สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส
พระบรมสาทิสลักษณ์ ปี 1783
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งโปรตุเกสและอัลการ์วึ
ครองราชย์24 กุมภาพันธ์ 1777 –
20 มีนาคม 1816
พิธีอวยองค์13 พฤษภาคม 1777
ก่อนหน้าพระเจ้าฌูเซที่ 1
ถัดไปพระเจ้าฌูเอาที่ 6
ผู้ร่วมในราชสมบัติพระเจ้าเปดรูที่ 3 (สิทธิของพระมเหสี)
ผู้สำเร็จราชการเจ้าชายฌูเอา
(1792–1816)
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งบราซิล
ครองราชย์16 ธันวาคม 1815 –
20 มีนาคม 1816
ถัดไปพระเจ้าฌูเอาที่ 6
พระราชสมภพ17 ธันวาคม ค.ศ. 1734(1734-12-17)
ลิสบอน, ราชอาณาจักรโปรตุเกส
สวรรคต20 มีนาคม ค.ศ. 1816(1816-03-20) (81 ปี)
รีโอเดจาเนโร, ราชอาณาจักรบราซิล
พระราชสวามีพระเจ้าเปรโดที่ 3 แห่งโปรตุเกส พระราชสวามี
พระราชบุตรโฌเซ เจ้าชายแห่งบราซิล
พระเจ้าฌูเอาที่ 6
อินฟันตามารีอานา บิกโตเรีย
พระบรมนามาภิไธย
มารีอา ฟรานซิสกา อิซาเบล โจเซฟา แอนโทเนีย เจอร์ทรูด ริตา ฮวนนา
ราชวงศ์บรากันซา
พระราชบิดาพระเจ้าฌูเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส
พระราชมารดามารีอานา บิกโตเรีย แห่งสเปน
ศาสนาโรมันคาทอลิก
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส (17 ธันวาคม พ.ศ. 2277 - 20 มีนาคม พ.ศ. 2359,พระนามเต็ม: มารีอา ฟรานซิสกา อิซาเบล โจเซฟา แอนโทเนีย เจอร์ทรูด ริตา ฮวนนา) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งโปรตุเกสและแอลการ์ฟ ตั้งแต่พ.ศ. 2320 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม มารีอา ผู้ใจบุญ โดยชาวโปรตุเกส และเป็นที่รู้จักในพระนาม มารีอา ผู้วิปลาส โดยชาวบราซิล เป็นพระประมุขพระองค์แรกของโปรตุเกสที่เป็นสตรีเพศ เป็นพระราชธิดาพระองค์โตจากพระธิดาทั้งสี่พระองค์ในพระเจ้าฌูเซที่ 1 แห่งโปรตุเกสกับสมเด็จพระราชินีมารีอานา วิกตอเรียแห่งโปรตุเกส

ช่วงต้นของพระชนม์ชีพ[แก้]

ขณะดำรงฐานันดรเป็น อินฟันตามารีอา

เจ้าหญิงมารีอาพระราชสมภพที่พระราชวังริเบย์รา ซึ่งต่อมาพระราชวังนี้ได้ถูกทำลายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ พระนามเต็มของพระนางคือ มารีอา ฟรานซิสกา อิซาเบล โจเซฟา แอนโทเนีย เจอร์ทรูด ริตา ฮวนนา ในวันพระราชสมภพ พระเจ้าฌูเอาที่ 5 แห่งโปรตุเกสซึ่งเป็นพระอัยกาของพระนาง ได้มอบพระอิสริยยศเจ้าหญิงเป็น เจ้าหญิงแห่งเบย์รา พระนางเป็นพระราชธิดาพระองค์โตจากทั้งหมด 4 พระองค์

เมื่อพระราชบิดาได้สืบราชสมบัติเป็น พระเจ้าโจเซฟแห่งโปรตุเกส หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าฌูเอาที่ 5 ในปีพ.ศ. 2293 เจ้าหญิงมารีอาได้รับการสถาปนาเป็น เจ้าหญิงแห่งบราซิลซึ่งเป็นพระอิสริยยศตามแบบดั้งเดิม ซึ่งไม่ใช่พระอิสริยยศดัสเชสแห่งบรากันซา

