สมาคมสร้างคุณค่าสากล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สมาคมโซคา งัคไก สากล)

สมาคมสร้างคุณค่าสากล (อังกฤษ : Soka Gakkai International) เป็นองค์กรพุทธศาสนา ที่มีสมาชิกมากกว่า 12 ล้านคนใน 192 ประเทศและเขตปกครอง (ข้อมูลปี ค.ศ. 2008) [1] โดยสมาชิกสมาคมจะปรับใช้หลักพุทธธรรมของพระนิชิเร็นไดโชนินกับการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน

การก่อตั้ง[แก้]

สมาคมสร้างคุณค่าสากล ก่อตั้งขึ้นโดย ดร.ไดซาขุ อิเคดะ นายกสมาคมโซคา งัคไก ในขณะนั้น ซึ่งได้วางแผนเผยแผ่ธรรมไพศาลไปทั่วโลก ดังนั้นจึงได้เรียกรวมสมาชิกในท้องถิ่นต่าง ๆ 51 ประเทศทั่วโลก มารวมตัวประชุมสันติภาพทั่วโลกครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่เกาะกวม เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 การประชุมครั้งนี้ ได้มีการก่อตั้งสมาคมโซคา สากล ทำให้รากฐานการสร้างความเจริญก้าวหน้าในการเผยแผ่ธรรมไพศาลทั่วโลก ได้รับการจัดวางอย่างเรียบร้อย ภายหลังจากนั้น วันที่ 26 มกราคม เป็นวันสมาคมสร้างคุณค่าสากล

กิจกรรม[แก้]

สมาคมสร้างคุณค่าสากลมีการดำเนินกิจกรรมหลักใน 3 ด้าน ดังนี้ [2]

  • ส่งเสริมสันติภาพ วัฒนธรรม และการศึกษาไปสู่ทั่วโลก โดยอยู่บนพื้นฐานของพุทธธรรมของพระนิชิเร็นไดโชนิน
  • ส่งเสริมให้ทั่วโลกเกิดสันติภาพ โดยการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างประชาชนธรรมดาของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
  • ส่งเสริมการศึกษาและปฏิบัติพุทธธรรมของพระนิชิเร็นไดโชนิน ด้วยพื้นฐานที่มุ่งให้ทุกคนเป็นพลเมืองที่ดีตามขนมธรรมเนียมและกฎหมายของแต่ละประเทศ

เหตุการณ์สำคัญแห่งการเผยแผ่ธรรมไพศาล[แก้]

ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการกำหนด กฎบัตรเอสจีไอ ที่ชูแนวลัทธิมนุษยนิยมของเอสจีไออย่างชัดเจนขึ้นมา และได้ขยายการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างสันติภาพ วัฒนธรรม และการศึกษา ที่มีแนวคิดของพุทธธรรมเป็นพื้นฐานอย่างกว้างขวางทั่วโลกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา ในวันที่ 26 มกราคม ซึ่งเป็นวันเอสจีไอ ของทุกปี อาจารย์อิเคดะก็จะแถลง ข้อเสนอที่ระลึกวันเอสจีไปเพื่อที่จะสร้างสันติภาพขึ้นมาในโลก กระแสคลื่นแห่งลัทธิมนุษยนิยมและลัทธิสันติภาพจึงได้แผ่ขยายไปทั่วโลก [3]

กฎบัตรเอสจีไอ[แก้]

ประกาศเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ในที่ประชุมหัวหน้าระดับภาคครั้งที่ 93 กฎบัตรนี้ ซึ่งได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรถึงแนวปรัชญาและหลักเกณฑ์ในการเคลื่อนไหวของสมาคมอย่างชัดเจนนั้น ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการยกร่างกฎบัตรของสมาคมมาหลายครั้ง และบัญญัติขึ้นมาโดยได้รับความเห็นชอบจากประเทศต่าง ๆ ในเครือข่ายของสมาคมสร้างคุณค่า มี 10 ข้อดังนี้

