สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

(ฟื้น ชุตินฺธโร)
ส่วนบุคคล
เกิด20 มีนาคม พ.ศ. 2448 (90 ปี)
มรณภาพ16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
นิกายมหานิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 9 ประโยค
นักธรรมชั้นเอก
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท20 มิถุนายน พ.ศ. 2469
พรรษา69
ตำแหน่งอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม
อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง
อดีตแม่กองบาลีสนามหลวง
อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิม ฟื้น พลายภู่ ฉายา ชุตินฺธโร (20 มีนาคม พ.ศ. 2448 - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539) เป็นสมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตแม่กองบาลีสนามหลวง และอดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา

ชาติภูมิ[แก้]

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิมว่า ฟื้น พลายภู่ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 3 แรม 11 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง เวลา 07.30 น. ตรงกับวันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2448 ที่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านคลองสะแก ตำบลคลองสะแก อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายฟุ้ง พรายภู่ และนางกัง พรายภู่

บรรพชาและอุปสมบท[แก้]

บรรพชา[แก้]

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 17 ปี เมื่อ พ.ศ. 2465 ปีจอ ณ พัทธสีมาวัดสามพระยา ตำบลวัดสามพระยา อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร โดยมีพระธรรมดิลก (ขาว เขมโก) ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระสุธรรมธีรคุณ เจ้าอาวาสวัดสามพระยา เป็นพระอุปัชฌาย์

อุปสมบท[แก้]

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2469 ณ พัทธสีมาวัดสามพระยา ตำบลวัดสามพระยา อำเภอพระนคร จังหวัพระนคร โดยมี พระธรรมดิลก (ขาว เขมโก) ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็น พระสุธรรมธีรคุณ เจ้าอาวาสวัดสามพระยา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปลัดผาด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระมหาสละ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

วิทยฐานะ[แก้]

หน้าที่การงาน[แก้]

ด้านการปกครอง[แก้]

  • พ.ศ. 2481
    • เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสามพระยา
    • เป็นเจ้าอาวาสวัดสามพระยา[1]
    • เป็นเจ้าคณะหมวดบางขุนพรหม แขวงกลาง จังหวัดพระนคร
    • เป็นรองเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก
    • เป็นผู้ทำการแทนเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก
  • พ.ศ. 2482
  • พ.ศ. 2484
    • เป็นสมาชิกสังฆสภา
    • เป็นหัวหน้าพระธรรมธร
  • พ.ศ. 2501 เป็นคณะกรรมการพิจารณาข้อบกพร่องของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484
  • พ.ศ. 2502 เป็นคณะกรรมการพิจารณาแก้ไข เพิ่มเติม ตัดทอน ข้อบกพร่องของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484
  • พ.ศ. 2503
    • เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การศึกษา[2]
    • เป็นคณะกรรมการสังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ (ก.ส.พ.)
    • เป็นคณะกรรมการดำเนินการสร้างธรรมสภา
  • พ.ศ. 2504
    • เป็นคณะกรรมการอำนวยการตั้งโรงเรียนพระคณาธิการ
    • เป็นคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุง แก้ไข สังฆาณัติ ระเบียบพระคณาธิการ พ.ศ. 2486
    • เป็นคณะกรรมการยกร่างหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
  • พ.ศ. 2485 - 2516 เป็นเจ้าคณะจังหวัดพระนคร
  • พ.ศ. 2506 - 2513 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
  • พ.ศ. 2506
    • เป็นคณะอนุกรรมการร่างกฎมหาเถรสมาคม ว่าด้วยระเบียบการประชุมมหาเถรสมาคม
    • เป็นคณะอนุกรรมการร่างกฎมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการกำหนดหน้าที่ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2506
    • เป็นคณะอนุกรรมการพิจารณาร่างกฎมหาเถรสมาคม ว่าด้วยเขตและอำนาจหน้าที่ในการปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค
  • พ.ศ. 2507
    • เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาร่างระเบียบการเดินทางไปต่างประเทศของพระภิกษุสามเณร (ศ.ต.ภ.)
    • เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาศาสนสมบัติกลางประจำ (พ.ส.ป.)
  • พ.ศ. 2507 - 2508 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะภาค 1 - 18
  • พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2539 ไดัรับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง

งานการศึกษา[แก้]

  • พ.ศ. 2470 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี สำนักเรียนวัดสามพระยา
  • พ.ศ. 2473 เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง
  • พ.ศ. 2480 เป็นกรรมการตรวจบาลีสนามหลวง
  • พ.ศ. 2489 เป็นผู้อำนวยการสำนักอบรมสงฆ์ (ส.อ.ส)วัดสามพระยา
  • พ.ศ. 2495 เป็นผู้อำนวยการสภาการศึกษาแห่ง ส.อ.ส
  • พ.ศ. 2503 เป็นแม่กองบาลีสนามหลวง

สมณศักดิ์[แก้]

มรณภาพ[แก้]

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) ได้ถึงแก่มรณภาพด้วยภาวะออกซิเจนในเส้นเลือดต่ำผิดปกติ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เวลา 09:19 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริรวมอายุได้ 90 ปี 333 วัน พรรษา 69 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ เรื่อง ตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดสามพระยา, เล่ม 55, ตอน 0 ง, 23 พฤษภาคม 2481, หน้า 408
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ ตั้งคณะสังฆมนตรี, เล่ม 77, ตอน 41 ง, 17 พฤษภาคม 2503, หน้า 1438
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ 2481
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ 2491
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ 2500
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 80, ตอน 122 ฉบับพิเศษ, 27 ธันวาคม 2506, หน้า 12-15
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์ (พระธรรมปัญญาบดี เป็นสมเด็จพระราชาคณะ , พระพรหมมุนี เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ประกาศ ณ วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) ถัดไป
สมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ โฆสโก)
รักษาการเจ้าคณะใหญ่หนกลาง

เจ้าคณะใหญ่หนกลาง
(พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2539)
สมเด็จพระมหาธีราจารย์
(นิยม ฐานิสฺสโร)
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(ปลด กิตฺติโสภโณ)
ไฟล์:ตราบาลี.gif
แม่กองบาลีสนามหลวง
(พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2531)
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์
(สุวรรณ สุวณฺณโชโต)