สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชุปถัมภ์
Radio Amateur Society of Thailand under The Royal Patronage of His Majesty The King
สัญลักษณ์ของสมาคมภาษาไทย
ชื่อย่อสวสท. / RAST
ก่อตั้ง27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506
ประเภทสมาคม
ที่ตั้ง
  • 8/1 ซอยสุขสวัสดิ์ 25 แยก 1-1 แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140
ภาษาทางการ
ภาษาไทย
นายกสมาคม
จักรี ห่านทองคำ, HS1FVL
สังกัดIARU
เว็บไซต์https://www.rast.or.th/

สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชุปถัมภ์ (อังกฤษ: Radio Amateur Society of Thailand under The Royal Patronage of His Majesty The King: RAST) เป็นองค์กรวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2506

ภาษาอังกฤษ

ประวัติ[แก้]

สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นมาโดยบุคคล 6 ท่าน คือ

  1. พ.ท. กำชัย โชติกุล จเรทหารศูนย์การทหารปืนใหญ่ และหัวหน้าสถานีวิทยุศูนย์การบินทหารปืนใหญ่ ลพบุรี
  2. นายเสงี่ยม เผ่าทองศุข รองอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข
  3. นายโยนัส เอ็ดดี้ หรือ อมฤทธิ์ จิรา เจ้าของบริษัท ยี.ซีมอน เรดิโอ จำกัด
  4. นายโรเบิร์ต อี เลียว สถาบันค้นคว้าและวิจัยแสตนปอร์ด
  5. นายแฟรงค์ เอ. ฟิลิปส์ เจ้าหน้าที่คณะทูตทหารอเมริกัน
  6. ร.อ. เคนเนธ เอ็ม. ไอริช จูเนียร์ เจ้าหน้าที่คณะทูตทหารอเมริกัน

ได้ยื่นขอจดทะเบียนสมาคมตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 ใบอนุญาตเลขที่ ค. 99/2507 ต่อมาได้ยื่นขอจดทะเบียนนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต่อกรมตำรวจ เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2507 เป็นนิติบุคคลเลขที่ จ. 843 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 จากกองบังคับการตำรวจสันติบาล และได้รับการกำหนดให้เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรตามประมวลรัษฎากร ลำดับที่ 555 เมื่อปี พ.ศ. 2547[1]

นับแต่ก่อตั้งได้เข้าเป็นสมาชิกของ สหภาพวิทยุสมัครเล่นสากลหรือ IARU แต่ยังมิได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่ได้รับอนุญาตให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พนักวิทยุยังมิได้มีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นอย่างถูกต้องในประเทศไทย

มีการพบปะสังสรรค์กันทุกสัปดาห์ที่โรงแรมโอเรียลเต็ล ในนามชื่อย่อ RAST มีจำนวนสมาชิกทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาร่วมเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังมิได้รับการรับรองจากหน่วยงานของทางราชการ เนื่องจากขณะนั้นประเทศไทยกำลังอยุ่ในสภาวะฉุกเฉินของสงครามเวียดนาม และการก่อการร้ายในประเทศไทย แต่การดำเนินงานของสมาคมคงเป็นไปอย่างปกติ ได้ย้ายสถานที่ประชุมจากโรงแรมโอเรียลเต็ลมาเป็นโรงแรม เอราวัณซึ่งเป็นโรงแรมของรัฐบาล ดำเนินการโดย พล.ท. เฉลิมชัย จารุวัสตร์ ซึ่งรู้จักคุ้นเคยกับ พ.อ. กำชัย เป็นอย่างดี

กิจการวิทยุสมัครเล่นในหลายสมัยที่ พ.อ. กำชัย ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมติดต่อกันเป็นเวลากว่าสิบปีดำเนินไปด้วยดี โดยมิได้รับการตำหนิหรือท้วงติงจากทางราชการที่เกี่ยวข้องแต่ประการใด ในระยะเวลานั้นทางสมาคมฯ ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุม SEANET ที่โรงแรมเอราวัณ ถึง 2 ครั้ง และงานสำคัญอื่นๆ เกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่นในภูมิภาคเอเชียอีกหลายครั้งอย่างต่อเนื่องด้วยความเรียบร้อยทุกประการ

ที่ตั้ง[แก้]

