สมเดช ยนตรกิจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเดช ยนตรกิจ
ชื่อจริงสำรวย ธานี
ฉายาซ้ายฟ้าผ่า
รุ่นเวลเตอร์เวท
เกิด2 มิถุนายน พ.ศ. 2474
จังหวัดสุพรรณบุรี
เสียชีวิต4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
กรุงเทพมหานคร
ชกทั้งหมด24
ชนะ18
ชนะน็อก12
แพ้5
เสมอ1
ผู้จัดการตันกี้ ยนตรกิจ

สมเดช ยนตรกิจ หรือ สำรวย ธานี (เกิดเมื่อ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2474 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เสียชีวิตวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ที่โรงพยาบาลทหารผ่านศึก)[1][2] สถิติการชก 18 ครั้ง ชนะ 24 (น็อค 12) เสมอ 1 แพ้ 5

ประวัติ[แก้]

สมเดชหัดมวยครั้งแรกกับครูกู้ ควรตั้ง และครูผวน กาญจนากาศ จากนั้นเข้ามาชกมวยในกรุงเทพฯ โดยมาอยู่ที่ค่ายสมานฉันท์ของครูฉันท์ สมิทเวช ในชื่อสมเดช สมานฉันท์ ขึ้นชกครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2491 ชนะน็อค ทวี นฤภัย ยกแรก และชกคู่ชกแพ้น็อคอีกหลายคน จนกระทั่งน็อกไพศาล พระขรรค์ชัยไม่ได้ จึงถูกแฟนมวยในยุคนั้นวิจารณ์ว่าหมัดไม่หนักจริง สมเดชจึงย้ายไปอยู่ค่ายยนตรกิจของครูตันกี้ ยนตรกิจ ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านการฝึกมวยหมัด

เมื่อย้ายค่ายแล้ว สมเดชขึ้นชกชนะน็อคคู่ชกด้วยหมัดอีกหลายครั้ง จนได้รับคัดเลือกเข้าชกในมวยรอบรุ่น 7 สิงห์ทอง ซึ่งสมเดชคว้าแชมป์มาครองได้ การชกที่สร้างชื่อเสียงให้สมเดชมากที่สุดคือ ชนะน็อค ประยุทธ์ อุดมศักดิ์ ยก 2

เมื่อชกมวยไทย ชนะคู่ชกด้วยหมัดหลายครั้ง ผู้สนับสนุนจึงให้สมเดชหันมาชกมวยสากลดูบ้าง ขึ้นชกครั้งแรก ชนะน็อค ถวัลย์ วงศ์เทเวศร์ ยก 2 ต่อมาจึงได้ชิงแชมป์ OPBF รุ่นเวลเตอร์เวทที่ว่าง ชนะคะแนน ฮาชิโร ทัตสุมิ ที่เวทีราชดำเนินอย่างพลิกความคาดหมายเพราะตอนนั้นสมเดชชกมวยสากลมาเพียงสามครั้งเท่านั้น ฝ่ายทัตสุมิข้องใจ ดึงสมเดชไปชกแก้มือที่ญี่ปุ่น สมเดชก็เป็นฝ่ายชนะคะแนนได้อีก

สมเดชไปชกป้องกันแชมป์ OPBF ที่ญี่ปุ่นอีก 2 ครั้ง จึงได้ขึ้นชกกับ วอลลี่ ทอม รองแชมป์โลกเพื่อหวังเข้าอันดับโลก แต่แพ้คะแนนไปขาดลอย จนทัตสุมิได้ครองแชมป์ OPBF รุ่นมิดเดิลเวท และติดต่อสมเดชไปชิงแชมป์ด้วย คราวนี้สมเดชเป็นฝ่ายชนะน็อค ได้ครองแชมป์ OPBF พร้อมกันสองรุ่น จากนั้นจึงสละแชมป์รุ่นมิดเดิลเวทไป เหลือแชมป์รุ่นเวลเตอร์เวทรุ่นเดียว สมเดชยังชกชนะอย่างต่อเนื่อง จึงได้ชกกับยอร์จ บาร์น รองแชมป์โลกเพื่อลุ้นเข้าอันดับโลกอีกครั้ง แต่สำเร็จอีกคราวนี้สมเดชเป็นฝ่ายแพ้น็อคในยกที่ 9 แบบหมดทางสู้

หลังจากนั้น การชกของสมเดชเริ่มตกต่ำลง จนเสียแชมป์ให้กับนักมวยญี่ปุ่น กลับมาเมืองไทย ขึ้นชกมวยสากลกับสามารถ ศรแดง ก็เป็นฝ่ายแพ้คะแนน สมเดชหยุดชกไปหลายเดือน จึงขึ้นชกมวยไทยกับดาวทอง สิงหพัลลภ แต่ก็แพ้น็อคในยกที่ 2 อีก หลังจากนั้นไม่นาน สมเดชเป็นหนองในขั้วตับจึงแขวนนวม ก่อนที่จะเป็นทหาร ติดยศสิบโทในเวลาต่อมา[1] ต่อมาได้ลาออกจากทหาร ไปประกอบอาชีพอีกหลายอย่างทั้ง คนส่งของ ทำงานในสายการบิน และหน่วยรักษาความปลอดภัย เป็นต้น