เจ้าหญิงมารีอาทรงเจริญพระชันษาในช่วงที่การปกครองของพระราชบิดาและรัฐบาลอยู่ภายใต้อำนาจของมาควิสแห่งพอมบาล พระราชบิดาของพระนางมักจะปลีกตัวพระองค์จากการเมืองมาพำนักที่พระราชวังหลวงเควลูซ ซึ่งต่อมาได้มอบให้กับเจ้าหญิงมารีอาและพระสวามี มาควิสแห่งพอมบาลได้เข้ากุมอำนาจในรัฐบาลหลังจากเหตุการณ์ครั้งร้ายแรงคือ แผ่นดินไหวในลิสบอน พ.ศ. 2298 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2293 วึ่งส่งผลให้ประชาชนกว่าหนึ่งแสนคนต้องเสียชีวิต และพระราชวังริเบย์ราถูกทำลายจนสิ้น

หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนั้นส่งผลให้พระราชบิดาของพระนางเกิดพระอาการประหลาดคือ พระองค์มักจะรู้สึกอึดอัดในที่ที่ไม่มีช่องว่าง อันเป็นผลมาจากโรคกลัวที่ปิดทึบ (Claustrophobia) พระเจ้าฌูเซทรงสร้างที่ประทับในเมืองอาจูดา โดยให้ห่างไกลจากตัวเมือง ซึ่งพระราชวังเป็นที่รู้จักในชื่อ พระราชวังเรียล บาร์ราคา เดอ อาจูดา (กระท่อมหลวงแห่งอาจูดา) เนื่องจากว่าทั้งตัวพระราชวังทำจากไม้ทั้งสิ้น พระราชวงศ์ทรงประทับร่วมกันที่พระราชวังนี้และเป็นที่ที่เจ้าหญิงมารีอาทรงพระประสูติกาลพระโอรสพระองค์แรกด้วย ต่อมาในปีพ.ศ. 2337 พระราชวังนี้ได้ถูกเพลิงเผาจนวอดวายและได้มีการสร้างพระราชวังหลวงอาจูดาขึ้นแทนที่

อภิเษกสมรสและพระราชบุตร[แก้]

เจ้าหญิงมารีอาทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายเปโดร ซึ่งเป็นพระปิตุลาของพระนาง และเป็นผู้ซึ่งต่อมาได้เป็นผู้ปกครองร่วมกับพระนางมารีอาเมื่อพระนางขึ้นครองราชย์ พระราชพิธีอภิเษกสมรสได้จัดขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2303 ซึ่งเจ้าสาวมีพระชนมายุเพียง 25 พรรษา ส่วนเจ้าบ่าวมีพระชนมายุ 43 พรรษา ถึงแม้จะเป็นการอภิเษกสมรสที่ต่างพระชันษากันมาก แต่ก็จัดเป็นคู่อภิเษกสมรสที่มีความสุขคู่หนึ่งซึ่งปรากฏพบได้ยากในการแต่งงานของราชวงศ์ ทั้งสองพระองค์ทรงให้กำเนิดโอรสและธิดารวม 6 พระองค์ ได้แก่

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
เจ้าชายโจเซแห่งบราซิล 176120 สิงหาคม
พ.ศ. 2304
178811 กันยายน
พ.ศ. 2331
อภิเษกสมรส 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2320
เจ้าหญิงเบเนดิกตาแห่งโปรตุเกส ผู้เป็นพระมาตุจฉา
ไม่มีรัชทายาท
เจ้าชายโจอาว ฟรานซิสโกแห่งโปรตุเกส 176316 กันยายน
พ.ศ. 2306
176310 ตุลาคม
พ.ศ. 2306
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
เจ้าหญิงมารีอา อิซาเบลแห่งโปรตุเกส 176623 ธันวาคม
พ.ศ. 2309
177714 มกราคม
พ.ศ. 2320
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส 176713 พฤษภาคม
พ.ศ. 2310
182610 มีนาคม
พ.ศ. 2369
อภิเษกสมรส 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2328
เจ้าหญิงคาร์ลอตา โจวควินาแห่งสเปน
มีรัชทายาท 9 พระองค์ ได้แก่
เจ้าหญิงมารีอา เทเรซาแห่งเบย์รา
เจ้าชายฟรานซิสโก อันโตนิโอแห่งเบย์รา
มารีอา อิซาเบลแห่งโปรตุเกส สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน
สมเด็จพระจักรพรรดิเปโดรที่ 1 แห่งบราซิล
เจ้าหญิงมารีอา ฟรานซิสกาแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงอิซาเบล มารีอาแห่งโปรตุเกส
พระเจ้ามิเกลแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงมารีอา ดา อัสซันโคแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงอนา เดอ จีซัส มารีอาแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงมารีอานา วิกตอเรียแห่งโปรตุเกส 176815 ธันวาคม
พ.ศ. 2311
17882 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2331
อภิเษกสมรส 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2371
เจ้าชายกาเบรียลแห่งสเปน
มีรัชทายาท 3 พระองค์ ได้แก่
เจ้าชายเปโดร คาร์ลอสแห่งสเปนและโปรตุเกส
เจ้าหญิงมารีอา คาร์ลอตาแห่งสเปน
เจ้าชายคาร์ลอสแห่งสเปน
เจ้าหญิงมารีอา คลีเมนทีนาแห่งโปรตุเกส 17749 มิถุนายน
พ.ศ. 2317
177627 มิถุนายน
พ.ศ. 2319
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์