ที่ทำการของนายกสมาคม 251/206 สัมมากร 58 ถนนรามคำแหง เขตสะพานสูง กทม 10240 หรือที่อยู่ที่ติดต่อทางไปรษณีย์ คือ ตู้ ปณ. 2008 กรุงเทพฯ 10501 (P.O.Box 2008 Bangkok 10501 Thailand)

โครงสร้าง[แก้]

สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้ระบุโครงสร้างขององค์กรไว้บนหน้าเฟสบุ๊กแฟนเพจ ประกอบไปด้วยส่วนงานดังนี้

  • คณะกรรมการสมาคม
    • คณะที่ปรึกษาสมาคม
    • สำนักงานเลขาธิการ
  • คลับสเตชั่น HS0AC
  • AREC
  • JAISAT
  • สำนัก QSL
  • YOTA
  • วิเทศน์สัมพันธ์
  • การศึกษา

คลับสเตชั่น HS0AC[แก้]

ภาพจากการส่งสัญญาณ SSTV โดยสถานี HS0AC เนื่องในวันวิทยุสมัครเล่นโลก พ.ศ. 2565

สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชุปถัมภ์ มีสถานีคลับสเตชั่นชื่อว่า HS0AC[2] ใช้ในการทดสอบสัญญาณ[3] การออกอากาศในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เช่น ในวันวิทยุสมัครเล่นโลก[4] และการแข่งขันระดับประเทศ การแข่งขันระหว่างประเทศในทุกความถี่ที่อนุญาตให้นักวิทยุสมัครเล่นได้ใช้งาน อาทิ CQ World Wide VHF Contest[5], CQ World Wide WPX Contest[6] การติดต่อทางไกล (DX) รวมถึงการฝึกฝนและพัฒนาสมาชิกนักวิทยุสมัครเล่นของสมาคม

เครือข่ายอาสาสมัครสื่อสารฉุกเฉิน AREC[แก้]

เครือข่ายอาสาสมัครสื่อสารฉุกเฉิน (Amateur Radio Emergency Communications: AREC) เป็นเครือข่ายในการสื่อสารของนักวิทยุสมัครเล่นในช่วงเวลาเกิดภัยพิบัติ โดยคณะกรรมการจะจัดทำแผนในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ รวมถึงเป็นตัวกลางในการประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการบรรเทาช่วยเหลือภัยพิบัติเหล่านั้น และเตรียมความพร้อมนักวิทยุสมัครเล่นให้สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้ผ่านเครือข่ายสื่อสารฉุกเฉินของวิทยุสมัครเล่น

สำหรับความถี่ฉุกเฉินในการสื่อสารสากลที่สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยเตรียมพร้อมเฝ้าฟัง ย่าน HF คือ 7.128 MHz[7] และย่าน VHF คือ 145.000 MHz[8] เรียกขานสถานี HS0AC

ดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น JAISAT[แก้]

ดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น JAISAT ย่อมาจาก Joint Academy for Intelligent Satellites for Amateur Radio of Thailand-1[9] พัฒนาโดยวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ นักวิทยุสมัครเล่น ภายใต้การสนับสนุนจาก กสทช. ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศโดยจรวดโซยุส-2 (Soyuz-2) ในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เวลา 05:41:46 ตามมาตรฐานสากล (GMT)

สำหรับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นของสมาคมฯ ประกอบไปด้วยจากดำเนินการสร้างดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นดวงต่อไป ตรวจสอบและรับรองให้กับผู้ร้องขอการใช้งานดาวเทียมเพื่อทวนสัญญาณและการสื่อสารอื่น ๆ สนับสนุนการพัฒนาด้านอวกาศและดาวเทียมให้กับนักวิทยุสมัครเล่นสมาชิกและในประเทศ

สำนักบัตรยืนยันการติดต่อ[แก้]

สำนักบัตรยืนยันการติดต่อ (QSL Bureau) มีหน้าที่ในการรับส่งบัตรยืนยันการติดต่อ ตรวจสอบการติดต่อสื่อสารในการขึ้นรางวัลให้กับนักวิทยุสมัครเล่น[10] (DXCC Checker) รวมถึงการเป็นผู้ประสานงานในการแข่งขันต่าง ๆ (Contest coordinator)

Youngsters On The Air: YOTA[แก้]