  • 1.เอสจีไอ จะส่งเสริมการศึกษา วัฒนธรรม และสันติภาพของมวลมนุษยชาติ โดยอยู่บนพื้นฐานของพุทธธรรมที่ให้ความเคารพศักดิ์ศรีของชีวิต
  • 2.เอสจีไอ ในฐานะ พลเมืองโลก จะปกป้องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน โดยไม่แบ่งแยกความแตกต่างระหว่างชนชาติ
  • 3.เอสจีไอ จะเคารพและปกป้อง เสรีภาพในการนับถือศาสนา
  • 4.เอสจีไอ จะส่งเสริมความเข้าใจในพุทธธรรมของพระนิชิเรนไดโชนิน ให้กว้างขวาง ดวยการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในหมู่ประชาชน และทำให้แต่ละคนบรรลุถึงซึ่งความสุขได้
  • 5.เอสจีไอ จะส่งเสริมสมาชิกให้เป็น พลเมืองดี และบำเพ็ญคุณประโยชน์ในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองในแต่ละสังคม ในแต่ละบ้านเมือง
  • 6.เอสจีไอ จะเคารพใน เสรีภาพ และ ความเป็นเอกเทศ ของแต่ละองค์กรที่อยู่ในเครือข่าย โดยให้สอดคล้องกับสภาพทั่วไปของแต่ละประเทศ
  • 7.เอสจีไอ จะให้ความเคารพต่อ ศาสนา อื่น จะพูดคุยสนทนาและแสวงหาความร่วมมือกันในการแก้ไข ปัญหาพื้นฐานเกี่ยวกับมนุษยชาติ โดยอยู่บนพื้นฐานแห่งเจตนารมณ์ เมตตาธรรม ของพุทธศาสนา
  • 8.เอสจีไอ จะเคารพต่อความหลากหลายของ วัฒนธรรม และส่งเสริมสมาชิกให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน และเป็นชุมชนสากลที่มีความสมัครสมานสามัคคีกัน
  • 9.เอสจีไอ จะส่งเสริมและรณรงค์ให้เกิด การปกป้องคุ้มครองธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บน พื้นฐานของพุทธปรัชญาแห่งการอยู่ร่วมกัน
  • 10.เอสจีไอ จะสนับสนุนการส่งเสริมการศึกษาใน แนวทางแห่งการค้นคว้าหาความจริง พร้อมทั้ง พัฒนาความรู้ และการศึกษา เพื่อทำให้ประชาชนสามารถเสริมสร้างบุคลิกลักษณะของแต่ละคน และนำมาซึ่งชีวิตที่มีความสุข

กิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน[แก้]

สมาคมได้ทำการเผยแผ่ลัทธิมนุษยนิยม โดยมีพุทธธรรมเป็นพื้นฐานและเป้าหมาย ได้มีการรณรงค์เรื่องสิทธิมนุษยชนโดยตลอด เช่น ความเป็นอิสรภาพของสตรีเพศ ความเท่าเทียมกันของเพศหญิงและเพศชาย การทำแท้ง การเหยียดสีผิว [4]

ความสำเร็จของสมาคม[แก้]

จากการที่ได้ทุ่มเทพลังทั้งหมดในการเคลื่อนไหว ทำให้กระแสคลื่นแห่งมนุษยนิยมที่มีพุทธธรรมเป็นรากฐานได้แผ่ขยายออกไปในระดับโลก และเป็นเส้นทางการเผยแผ่ธรรมไพศาลทั่วโลกของพุทธธรรมก็ได้ถูกเปิดออกไป และงานที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนาก็ได้ปรากฏเป็นจริงขึ้นมาเป็นครั้งแรกปัจจุบันได้เข้าสู่ยุคสมัยที่สมาชิกเอสจีไอได้ทำการเคลื่อนไหว ในการปฏิบัติพุทธธรรมของพระนิชิเรนไดโชนิน อยู่ในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วโลกกว่า 192 ประเทศเขตแคว้น (ข้อมูลปี ค.ศ. 2008) [5]

ผู้บริหารของสมาคม[แก้]

  • ไดซาขุ อิเคดะ ผู้ก่อตั้งและประธานสมาคมสร้างคุณค่าสากล (นายกกิตติมศักดิ์ของสมาคมสร้างคุณค่า)
  • ฮิโรมาสะ อิเคดะ รองประธานสมาคมสร้างคุณค่าสากล (รองนายกสมาคมสร้างคุณค่า)
  • มิโนรุ ฮาราดะ รักษาการประธานสมาคมสร้างคุณค่าสากล (นายกสมาคมสร้างคุณค่า)
  • โอบะ โยชิทากะ รองผู้อำนวยการสมาคมสร้างคุณค่าสากล

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.sgi.org/about-us/what-is-sgi.html
  2. คู่มือแนะนำธรรม, สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย, 2547, หน้า 18.
  3. http://www.sgi.org/resource-center/introductory-materials/sgi-charter.html
  4. http://www.sgi.org/assets/pdf/SGI_Introduction2010_Final.pdf
  5. http://www.sgi.org/about-us/what-is-sgi.html