สมเดชสมรสกับ สมนึก ธานี เมื่อเขามีอายุได้ 21 ปี และมีลูก 3 คน ครั้งหนึ่งลูกหลานของเขาได้ชักชวนให้ไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา แต่เขาได้ปฏิเสธโดยประสงค์ที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขที่ประเทศไทยแทน และมีการออกงานสังคมในบางครั้งโดยเฉพาะกับมูลนิธินักมวยเก่า ช่วงปลายชีวิตเริ่มมีอาการเจ็บป่วยก่อนที่จะเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ก่อนที่จะเสียชีวิตอย่างสงบในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 [2]

เกียรติประวัติ[แก้]

ก่อนหน้า สมเดช ยนตรกิจ ถัดไป ชนะ 18 ครั้ง (ชนะน็อค 12 ครั้ง, ชนะคะแนน 6 ครั้ง), แพ้ 5 ครั้ง (แพ้น็อค 2 ครั้ง, แพ้คะแนน 3 ครั้ง) เสมอ 1 ครั้ง[3]
แชมป์ OPBF รุ่นเวลเตอร์เวท (2496-2500)
ชิง ชนะ 47-15-5 ญี่ปุ่น ฮาชิโร ทัตสุมิ ชนะคะแนน 15 1953-01-04 ไทย สนามมวยราชดำเนิน, เขตพระนคร ขึ้นชกมวยสากลครั้งแรก.
ป้องกันครั้งที่ 1 ชนะ 48-18-5 ญี่ปุ่น ฮาชิโร ทัตสุมิ ชนะคะแนน 15 1953-09-15 (ญี่ปุ่น) [[]] โตเกียว
ป้องกันครั้งที่ 2 ชนะ 4-2-1 ฟิลิปปินส์ โทนี่ อัลคีเกอร์ ชนะน็อค (5) 15 1954-06-29 (ไทย)
ป้องกันครั้งที่ 3 ชนะ 10-7-0 ญี่ปุ่น เทรุโอะ โอนูกิ ชนะน็อค (3) 15 1954-08-13 (ญี่ปุ่น) โอซากาพูล โอซากา
ป้องกันครั้งที่ 4 ชนะ 20-7-5 ญี่ปุ่น ทาเคโอะ ยูโกะ ชนะน็อค (6) 15 1954-09-10 (ญี่ปุ่น) โตเกียว
ป้องกันครั้งที่ 5 ชนะ 20-7-5 ฟิลิปปินส์ สตาร์ มัตนอก ชนะน็อค (2) 15 1955-07-31 (ญี่ปุ่น) โตเกียว
ป้องกันครั้งที่ 6 ชนะ 1-2-0 ฟิลิปปินส์ ญัง เพาลิโน ชนะคะแนน 15 1955-12-03 (ฟิลิปปินส์) มะนิลา
ป้องกันครั้งที่ 7 ชนะ 24-23-3 ญี่ปุ่น เทรุโอะ มัตสุยาม่า ชนะน็อค (6) 15 1956-02-01, (ไทย)
ป้องกันครั้งที่ 8 แม่แบบ:Draw2เสมอ, 24-23-3 ญี่ปุ่น จิโร ซาวาด้า เสมอกับ 15 1957-07-15, (ญี่ปุ่น) โตเกียว
เสียแชมป์ แม่แบบ:Loss2 แพ้ 31-7-3 ญี่ปุ่น เคนจิ ฟูกูจิ แพ้คะแนน 15 1957-11-20, (ญี่ปุ่น) โตเกียว
แชมป์ OPBF รุ่นมิดเดิลเวท (2498)
ชิง ชนะ 55-19-5 ญี่ปุ่น ฮาชิโร ทัตสุมิ ชนะน็อค 11 (15) 1953-04-20 ญี่ปุ่น โตเกียว
30 เมษายน พ.ศ. 2498 สละแชมป์ภาคฯรุ่นมิดเดิลเวท

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 วงการมวยไทยเศร้าสมเดชเสียชีวิตด้วยโรคชรา
  2. 2.0 2.1 ปิดตำนาน. มวยสยามรายวัน. ปีที่ 19 ฉบับที่ 6641. วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554. หน้า 28
  3. สถิติการชก
  • ชายพจน์. มวยดังไทยแลนด์ในอดีต: สมเดช ยนตรกิจ “ซ้ายฟ้าผ่า” แชมป์ OPBF 2 รุ่นในสมัยเดียวกัน!. นิตยสารมวยโลก. ฉบับที่ 841 ตุลาคม 2543 หน้า 42-45