letters between Peter Kaeo & Queen Emma, 1873-1876. The University Press of Hawaii. ISBN 978-0-8248-0399-5.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  • Emma (1976). He lei no ʻEmalani. Translated by Puakea Nogelmeier. Queen Emma Foundation. ISBN 978-1-58178-009-3.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์) CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) (songbook)
  • King David Kalakaua (1888). Hawaiian Legends: Introduction.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  • Charles Ahlo (2000). Kamehameha's Children Today. Bishop Museum Honolulu.
  • William Afong Kaipo Kuamo'o (2006). The History of My Kuamo'o-Sun Family of Hilo & Honolulu, Hawaii. OroViejo Publishing Scottsdale Arizona.
  • David Kaonohiokala Bray & Douglas Low (1980). The Kahuna Religion of Hawai'i. Borderland Sciences & Research Foundation, Inc. Garberville, CA.
  • Mary Pukui & Samuel A. Elbert (1986). Hawaiian Dictionary. University of Hawaii Press Honolulu Hawaii.
  • William Afong Kaipo Kuamoo (April 2010). The Poʻo Kahuna Prince Who Would be King of Hawaii: The Battle of Kuamoo. Oʻiwi: The Native Hawaiian Journal Volume 4 University of Hawaii Press.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]