สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์
(พรีม่า)
ประเภทองค์การไม่แสวงหาผลกำไร
อุตสาหกรรมเภสัชกรรม
รูปแบบสมาคม
ก่อตั้ง9 กรกฎาคม พ.ศ. 2513
สำนักงานใหญ่408/85 ชั้น 19 อาคารพหลโยธินเพลส ถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร
พื้นที่ให้บริการ
ประเทศไทย
บริการการให้ความรู้และนำนวัตกรรมทางเภสัชสู่ประชาชน
คติพจน์            นวัตกรรมยาเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า
เว็บไซต์prema.or.th

สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ หรือ พรีม่า (อังกฤษ: Pharmaceutical Research and Manufacturers Association, PReMA) เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีสมาชิกสมาคมเป็นบริษัทที่มีหรือเกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนายาใหม่หรือยานวัตกรรม และเป็นหนึ่งในสมาชิกของสมาพันธ์ผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์นานาชาติ (IFPMA) ซึ่งมีสมาคมด้านเภสัชภัณฑ์ต่าง ๆ ทั่วโลกร่วมเป็นสมาชิก[1]

ประวัติความเป็นมาของสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์[แก้]

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ในขณะนั้นโรงพยาบาลศิริราชได้ริเริ่มใช้ยาแผนปัจจุบันในประเทศไทยเป็นครั้งแรก บริษัทสมาชิกของ PReMA จึงได้เริ่มมีส่วนร่วมในงานด้านสาธารณสุขของประเทศนับแต่นั้น โดยการแพทย์สมัยใหม่ การใช้ยาสมัยใหม่ เครื่องมือทางการแพทย์และวิทยาการอันทันสมัยมีเพิ่มมากขึ้น บริษัทต่าง ๆ ในธุรกิจอุตสาหกรรมยาจึงได้ปรึกษากันถึงความเป็นไปได้ในการที่จะก่อตั้งสมาคมขึ้นเพื่อเป็นตัวกลางในการประสานงานกับภาครัฐในหลากหลายประเด็นที่เกิดขึ้นภายในวงการเภสัชอุตสาหกรรม

ในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2513 เฮนรี่ อาร์ โคเซ็ค (Henry R.Koczyk) จากบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล ฟาร์มาซูติคอล และ เลียวนาร์ด ชาน (Leonard Chan) จากบริษัท ไฟเซอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จึงได้ขอยื่นก่อตั้ง สมาคมผลิตเภสัชภัณฑ์ หรือ Pharmaceutical Products Association, PPA ขึ้น และก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก สมาคมผลิตเภสัชภัณฑ์ มาเป็น สมาคมผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์ Pharmaceutical Producers Association, PPA ในอีก 15 ปีต่อมา

สมาคมผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์ หรือ PPA ก็ได้เปลี่ยนชื่อและตราสัญลักษณ์ใหม่เป็น Pharmaceutical Research and Manufacturers Association, PReMA หรือ สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547 และใช้ชื่อนี้จนถึงปัจจุบัน

บริษัทสมาชิกของสมาคม[แก้]

ปัจจุบันพรีม่ามีสมาชิกทั้งหมด 36 บริษัท แบ่งเป็นสมาชิกสามัญ 32 บริษัท และสมาชิกสมทบ 4 บริษัท[2] ซึ่งบริษัทที่จะมาเป็นสมาชิกได้ต้องเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นด้านการวิจัยและพัฒนายาเท่านั้น

สมาชิกสามัญ[แก้]

  • A. Mernarini (Thailand) Limited
  • Abbott Laboratories Ltd.
  • Amgen (Thailand) Limited
  • Astellas Pharma (Thailand) Co.,Ltd.
  • AstraZeneca (Thailand) Ltd.
  • Baxter Healthcare (Thailand) Co.,Ltd.
  • Bayer Thai Co.,Ltd.
  • Berli Jucker Public Co.,Ltd.
  • Boehringer Ingelheim (Thai) Ltd.
  • Bristol-Myers Squibb Pharma (Thailand) Ltd.
  • Daiichi Sankyo (Thailand) Co.,Ltd.
  • DCH Auriga (Thailand) Limited
  • DKSH (Thailand) Ltd.
  • Eisai (Thailand) Marketing Co.,Ltd.
  • GlaxoSmithKline (Thailand) Ltd.
  • Janssen-Cilag Ltd.
  • Kyowa Kirin (Thailand) Co., Ltd.
  • Merck Ltd. Thailand
  • Mitsubishi Tanabe Pharma (Thailand) Co., Ltd.
  • MSD (Thailand) Ltd.
  • Novartis (Thailand) Ltd.
  • Novo Nordisk Pharma (Thailand)
  • OLIC (Thailand) Ltd.
  • Pfizer (Thailand) Ltd.
  • Pacific Healthcare (Thailand) Co.,Ltd.
  • Pfizer (Thailand) Ltd.
  • Roche Thailand Ltd.
  • Sanofi-aventis (Thailand) Ltd.
  • Servier (Thailand) Ltd.
  • Sumitomo Pharmaceuticals (Thailand) Co., Ltd.
  • Takeda (Thailand) Ltd.
  • Thai Otsuka Pharmaceutical Co., Ltd.
  • Zuellig Pharma Ltd.

สมาชิกสมทบ[แก้]

  • Aclires Bangkok Ltd.
  • Axios International Consultants Limited
  • Baker & McKenzie Ltd.
  • IQVIA Thailand

อ้างอิง[แก้]

  1. "Member associations | PReMA". International Federation of Pharmaceutical Manufacturers and Associations.
  2. "PReMA Members". Pharmaceutical Research and Manufacturers Association.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]