สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระยาละแวก)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระบรมราชาที่ 3
พระมหากษัตริย์กัมพูชา
ครองราชย์พ.ศ. 2108-2119
ราชาภิเษกพ.ศ. 2109
รัชกาลก่อนหน้าพระบรมราชาที่ 2 (พญาจันทน์)
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (นักพระสัตถา)
ประสูติพ.ศ. 2062
สวรรคตพ.ศ. 2119 (57 พรรษา)
พระอัครมเหสีสมเด็จพระภัควดีศรีรัตนราชเทวี
พระราชบุตรสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (นักพระสัตถา)
พระบรมราชาที่ 6
พระบรมราชาที่ 7
พระบาทองค์ทองราชา (พญานน)
พระนามเต็ม
สมเด็จพระราชโองการ พระบรมราชารามาธิบดี
พระนามเดิม
พระยาละแวก
ราชวงศ์ราชวงศ์วรมัน
พระราชบิดาพระบรมราชาที่ 2 (พญาจันทน์)
พระมารดาพระแม่นางปทุมบุปผา

สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชา พระองค์ประสูติในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2062 และครองราชย์สมบัติในสมัยที่เมืองละแวกเป็นราชธานี ระหว่าง พ.ศ. 2108 – 2119 ในรัชสมัยของพระองค์นั้น ได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาสองครั้ง ซึ่งมีบันทึกไว้ในพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ และราชพงษาวดารกัมพูชา โดยในเอกสารไทยเรียกพระองค์ว่า พระยาละแวก แต่เป็นคนละพระองค์กับพระยาละแวกที่กล่าวถึงในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งคือพระบรมราชาที่ 4 ซึ่งเป็นพระโอรสของพระองค์

ครั้งแรกนั้น สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ทรงยกทัพมาโจมตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2113 ตรงกับสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา โดยยกทัพเข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยา ตั้งทัพอยู่ที่บ้านสามพิหาร (ในพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์) หรือบ้านกะทุ่ม (ในพระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์) ในการศึกครั้งนี้ ฝ่ายสยามใช้ปืนใหญ่ยิงพระจำปาธิราช กองหน้าฝ่ายเขมรถึงแก่อนิจกรรมบนคอช้าง สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ให้ยกทัพเข้าปล้นเมือง 3 ครั้งก็ไม่สำเร็จ จึงเลิกทัพกลับไป โดยเจ้าเมืองจันทบุรี ระยอง นาเรือง และฉะเชิงเทรา นายกองทัพฝ่ายสยามเสียชีวิตในศึกครั้งนี้

ต่อมา ใน พ.ศ. 2118 ในพงศาวดารฉบับกรมราชบัณฑิต สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง โดยยกทัพมาทางเรือ ผ่านทางปากน้ำพระประแดง ธนบุรี นนทบุรี แต่เข้าปล้นกรุงศรีอยุธยาไม่สำเร็จ ได้แต่กวาดต้อนเชลยกลับไป พร้อมกับนำพระรูปเทพารักษ์ สำริด ที่พบในลำน้ำที่เมืองพระประแดงไปด้วย 2 องค์ ในยุคพระมหาธรรมราชา เมื่อไทยกลับมามีอำนาจหลังยุคบุเรงนอง หลังจากนั้น เมืองละแวก กัมพูชา กับกรุงศรีอยุธยา สยาม กลับมามีไมตรีกัน

พระมหากษัตริย์ กัมพูชา พระองค์ต่อไป ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์ก่อน และไทยก็ใช้นามเดิมเรียกว่า พระยาละแวก เคยส่งพระอนุชามาช่วยการศึกกับพม่า แต่มีเรื่องบางอย่าง ขัดพระทัยกันในภายหลัง ทำให้กัมพูชามีการปล้นเมืองชายแดน กวาดต้อนหัวเมืองสยามอีก และเมื่อพระนเรศวรขึ้นครองราชย์ ทรงตั้งพระทัยว่าจะจัดทัพ ไปตีเมืองละแวก แต่ติดศึกด้านอื่น หลังสงครามยุทธหัตถึ เสร็จศึกกับหงศาวดี และยึดได้ตะนาวศรี ทวาย มะริด พระนเรศวรมหาราช ได้จัดทัพสี่ทัพ เข้าตีกัมพูชา ทั้งทางบกและทางทะเล จนเข้าถึงเมืองละแวก เมืองหลวงขณะนั้น ในพงศาวดารบางแห่งบอกว่ามีการพิธีประถมกรรม แต่ในหลายแห่งข้อมูลสมัยใหม่ มีการวิจัยไม่ตรงกัน และมีข้อมูลว่าพระยาละแวกหนีไปทางลาว อย่างไรก็ตาม ทัพไทยได้กวาดต้อน ชาวเมือง และชาวพระราชวัง ทั้งขุนนาง และฝ่ายใน จำนวนมาก มาชุบเลี้ยงตั้งบ้านเรือนในสยาม

อ้างอิง[แก้]