ครองบัลลังก์โปรตุเกสและพระอาการวิปลาส[แก้]

พระนางมารีอาและพระสวามีในวันขึ้นครองราชสมบัติ

ในปีพ.ศ. 2320 เจ้าหญิงมารีอาได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชินีนาถพระองค์แรกแห่งโปรตุเกสและแอลการ์ฟ และเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 26 พระสวามีของพระนางได้เป็นพระประมุขร่วม พระนามว่า พระเจ้าเปโดรที่ 3 แห่งโปรตุเกส แม้ว่าพระสวามีจะดำรงเป็นผู้ปกครองร่วมแต่แท้จริงแล้วอำนาจทั้หมดกลับตกอยู่ในพระหัตถ์ของพระนางมารีอา พระนางทรงเป็นนักปกครองที่ดีและชาญฉลาดถ้าไม่เกิดพระอาการวิปลาสของพระนาง

บทบาทแรกในการเป็นสมเด็จพระราชินีนาถของพระนางคือ การปลดมาควิสแห่งพอมบาล ผู้เป็นที่นิยมออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและทรงประกาศไม่ให้เขาเข้าใกล้พระองค์เป็นระยะ 20 ไมล์ มาควิสแห่งพอมบาลเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ทาวอรา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์พระเจ้าโจเซฟในรัชกาลก่อน และผลลัพธ์คือคนในตระกูลทาวอราถูกสั่งประหารชีวิต ซึ่งคนในตระกูลนี้เป็นปรปักษ์กับมาควิสแห่งพอมบาล จนทำให้มาควิสแห่งพอมบาลมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ จนเรียกได้ว่า ยุคภูมิธรรมของพอมบาล และเป็นผู้ต่อต้านคณะเยซูอิต ซึ่งพระนางมารีอาไม่ทรงโปรดพอมบาลพระนางจึงสั่งปลดเขา ในช่วงนี้ประเทศโปรตุเกสได้เข้าเป็นสมาชิกในสันนิบาตแห่งความเป็นกลางทางกองทัพ (เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2325)

พระนางมารีอาทรงทรมานจากการที่ทรงเคร่งครัดในพระศาสนามากเกินไปและทรงเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นพระอาการแบบเฉียบพลันทำให้พระนางไม่สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองได้ พระนางเป็นพระโรคเดียวกับพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรซึ่งทรงพระประชวรด้วยโรคพอร์ฟีเรีย

