สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์

(พิมพ์ ธมฺมธโร)
คำนำหน้าชื่อท่านเจ้าประคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด1 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 (77 ปี ปี)
มรณภาพ30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นโท
เปรียญธรรม 6 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท19 เมษายน พ.ศ. 2460
พรรษา57
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ นามเดิม พิมพ์ แสนทวีสุข ฉายา ธมฺมธโร เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะสงฆ์ เช่น ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช สังฆมนตรี รองประธานสังฆสภา กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นต้น

ประวัติ[แก้]

วัยเยาว์[แก้]

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีนามเดิมว่า พิมพ์ แสนทวีสุข เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน ที่บ้านสว่าง ตำบลสว่าง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายทองกับนางนวล แสนทวีสุข เมื่อโตขึ้นได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดบ้านม่วงและโรงเรียนอุบลวิทยาคมตามลำดับจนจบชั้นมูล ข (เทียบเท่า ม. 2)[1]

อุปสมบท[แก้]

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2457 ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระราชมุนี (อ้วน ติสฺโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) เป็นสรณคมนาจารย์ และอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2460 ณ อุทกุกเขปสีมาในแม่น้ำมูล ที่บ้านโพธิ์ตาก ตำบลพิบูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระราชมุนี (อ้วน ติสฺโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายานามทางธรรมว่า ธมฺมธโร[2]

ในพรรษาแรกนั้นพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ประสงค์จะให้ท่านออกธุดงค์ แต่ต่อมาพระอาจารย์มั่นเห็นนิมิตว่าพระพิมพ์กอดตู้พระไตรปิฎกไว้แน่น แม้ท่านจะแกะแขนออก แต่ขาของพระพิมพ์ก็ยังเกี่ยวตู้ไว้อยู่ พระอาจารย์มั่นพยายามดึงเท่าไรก็ไม่ออก จากนิมิตนี้พระอาจารย์มั่นจึงปล่อยให้ท่านศึกษาพระปริยัติธรรมไป[3]

การศึกษาพระปริยัติธรรม[แก้]

ศาสนกิจ[แก้]

ปี พ.ศ. 2471 พระมหาพิมพ์ ธมฺมธโร ได้ไปดูแลกิจการคณะสงฆ์ที่วัดสุทธจินดาวรวิหาร จังหวัดนครราชสีมา ถึงปี พ.ศ. 2480 ท่านถูกส่งไปดูแลคณะสงฆ์ที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ แล้วไปจัดการคณะสงฆ์ที่แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ในปี พ.ศ. 2484 จากนั้นย้ายมาอยู่วัดแสนสำราญ จังหวัดอุบลราชธานี จนกระทั่งรัฐบาลตั้งวัดพระศรีมหาธาตุขึ้น ท่านได้รับมอบหมายให้มาเป็นรองเจ้าอาวาส เมื่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เจ้าอาวาสมรณภาพ ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแทนสืบมาจนถึงแก่มรณภาพ

มรณภาพ[แก้]

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มรณภาพเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 เวลา 09:10 น.[1] สิริรวมอายุ 77 ปี พรรษา 57

ตำแหน่งในคณะสงฆ์[แก้]

ผลงานหนังสือ[แก้]

ที่พิมพ์เป็นหนังสือแล้ว เช่น ;

  • มงคลยอดชีวิต
  • บทสร้างนิสัย
  • โลกานุศาสนี
  • ฯลฯ

สมณศักดิ์[แก้]

  • พ.ศ. 2475 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระญาณดิลก[10]
  • พ.ศ. 2489 เป็นพระราชาคณะเสมอชั้นราชในนามเดิม[2]
  • พ.ศ. 2490 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชกวี นรสีหพจนปิลันธน์ คันถรจนาบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[11]
  • พ.ศ. 2492 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโมลี ตรีปิฎกธาดา มหากถิกสุนทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[12]
  • พ.ศ. 2496 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปิฎก อดุลญาณนายกกถิกสุนทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[13]
  • พ.ศ. 2504 เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระพรหมมุนี ศรีวิสุทธินายก ตรีปิฎกธรรมาลังการวิภูสิต อีสานทิศธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[14]
  • พ.ศ. 2508 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ จาตุรงคประธานวิสุต พุทธพจนมธุรสธรรมวาที คัมภีรญาณปริยัติโกศล วิมลศีลาจารวัตร เวไนยบริษัทประสาทกร ธรรมยุติคณิสสร มหาสังฆนายก[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ประวัติบูรพาจารย์ผู้ก่อตั้ง - สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ธม.มธโร พิมพ์ แสนทวีสุข)". มูลนิธิสองสมเด็จแสนทวีสุข. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-29. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. ISBN 974-417-530-3, หน้า 143-4
  3. มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต. บูรพาจารย์. พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพฯ : ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์, 2557. หน้า 215-7. ISBN 974-88603-6-1
  4. ราชกิจจานุเบกษา, รายนามพระสงฆ์สามเณรที่สอบไล่พระปริยัติธรรมได้ ในพุทธศักราช ๒๔๖๙ และ ๒๔๗๐, เล่ม 45, ตอนที่ ง, 13 พฤษภาคม 2471, หน้า 435
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งและแต่งตั้งสังฆมนตรี, เล่ม 68, ตอนที่ 50, 1 กรกฎาคม 2494, หน้า 3087-8
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งและแต่งตั้งสังฆมนตรี, เล่ม 72, ตอนที่ 61 ง ฉบับพิเศษ, 13 สิงหาคม 2498, หน้า 18-20
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช, เล่ม 88, ตอนที่ 144, 21 ธันวาคม 2514, หน้า 3,513
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช, เล่ม 90, ตอนที่ 159 ง ฉบับพิเศษ,7 ธันวาคม 2516, หน้า 6
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช, เล่ม 90, ตอนที่ 162, 11 ธันวาคม 2516, หน้า 3,981
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 49, 13 พฤศจิกายน 2475, หน้า 2755
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 64, ตอน 27, 17 มิถุนายน 2490, หน้า 1528-9
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 66, ตอน 66, 6 ธันวาคม 2492, หน้า 5405
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 70, ตอน 78, 26 ธันวาคม 2496, หน้า 5351
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 78, ตอน 104, 15 ธันวาคม 2504, ฉบับพิเศษ, หน้า 10-13
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 82, ตอน 111, 23 ธันวาคม 2508, หน้า 1-4