คณะกรรมการ Youngsters On The Air: YOTA ประเทศไทย มีหน้าที่ในการร่วมสนับสนุนเด็กและเยาวชนในการใช้งานและออกอากาศวิทยุสมัครเล่นผ่านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันกับสถานศึกษา ให้ทดลองออกอากาศและใช้งานวิทยุสมัครเล่น รวมไปถึงการจัดสอบเพื่อเป็นพนักงานนักวิทยุสมัครเล่นร่วมกันกับสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างบุคลากรด้านการสื่อสารในกิจการวิทยุสมัครเล่นให้มากขึ้น

วิเทศน์สัมพันธ์[แก้]

ส่วนวิเทศสัมพันธ์ มีหน้าที่ในการร่วมประชุมกับสหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ การเทียบใบอนุญาตนักวิทยุสมัครเล่นของต่างประเทศและของไทยว่าสามารถเทียบโอนได้เท่ากับขั้นใด คลาสใด การประสานงานกับสมาคมวิทยุสมัครเล่นต่าง ๆ ในต่างประเทศ และรับเรื่องร้องเรียนในกรณีระหว่างประเทศ

การศึกษา[แก้]

คณะกรรมการด้านการศึกษา จะดูแลในด้านของการฝึกอบรม การจัดสอบพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต่าง ๆ ของประเทศไทย และการสอบพนักงานวิทยุสมัครเล่นของสหรัฐอเมริกา (US Exam) เพื่อเทียบใบอนุญาต การเผยแพร่ความรู้ต่าง ๆ ในกิจการวิทยุสมัครเล่น สนับสนุนงานด้านวิชาการ และนวัตกรรมต่าง ๆ

คณะกรรมการ ปัจจุบัน[แก้]

สัญญาณเรียกขาน ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง
HS1FVL นายจักรี ห่านทองคำ นายกสมาคม

อดีตนายก[แก้]

สัญญาณเรียกขาน ชื่อ-นามสกุล ปี พ.ศ.
HS2JFW นายพรชัย เสมแจ้ง 2557 - 2559
HS1QVD นายชัยยง ว่องวุฒิกำจร 2549 - 2557
HS1YL นางมยุรี โชติกุล 2535 - 2549
HS1HB นายวิกรม บุญยัษฐิติ 2533 - 2534
HS1SS นายศรีภูมิ ศุขเนตร 2530 - 2531
HS1WB นายจำนงค์ ภิรมย์ภักดี 2527 - 2530
HS1KV ดร.รชฎ กาญจนวนิช 2526 - 2527
HS1NG ดร.กัญจน์ นาคามดี มิ.ย. - ธ.ค. 2525
HS1WR พ.อ. (พิเศษ) กำชัย โชติกุล 2510 - 2525
HS1HJA นายสุรเดช วิเศษสุรการ 2507 - 2510

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 259)
  2. "RAST - HS0AC Clubstation". www.rast.or.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-17. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.
  3. Cyber @net2010, Cat (2010-10-22). "....Madoo-Blog Thailand: สับสนกับวิทยุสมัครเล่น Byคุณ สับสน ณ ๑๐๐ วัตต์". ....Madoo-Blog Thailand.
  4. "วันวิทยุสมัครเล่นโลกวันที่ 18 เมษายน 2019". บริษัท เอ็ทมี่ เอเชีย จํากัด.
  5. "CQ World Wide VHF Contest". www.e21eic.net.
  6. NT5DX, HS7WMU also (2015-11-24). "เรื่องเล่าจาก E2A ริมเล เพชรบุรี". i am Watcharapath HS7WMU Ham Radio.
  7. "Report from Thailand / RAST will host the IARU Region 3 Conference 2021 online in September, etc.|Jul.2021 - Monthly FB NEWS". www.fbnews.jp.
  8. "กิจการวิทยุสมัครเล่น (Amateur Radio Service)". www.tapee.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-20. สืบค้นเมื่อ 2022-04-19.
  9. E20ae (วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562). "ชมรมวิทยุสมัครเล่น E20AE Clubstation: ดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น JAISAT-1 ขึ้นสู่อวกาศ". ชมรมวิทยุสมัครเล่น E20AE Clubstation. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  10. "กิจกรรมการพบปะสังสรรค์ประจำเดือนตุลาคม 2555 - RAST". sites.google.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-19. สืบค้นเมื่อ 2022-04-19.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]