พระอาการวิปลาสของพระนางเริ่มปรากฏเด่นชัดขึ้นในปีพ.ศ. 2329 เมื่อพระนางมารีอาทรงถูกกุมพระองค์กลับมายังพระตำหนักด้วยพระอาการคลุ้มคลั่ง สภาพจิตใจของพระนางเลวร้ายยิ่งขึ้น และในปีเดียวกันพระสวามีของพระนางเสด็จสวรรคตในเดือนพฤษภาคม สภาพจิตใจของพระนางเหมือนแหลกสลายทรงออกประกาศห้ามให้มีความบันเทิง และการฉลองรัฐพิธีต่างๆให้เป็นไปตามพิธีกรรมทางศาสนาทั้งสิ้น สภาพจิตใจของพระนางสูญเสียมากขึ้นเมื่อพระราชโอรสพระองค์โตสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุ 27 พรรษาด้วยไข้ทรพิษ และหลังจากการสารภาพบาปของพระนางในปีพ.ศ. 2334 ก็มีผลให้พระอาการเลวร้ายยิ่งขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2335 พระนางทรงได้รับการรักษาจากฟรานซิส วิลลิส แพทย์ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้ที่ทำการรักษาพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร วิลลิสประสงค์ให้พระนางเสด็จไปรับการรักษาที่ประเทศอังกฤษแต่ทางราชสำนักได้ปฏิเสธแผนการนี้ เจ้าชายฌูเอา พระราชโอรสพระองค์สุดท้องได้ใช้พระราชอำนาจปกครองประเทศภายใต้พระนามของพระราชมารดา และทรงได้ดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ในปีพ.ศ. 2342 เมื่อพระราชวังเรียล บาร์ราคา เดอ อาจูดาได้ถูกเพลิงเผาผลาญจนสิ้นในปีพ.ศ. 2337 พระราชวงศ์ได้ย้ายไปประทับที่พระราชวังเควลูซ ซึ่งเป็นที่ซึ่งพระนางมารีอาทรงถูกบังคับให้อยู่บนพระแท่นบรรทมโดยทรงถูกผูกติดกับพระแท่นตลอดทั้งวันโดยไม่ให้เสด็จออกจากห้อง แขกผู้มาเยือนราชสำนักโปรตุเกสต่างได้ยินเสียงกรีดร้องอย่างทรมานของพระนางมารีอาซึ่งจะมีเสียงสะท้อนกลับทั่วทั้งพระราชวัง

สงครามนโปเลียนและเสด็จสวรรคต[แก้]

พระราชินีนาถมารีอาที่ 1 และพระราชวงศ์บรากันซาเสด็จถึงท่าเรือเพื่อลี้ภัยไปยังบราซิล

ในปีพ.ศ. 2344 มานูเอล โกดอย นายกรัฐมนตรีเผด็จการแห่งสเปนได้ส่งกองทัพบุกโปรตุเกสด้วยการสนับสนุนจากนโปเลียน แต่ในปีเดียวกันก็ถูกสั่งระงับแผนการไว้ อย่างไรก็ตามในสนธิสํญญาบาดาจอซในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2344 โปรตุเกสได้ถูกบังคับให้มอบโอลิเวนซาและส่วนหนึ่งของกายอานาแก่สเปน

รัฐบาลโปรตุเกสปฏิเสธที่จะร่วมในแผนการบุกเกาะอังกฤษของฝรั่งเศสและสเปนในปีพ.ศ. 2350 กองทัพฝรั่งเศส-สเปนนำโดยนายพลฌอง-อันดอเช ชูโนต์ได้บุกโปรตุเกส กองทัพโปรตุเกสพ่ายแพ้ นายพลชูโนต์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการแผ่นดินโปรตุเกสโดยการตัดสินพระทัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ประสงค์ให้ทำลายราชอาณาจักรโปรตุเกส จากการร้องขอของรัฐบาลอังกฤษ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2350 พระราชวงศ์บรากันซาตัดสินพระทัยลี้ภัยไปยังบราซิลและก่อตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในราชอาณาจักรบราซิลขึ้น พระนางและพระราชวงศ์ประทับเรือพระที่นั่งปรินซิเป เรียล ระหว่างการเสด็จจากพระราชวังมายังท่าเรือ พระนางทรงกรีดร้องและกรรแสงตลอดทางและเป็นเช่นนี้ตลอดจนถึงบราซิล สมเด็จพระราชินีทรงเริ่มมีภาวะสมองเสื่อม พระนางทรงหวาดผวาโดยทรงคำนึงว่าพระองค์จะทรงถูกนำไปทรมานหรือทรงถูกนำไปปล้นในระหวางการเดินทางโดยเหล่านางสนองพระโอษฐ์ของพระนางเอง

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2351 เจ้าชายฌูเอาและพระราชวงศ์เสด็จถึงซาลวาดอร์ ซึ่งเป็นที่ที่พระองค์ทรงเปิดการค้าระหว่างบราซิลกับมิตรประเทศซึ่งรวมทั้งประเทศอังกฤษ กฎหมายนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะยกเลิกสัญญาอาณานิคมซึ่งใช้บราซิลเป็นแผ่นดินหลักแทนโปรตุเกส

