สภาผู้แทนราษฎรภูฏาน

พิกัด: 27°29′23.2″N 89°38′17.5″E / 27.489778°N 89.638194°E / 27.489778; 89.638194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สภาผู้แทนราษฎรภูฏาน
འབྲུག་གི་རྒྱལ་ཡོངས་ཚོགས་འདུ་
ประเภท
ประเภท
ผู้บริหาร
ประธานสภา
ลังเตน โดรจิ
25 มกราคม พ.ศ. 2567
รองประธานสภา
ซันเกย์ คานดุ
25 มกราคม พ.ศ. 2567
นายกรัฐมนตรี
เชอริง ต๊อบเกย์
28 มกราคม พ.ศ. 2567
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
เปมา เชวัง
3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
สมาชิก47 คน
พรรค PDP 30 ที่นั่ง
พรรค BTP 17 ที่นั่ง
ที่ประชุม
อาคารรัฐสภา กรุงทิมพู

สภาผู้แทนราษฎรภูฏานเป็นสภาล่างที่มีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งของรัฐสภาภูฏานอันเป็นระบบสภาคู่ใหม่ของประเทศภูฏาน ซึ่งยังประกอบด้วยพระมหากษัตริย์และสภาแห่งชาติ

สภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบัน[แก้]

สภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบันมีสมาชิก 47 คน ซึ่งได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 และ 9 มกราคม พ.ศ. 2567 พรรคประชาธิปไตยประชาชนของภูฏาน ที่มีเชอริง ต๊อบเกย์เป็นหัวหน้า ชนะการเลือกตั้งโดยได้ 30 ที่นั่งในสภา พรรคภูฏานเทรนเดลโดยมี เปมา เชวัง เป็นหัวหน้าพรรคได้อีกสิบเจ็ดที่นั่งที่เหลือ

ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสูงสุด 47 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของพลเมืองแต่ละเขตเลือกตั้งในเขต (Dzongkhag)[1] ภายใต้ระบบเลือกตั้งผู้ชนะคนเดียวนี้ แต่ละเขตเลือกตั้งจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้หนึ่งคน จาก 20 เขตต้องมีผู้แทนอยู่ระหว่าง 2-7 คน ทุก 10 ปีจะมีการกำหนดจำนวนผู้แทนในแต่ละเขตเลือกตั้งใหม่[1] สภาผู้แทนราษฎรประชุมกันอย่างน้อยปีละสองครั้ง และเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรจากสมาชิก สมาชิกและผู้สมัครได้รับอนุญาตให้สังกัดพรรคการเมือง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Constitution of the Kingdom of Bhutan (English)" (PDF). Government of Bhutan. 2008-07-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-06. สืบค้นเมื่อ 2010-10-13.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

27°29′23.2″N 89°38′17.5″E / 27.489778°N 89.638194°E / 27.489778; 89.638194