พลโท อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกแห่งเวลลิงตัน แห่งกองทัพอังกฤษ

ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2358 พลโท ดยุกแห่งเวลลิงตัน แห่งกองทัพอังกฤษได้บุกเข้าสู่กรุงลิสบอนอันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามคาบสมุทร (Peninsular War) วันที่ 28 สิงหาคม ดยุกแห่งเวลลิงตันได้ชัยชนะเหนือนายพลฌอง-อันดอเช ชูโนต์ในสมรภูมิไวเมโร และถือเป็นการขจัดอำนาจของนายพลชูโนต์และเป็นการปลดแอกโปรตุเกสในการประชุมแห่งซินทรา วันที่ 30 สิงหาคม อย่างไรก็ตามนายพลอาร์เธอร์ เวลเลสลีย์ได้กลับมาโปรตุเกสอีกครั้งในวันที่ 22 เมษายนปีถัดมาเพื่อประกาศสงคราม โปรตุเกสภายใต้กองทัพอังกฤษมีความสามารถในการป้องกันประเทศตามเส้นทางแห่งตอร์เรส เวดราสและการบุกรุกของสเปนและฝรั่งเศส

ในปีพ.ศ. 2358 รัฐบาลพลัดถิ่นและราชวงศ์ได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองมาที่บราซิลในฐานะราชอาณาจักรอย่างเต็มรูปแบบ และพระนางมารีอาทรงได้รับพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักรโปรตุเกส, บราซิล และ อัลการ์เวส เมื่ออำนาจของนโปเลียนสิ้นสุดลงในปีพ.ศ. 2358 พระนางมารีอาและพระราชวงศ์ยังทรงประทับอยู่ที่บราซิล

ช่วงเวลา 9 ปีในบราซิลซึ่งเป็นที่ที่พระนางประทับอย่างไร้ความสุข พระนางมารีอาเสด็จสวรรคตที่คาร์เมลิต คอนแวนต์ ณ กรุงรีโอเดจาเนโรในปีพ.ศ. 2359 สิริพระชนมายุ 81 พรรษา ซึ่งทรงดำรงพระชนม์ชีพยืนยาวที่สุดในบรรดากษัตริย์โปรตุเกสนับตั้งแต่สถาปนาราชอาณาจักรโปรตุเกส เจ้าชายฌูเอา พระโอรสได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อ พระนาม พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส พระบรมศพของพระนางมารีอาได้ส่งกลับมายังลิสบอน และฝังที่สุสานในโบสถ์แห่งเอสเตอราที่ซึ่งพระนางทรงอุปถัมภ์

ต่อมาพระบรมรูปหินอ่อนของพระนางได้ถูกสร้างขึ้นในห้องสมุดแห่งชาติกรุงลิสบอนโดยคณะนักศึกษาของ โจอาคิม มาร์ชาดา เดอ คัสโตรซึ่งเป็นผู้กำกับโครงการ

ความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรสยาม[แก้]

พระนางเจ้ามารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกสถวายพระราชสาส์นโดยตรงจากกรุงลิสบอนสู่กรุงรัตนโกสินทร์ ในปีพ.ศ. 2329 ซึ่งเป็นปีที่ 5 ในรัชกาลที่ 1 แห่งสยาม ดังนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงทราบ ก็ทรงตระหนักถึงการให้ความสำคัญของโปรตุเกสต่อรัตนโกสินทร์ที่เพิ่งตั้งได้เพียง 5 ปี จึงได้มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้เตรียมการรับราชทูตแห่งโปรตุเกสอย่างสมเกียรติ แต่พระราชสาส์นของพระนางมารีอาได้สูญหาย จึงทำให้ปัจจุบันไม่ทราบความในพระราชสาส์น แต่ในพระราชสาส์นตอบของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้นทำให้ทราบว่าทางพระราชินีโปรตุเกสได้กราบบังคมทูลขอตั้งสถานีการค้าในกรุงเทพมหานครขึ้นและความช่วยเหลือทางการทหารเข้ามาด้วย นับเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามายังสยามในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์[1]

พระอิสริยยศ[แก้]

  • 17 ธันวาคม พ.ศ. 2277 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2293 : เจ้าหญิงแห่งเบย์รา,ดัสเชสแห่งบาร์เชลอส
  • 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2293 - 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2320 : เจ้าหญิงแห่งบราซิล,ดัสเชสแห่งบรากันซา
  • 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2320 - ธันวาคม พ.ศ. 2358 : สมเด็จพระราชินีนาถแห่งโปรตุเกสและแอลการ์ฟ
  • ธันวาคม พ.ศ. 2358 - 20 มีนาคม พ.ศ. 2359 : สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักรโปรตุเกส, บราซิล และแอลการ์ฟ

ดูเพิ่ม[แก้]

พระราชตระกูล[แก้]

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระเจ้าโจอาวที่ 4 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าเปดรูที่ 2 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. เจ้าหญิงลุยซาแห่งเมดินา ซิโดเนีย
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าฌูเอาที่ 5 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. ฟิลิป วิลเลียม อีเล็กเตอร์ พาเลนทีน (=20 และ 30)
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าหญิงมารีอา โซเฟียแห่งพาลาทิเนต-เนาบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. แลนด์เกรฟวีนเอลิซาเบธ อเมลีแห่งเฮสส์-ดัมสตัดท์ (=23 และ 31)
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าโจเซฟแห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. สมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
 
 
 
 
 
 
 
10. สมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เจ้าหญิงมารีอา อันนาแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
5. อาร์คดัสเชสมารีอา แอนนาแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. ฟิลิป วิลเลียม อีเล็กเตอร์ พาเลนทีน (=18 และ 30)
 
 
 
 
 
 
 
11. เจ้าหญิงเอเลโอนอร์ แม็กดาเลนแห่งเนาบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. แลนด์เกรฟวีนเอลิซาเบธ อเมลีแห่งเฮสส์-ดัมสตัดท์ (=19 และ 31)
 
 
 
 
 
 
 
1. สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
12. เจ้าชายหลุยส์ แกรนด์ ดอแฟงแห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. เจ้าหญิงมารีอา เทเรสแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
6. พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. เฟอร์ดินานด์ มารีอา อีเล็กเตอร์แห่งบาวาเรีย
 
 
 
 
 
 
 
13. ดัชเชสมารีอา อันนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. เจ้าหญิงเฮนเรียต อเดเลดแห่งซาวอย
 
 
 
 
 
 
 
3. เจ้าหญิงมารีอานา วิกตอเรียแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. รานูชิโอที่ 2 ฟาร์เนเช ดยุคแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
14. โอโดอาร์โดที่ 2 ดยุคแห่งพาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เจ้าหญิงอิซาเบลลาแห่งโมเดนา
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ฟาร์เนเซแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. ฟิลิป วิลเลียม อีเล็กเตอร์ พาเลนทีน (=18 และ 22)
 
 
 
 
 
 
 
15. ดัชเชสมารีอา อันนาแห่งบาวาเรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. แลนด์เกรฟวีนเอลิซาเบธ อเมลีแห่งเฮสส์-ดัมสตัดท์ (=19 และ 23)
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง[แก้]

  1. ไกรฤกษ์ นานา.500 ปี สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน ไทย-โปรตุเกส.2553

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Maria I of Portugal

ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส ถัดไป
พระเจ้าโจเซฟ
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งโปรตุเกสและแอลการ์ฟ
ปกครองร่วมกับพระสวามี
พระเจ้าเปโดรที่ 3 แห่งโปรตุเกส (จนกระทั่งพ.ศ. 2329)

(24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2320 - 20 มีนาคม พ.ศ. 2359)
พระเจ้าฌูเอาที่ 6
สถาปนาพระอิสริยยศ
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักรโปรตุเกส, บราซิล และอัลการ์เวส
(16 ธันวาคม พ.ศ. 235 - 20 มีนาคม พ.ศ. 2359)
พระเจ้าฌูเอาที่ 6
เจ้าหญิงบาร์บาราแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงแห่งเบย์รา
(พ.ศ. 2277 - พ.ศ. 2293)
ตำแหน่งว่าง
ลำดับถัดไปคือ
เจ้าหญิงมารีอาแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงมารีอานา วิกตอเรียแห่งสเปน
เจ้าหญิงแห่งบราซิล
(พ.ศ. 2293 - พ.ศ. 2320)
ตำแหน่งว่าง
ลำดับถัดไปคือ
เจ้าหญิงเบเนดิกตาแห่งโปรตุเกส